: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 09 ประจำเดือน 09 2534
หัวข้อข่าว : 18 ปีในวิทยาเขตปัตตานีของ รศ. ดร.ชำนาญ (ประทุมสินธุ์) ณ สงขลา
รายละเอียด :
                    สิ้นเดือนกันยายน  2534  รศ. ดร.ชำนาญ   (ประทุมสินธุ์)  ณ  สงขลา  ครบกำหนดเกษียณอายุราชการ

หลังจากที่ใช้เวลาอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  มาเป็นเวลา  18  ปี  ข่าวศรีตรังจึงขอนำบาง

ส่วนใน  18  ปี  มาเสนอแก่ท่านผู้อ่านดังนี้

                    ประวัติ  

                     เกิดวันที่  2  มกราคม  2473  ที่ตำบลบ้านนา  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  จบการศึกษามหาบัณฑิต  

(ภูมิศาสตร์)  จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา  สหรัฐอเมริกา  ดุษฎีบัณฑิต  (การศึกษา)  จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี  สหรัฐอเมริกา  

และได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขามนุษยธรรมจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี  สหรัฐอเมริกา  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้า

โปรแกรมปริญญาโท  สาขาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน  คณะศึกษาศาสตร์  สมรสกับรศ.ดร.วัฒนา  (พินัยนิติศาสตร์)  

ประทุมสินธุ์  มีบุตรชาย  2  คน  คนโตอายุ  26  ปี  จบการศึกษาปริญญาตรี  สาขาธุรกิจการบริการอาหารจากมหาวิทยาลัย

มิสซูรี  สหรัฐอเมริกา  ปัจจุบันทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายการขายที่โรงแรมดุสิตธานี  กรุงเทพฯ  คนเล็กอายุ  21  ปี  จบการ

ศึกษาปริญญาตรี  สาขาวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้วยทุน

รัฐบาลญี่ปุ่นทางด้านด้านวิศวกรรมระบบ  ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่  Tokyo  Institute  of  Technology  (TIT)  

ปัจจุบัน  รศ. ดร. ชำนาญ   ประทุมสินธุ์  เปลี่ยนมาใช้นามสกุล  ณ  สงขลา

         พัฒนาการของมหาวิทยาลัยในทัศนะของ  รศ. ดร. ชำนาญ

         จากประสบการณ์  18  ปี  ใน  ม.อ.  มองการพัฒนา  ม.อ.  พบว่าได้ก้าวหน้าไปมากพอสมควร  เป็นที่น่าพอใจ

ของผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย  แต่สิ่งที่จะมองเพิ่มเติมคือ  มหาวิทยาลัยของเราน่าจะบริการนักศึกษาได้มากกว่านี้  เราสามารถ

บริการนักศึกษาได้วิทยาเขตละ  8,000  คน  ถึง  10,000  คน  ในขีดความสามารถที่ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาถึงระดับนี้  

โดยมองในแง่เศรษฐกิจทางการศึกษาและเห็นว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จะต้องพัฒนาเรื่องใหญ่  ๆ  5  ด้านคือ

                     1. ด้านวิชาการ  ยังมีโอกาสขยายแขนงวิชาการวิชาเฉพาะ  รับคนเข้ามารับบริการของแต่ละหน่วยแต่ละคณะ

ให้มากขึ้นอีก  ขยายโปรแกรมให้ตรงกับความต้องการของตลาด  สร้างคนให้เข้าสู่งานให้มาก  ๆ

                     2. ด้านการวิจัย  เรามีความจำกัดทางวิจัยมาก  ควรให้ความคล่องตัวในการวิจัยมากขึ้น  ขอฝากให้อาจารย์

ที่ทำวิจัยกล้าที่จะคิดปัญหา  เพื่อให้การวิจัยเชิงพัฒนาปรากฏเป็นรูปธรรม

                     3. พยายามดึงตัวเราออกมาเชื่อมโยงกับสังคมภายนอก  เพื่อจะได้รู้สถานภาพของเราว่าจะปรับไปทางไหน  

อย่างไร  ให้มีโอกาสในการทำงานได้อย่างเต็มที่

                     4. การแข่งขันมีมากซึ่งเป็นสิ่งที่ดี  แต่ควรมีการร่วมมือกันและมีความยืดหยุ่นให้มากขึ้น  เพราะแหล่งวิชา

