: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 09 ประจำเดือน 09 2534
หัวข้อข่าว : ม.อ. วิจัยร่วมกับญี่ปุ่น
รายละเอียด :
                      ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมภาคใต้  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี  สรุปผลการวิจัยเรื่อง  "การติดตามผลและการสำรวจความคิดเห็นในการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทาง

การของญี่ปุ่นต่อโครงการพัฒนาในประเทศไทย  เพื่อความก้าวหน้าและการพัฒนาในอนาคต  :  กรณีศึกษาในภาคใต้"  

ระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน - สิงหาคม  2534  รวม  4  โครงการ

         รศ. สุทธิพงศ์   พรหมไพจิตร  รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมภาคใต้  คณะมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์  แจ้งว่าตามที่  Prof. Dr. Sakio  Takavanagi  ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัย

ชูโอะ  (Chuo  University)  ประเทศญี่ปุ่น  ได้มาเยี่ยมเยียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เมื่อเดือนเมษายน  

2534  และได้ตกลงให้ศูนย์ฯ  ดำเนินการวิจัยเรื่อง  "การติดตามผลและการสำรวจความคิดเห็นในการให้ความช่วยเหลือ

อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อโครงการพัฒนาในประเทศไทย  เพื่อความก้าวหน้าและการพัฒนาในอนาคต : กรณีศึกษาใน

ภาคใต้"  ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก  Foundation  for  Advance  Studies  on  International  Development

(FASID)  ซึ่งขอบเขตของการวิจัยได้ศึกษาโครงการใหญ่  ๆ  4  โครงการคือ

                     1. โครงการชลประทานแม่น้ำบางนรา  จ.นราธิวาส

                     2. โครงการสร้างท่าเรือประมงปากพนัง  จ.นครศรีธรรมราช

                     3. โครงการสนับสนุนศูนย์วิจัยยาง  จ.สงขลา

                     4. โครงการสนับสนุนสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา  จ.สงขลา

                     วิจัยระหว่างเดือนเมษายน - สิงหาคม  2534  ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้กว้าง  ๆ  ดังนี้

                     1. ประชาชนชาวไทยมีความรู้สึกขอบคุณที่รัฐบาลญี่ปุ่น  ให้ความช่วยเหลือภายใต้ความร่วมมือและความ

เข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศทั้งสองและบนพื้นฐานให้เกียรติซึ่งกันและกัน

                     2. โครงการทุก  ๆ  โครงการ  สนองตอบความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม  ที่ถือเป็นรูปแบบการ

พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

                     3. จากการสัมภาษณ์หัวหน้าโครงการแต่ละโครงการ  ได้มีข้อกังวลใจเกี่ยวกับค่าบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์

เพราะทุนที่ได้รับมิได้รวมเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลต่าง  ๆ  ไว้ด้วย  ซึ่งแตกต่างจากการช่วยเหลือจากบางประเทศ  

ที่ได้มีงบเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และงบการบำรุงรักษาควบคู่กันไป  ลำพังจะอาศัยงบประมาณของรัฐบาลไทย  คง

ได้ไม่มากนัก

                     4. ความร่วมมือในอนาคต  น่าจะขยายออกไปให้มากกว่าที่เป็นอยู่  ทั้งในเชิงจำนวนโครงการที่เกี่ยวโยงกับ

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดภาคใต้เช่น  การพัฒนาแหล่งน้ำ  การพัฒนาอุตสาหกรรม  การค้าและบริการต่าง ๆ  

รวมทั้งเทคโนโลยีทางการสื่อสาร  เป็นต้น

         ผู้สนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี



                                                                        *******************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-29 17:28:57 ]