ใน  ม.อ.  ขณะนี้มีมากกว่า  100  วิชา  จึงอยากให้หลาย  ๆ  วิชาได้มาช่วยเหลือเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยให้เพิ่มขึ้น

                     5. ม.อ. ปัตตานี  อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาพิเศษ  โอกาสที่จะสร้างโปรแกรมพิเศษมีมากเป็นต้นว่า  ปัญหาความ

ยากจน  ปัญหาสิ่งแวดล้อมชายทะเลเลน  ปัญหาการใช้ที่ดินในชนบท  และเราอยู่ในระหว่างแผนพัฒนาภาคใต้ฉบับแผนฯ  

7  ที่ก้าวไกล  ทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตอนล่างและแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ตอนกลาง  (เซาส์เทอร์นซีบอร์ด)  

สิ่งเหล่านี้อยากให้มหาวิทยาลัยปรับทิศทางให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง  และทำงานให้ทันกับเป้าหมายของแผนฯ  7  ที่

กำหนดให้ภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจหลักเขตหนึ่งของประเทศ

                     6. จากการมองในระดับบริหารเกี่ยวกับปัญหาของมหาวิทยาลัยในแง่บุคลากร  อยากเห็นระบบครู - นักศึกษา

มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น  ความเป็นครูจะต้องมีอยู่ตลอดเวลา  ไม่ใช่จำกัดเฉพาะชั่วโมง  ทำอย่างไรจะให้เขาเป็นลูกศิษย์เรา

จริง ๆ  เราพบว่าปัญหานักศึกษาเข้าเรียนแล้วออกจากชั้นเรียนเหมือนเครื่องจักร  ไม่ได้ใกล้ชิดกับครูอาจารย์เท่าที่ควร  ครู

อาจารย์ต้องให้เวลากับนักศึกษา  อยากเห็นความเป็นครูทำให้นักศึกษากล้าเข้ามาปรึกษาต้องการให้เป็นครูที่เก่งทางวิชาการ

และเข้าใจเด็กเป็นอย่างดีด้วย  ค่านิยมสอนดี  ครูดี  จักต้องพัฒนาให้เป็นคุณลักษณะนำของสถาบัน  แม้เราจะอยู่ไกลจากส่วน

กลางก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด

                     ความแตกต่างของ  ม.อ. ปัตตานี  กับสถาบันอื่น

                     สถานภาพของนักศึกษาในเรื่องความเป็นอยู่ของ  ม.อ.  ดีกว่าหลาย  ๆ  สถาบัน  ทั้งในเรื่องความสะดวกสบาย  

ปลอดภัยสูง  ระบบกิจการนักศึกษาค่อนข้างเข้มแข็ง  บางครั้งนักศึกษาสบายมากไปจนขาดความรับผิดชอบ  ครูจึงเป็นผู้ที่

ควรให้คำแนะนำสั่งสอน  สร้างความรับผิดชอบและมีเป้าหมายการศึกษาที่แน่นอน  นักศึกษาเราขาดบรรยากาศทางวิชาการ

เสมือนการถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน  นักศึกษามักมุ่งไปในทางสนุกสนาน  บันเทิงมากกว่าการเรียนและทางวิชาการ  อยาก

ให้นักศึกษามุ่งไปในทางการเข้าชมรมทางวิชาการ  เชื่อมโยงกับสถาบันอื่น  ส่วนใหญ่ตอนนี้จะขาดบรรยากาศทางวิชาการ  

วิชาการไม่กระเตื้องเพราะไม่รณรงค์กันทุกจุด  ค่านิยมของอาจารย์ค่อนข้างจะเอนเอียงไปทางด้านบริหารมากกว่าด้านวิชา

การ  ซึ่งแท้จริงแล้ววิชาการคือ  หัวใจของมหาวิทยาลัย  ควรยกย่องคนที่สอนเก่ง  ๆ  และอุทิศตนให้กับงานสอนอย่างมี

กำลังใจ

         เทคนิคในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

         เราไม่ได้เกิดมาเก่ง  แต่โอกาสและงานทำให้เราเก่ง  การที่เราจะแข็งแกร่งได้นั้นคือ

                    1. ต้องมีความมุ่งมั่นที่งานโดยการทุ่มทั้งตัว  อย่ารีรอ

                    2. ต้องขยันและอุตสาหะ

                    3. จิตใจเราต้องมั่นคงและอดทน  เพราะการทำงานบางครั้งถูกกระทบและมีอุปสรรค  เราต้องมั่นคงด้วย

หลักการและวัตถุประสงค์  มีจุดยืนที่แน่นอน  แม้จะย้ายที่ไปบ้างก็เพื่อความเหมาะสม  โดยคงเป้าหลักให้มั่นคง

                    4.  เราจะต้องหาแนวร่วม  เพราะงานบางอย่างเราทำคนเดียวไม่ไหวและเราต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  เพราะ

คนมีธรรมชาติที่จะทำงานให้เกิดประโยชน์อยู่แล้ว

                    5. จะต้องมีการทบทวนผลงานอยู่เสมอเป็นประจำทุกวัน

                    ความประทับใจสูงสุดในการทำงาน

                    1. ผู้ใหญ่ในระดับสูงและระดับบริหาร  สนับสนุนรับผิดชอบในการทำงานดีมาก  ได้รับไฟเขียวตลอด

                    2. มหาวิทยาลัยให้โอกาสในการทำงานได้อย่างรอบตัวรอบทิศ  ทุกระดับและมีพื้นที่งาน  โอกาสทำงานให้

บุกเบิกและท้าทายอยู่ตลอดเวลา

                    3. บรรยากาศพิเศษใน  ม.อ. ซึ่งที่อื่นไม่มีคือ  การอยู่ร่วมกันภายในมหาวิทยาลัย  ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือน

อยู่ในครอบครัวเดียวกัน  แต่ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการสมาคมกันน้อย  เพราะรู้สึกเหมือนกับว่าได้เห็นกันอยู่  24 ชั่วโมง  ที่

ประทับใจมากคือ  ม.อ. มีความเป็นอยู่ที่สงบ  ไม่วุ่นวาย  มีความปลอดภัยสูงมาก

                     ความรู้สึกเมื่อใกล้ถึงวันเกษียณอายุ

                     มีความรู้สึกเหมือนคนเกษียณอายุทั่วไป  ต้องทำตัวให้รับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  จากการที่มีงานทำตาม

ภารกิจหน้าที่  เราก็ต้องปลดสิ่งเหล่านี้หมด  100 %  ก็มีความกังวลว่าจะใช้เวลาอย่างไร  จะมีระบบชีวิตแบบไหน  เพราะ

ระบบราชการมีมาตรฐานอยู่แล้ว  การเป็นประชาชนต้องรับผิดชอบดูแลเองทุกอย่าง  ก็ต้องระมัดระวังตัวเองบ้าง  แต่ก็ไม่

หนักใจเพราะเตรียมตัวเอาไว้แล้วและคิดว่าครึ่งหนึ่งของเวลา  คงอยู่อิสระกับครอบครัว  อีกสามสิบเปอร์เซนต์คงทำสวน

ทำไร่  (ที่ชะอำ,  ที่เทพา)  อีกยี่สิบเปอร์เซนต์ช่วยราชการคณะศึกษาศาสตร์,  ศอ. บต.  และงานต่าง  ๆ  ที่มหาวิทยาลัย

อื่น  ๆ  ร้องขอให้ทำประโยชน์กับเขาได้  เพราะคิดว่าตนเองยังทำประโยชน์ให้ทางราชการได้อีกหลายเรื่องเช่น  เรื่อง

โปรแกรมปริญญาโท  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักศึกษา  สาขาศึกษาศาสตร์พัฒนาชุมชน  ช่วยสำนักส่งเสริมและการศึกษา

ต่อเนื่อง  โดยเฉพาะคือศูนย์อาหารโภชนาการและพัฒนาชนบทภาคใต้

         คำแนะนำแก่คนรุ่นหลัง

         จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานมาระยะเวลา  40  ปี  (โรงเรียนฝึกหัดครูยะลา  4  ปี,  มศว. ประสานมิตร  

18 ปี,  ม.อ.  18  ปี)  ก็มีข้อแนะนำคือ

                    1. การทำงานของข้าราชการทุกระดับ  ต้องทำตัวให้อยู่กับผู้ใหญ่และคนข้างเคียงได้อย่างมีความคล่องตัว

และมีความสุข  รับผิดชอบหน้าที่ให้เต็มที่  ช่วยเหลืองานทุกอย่างที่ทำได้ด้วยความเต็มใจ  เริ่มต้นด้วยเป็นม้าใช้ม้าเร็ว  

โตขึ้นมาก็เป็นม้ารบม้าแข่ง  ใหญ่ขึ้นมาก็เป็นม้าทรงฯ  หรือม้าธงที่สง่างามให้จงได้

                    2. นักศึกษาทำให้อาจารย์มีกำลังใจ  ให้ความรักความนับถืออาจารย์  เรารู้สึกว่าเราเป็นทั้งครูทั้งเพื่อนทั้งพี่

ของนักศึกษา  ตอนหลัง  ๆ  มีความรู้สึกว่าเราเป็นพ่อเขาด้วย  เราก็ได้รับความรู้สึกตอบจากนักศึกษา  บารมีความเป็นครู

อาจารย์ยังมีอยู่เต็มที่  เมื่อเรายึดความเป็นครูไว้ให้มั่นคง

                    3. จากงานบริหารช่วงระยะเวลา  18  ปี  ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายพบว่า  สิ่งที่จะต้องบริหารคือเรา

จะต้องมองจากสังคมว่าสังคมมีปัญหาอะไร  และปัญหานี้อยู่ในวิสัยหรือวิชาของเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้หรือไม่  ถ้าเกี่ยว

ข้องได้ก็ให้เข้าไปร่วมกับเขาด้วยทันที  เต็มกำลัง

         การทำงานเพื่อพัฒนาสังคมมุสลิมชนบท  ทำอย่างไรที่จะให้ผู้นำมุสลิมเขายอมรับนับถือเราและสถาบันด้วย  

เพราะชาวมุสลิมนับถือผู้นำ  เพราะฉะนั้นเวลาออกไปร่วมงาน  เราต้องเอานามของสถาบันไปด้วย  เพื่อการยอมรับร่วมกัน

ทั้งคนและสถาบัน  ผู้ที่สนใจที่ทำงานกับโครงการมุสลิม  ขอฝากว่าเขามีความตั้งใจรับการแนะนำจากเราอย่างดีมาก  เป็น

สังคมที่น่าทำงานอย่างมาก

                    4. ร่วมมือกับราชการภายนอกเท่าที่จะช่วยได้

                    5. ฝากทุกระดับให้เป็นคนที่มีจิตใจต้อนรับคนที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย  มีอัธยาศัยช่วยเหลือเขาเท่าที่จะทำ

ได้ด้วยความเต็มใจ  รับผิดชอบต่อชื่อเสียงสถาบันและเป็นเจ้าของสถาบัน

                    6. สำหรับผู้บริหาร  ไม่ควรปฏิเสธความช่วยเหลือหรือโอกาสที่เข้ามาถึงสถาบัน  เมื่อมีแนวโน้มที่จะมีงาน

นอกเข้ามาในสถาบัน  เราจะต้องเปิดประตูรับอยู่เสมอ  จะทำให้เรามีเครือข่ายเกิดขึ้นและมั่นคง

         ความผิดพลาดของตัวเองที่ไม่อยากให้เป็นแบบอย่างคือ  การขาดการประชุมชี้แจงในการทำงาน  ควรมี

การประชุมชี้แจงให้เขาเข้าใจ  เพื่อให้เกิดความร่วมมือ  ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีการประชุมและนำผลการประชุมมาปฏิบัติ

ร่วมกัน  อย่างไรก็ตามมีความเชื่อมั่นอยู่ตลอดเวลาว่า  ถ้าเป็นความตั้งใจเพื่อนำประโยชน์กับส่วนรวมและสังคม  ด้วยใจ

บริสุทธิ์ด้วยความมานะอดทนแล้ว  ผลงานที่เกิดขึ้นมาคือคำบรรยายและจำเป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุด



                                                                        *********************



บันทึกเพิ่มเติมวันที่ 21 เมษายน 2565
ประวัติรศ.ดร.ชำนาญ ประทุมสินธุ์ ณ สงขลา โดย ผศ.ดร.มนูญ ศิรินุพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://administration.pn.psu.ac.th/pr-file/Dr.Chamnan.docx
หรือ
https://administration.pn.psu.ac.th/pr-file/chamnan%20Pratoomsindh%20Na-Sonkhla.pdf

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-29 12:01:44 ]