: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2534
หัวข้อข่าว : ยางพาราขึ้นได้ดีที่อีสาน
รายละเอียด :
                    คณะทำงานโครงการปลูกยางพาราจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ร่วมกับ

สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์  ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์  ได้รับการ

ร้องขอจากประชาชนในพื้นที่ให้ขยายโครงการออกไปเป็นปีที่  3

         ตามที่คณะทำงานโครงการปลูกยางพาราโครงการอีสานเขียวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  ซึ่งมี  ผศ. มะเนาะ  ยูเด็น  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นหัวหน้าโครงการ  

ได้รับอนุมัติงบประมาณ  4  แสนบาทจากกองทัพบก  ให้ดำเนินการปลูกยางพาราในอำเภอหนองกี่และอำเภอ

ประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์  เมื่อปี  2532  ในพื้นที่  400  ไร่  และได้รับงบประมาณ  660,000  บาท  ในปี  

2533  ให้ปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์  ในพื้นที่  1,000  ไร่นั้น

         ผศ. มะเนาะ  ยูเด็น  หัวหน้าโครงการปลูกยางพาราฯ  เปิดเผยว่าจากผลการดำเนินการโดยนำ

กล้ายางพารา  RRIM  600  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรค  ให้ผลผลิตสูง  และทนแล้งได้ดี  เมื่อนำไปปลูกใน

พื้นที่อำเภอหนองกี่และอำเภอประโคนชัย  เมื่อเดือนมิถุนายน  2532  ปัจจุบันต้นยางเจริญเติบโตได้ดี  มีความ

สูงโดยเฉลี่ย  4  เมตร  และต้นยางพาราที่ปลูกที่อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  เมื่อเดือนสิงหาคม  2533  

ปัจจุบันมีความสูงประมาณ  1.80 - 2.00  เมตร  ซึ่งอัตราการเจริบเติบโตโดยเฉลี่ยเป็นไปได้ดีกว่าที่ปลูกใน

ภาคใต้  ทั้งนี้อาจเนื่องจากภาคอีสานมีเมฆน้อย  พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีทำให้การเจริญเติบโตเป็นไป

อย่างรวดเร็ว

         แต่มีปัญหาอยู่บ้างกล่าวคือ  ในพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์มีสภาพลมแรง  ต้นยาง

พาราที่สูงอย่างรวดเร็วนี้อาจไม่แข็งแรงและล้มได้

         จากความสำเร็จในการปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์ทั้ง  2  ปีติดต่อกัน  ทำให้ประชาชนใน

พื้นที่ดังกล่าวร้องขอให้คณะทำงานปลูกยางพาราในโครงการอีสานเขียว  ดำเนินโครงการต่อไปในปี  2534  

และผลจากการประเมินของคณะกรรมการประเมินและติดตามผลโครงการอีสานเขียวในปี  2533  ได้ประเมิน

โครงการปลูกยางพาราให้ได้คะแนนในระดับดีมากกล่าวคือ  จากโครงการต่าง  ๆ  รวม  272  โครงการ  มี

โครงการที่ได้คะแนนระดับดีมากถึงระดับ  8  จำนวน  12  โครงการ  ซึ่งโครงการปลูกยางพารานี้เป็น  1  ใน  

12  โครงการที่ได้คะแนนประเมินสูงสุด  (คะแนนการประเมิน  1 - 3  ไม่ดี,  4 - 6  ปานกลาง  และ  7 - 9  

ดีมาก)  โดยคะแนนสูงสุดคือระดับ  9  ยังไม่มีโครงการใดได้รับการประเมิน  จากเหตุผลดังกล่าวกองทัพบก

จึงได้อนุมัติงบประมาณให้คณะทำงานโครงการปลูกยางพาราจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  ดำเนินการต่อไปในปี  2534  โดยให้ได้รับงบประมาณอีก  3  แสนบาท  ซึ่งจะสามารถแจกกล้าพันธุ์

ยางพาราให้แก่เกษตรกรปลูกได้ถึง  500  ไร่  โดยกำหนดแจกพันธุ์ยางพาราให้แก่เกษตรกรปลูกในอำเภอ

หนองกี่  100  ไร่  อำเภอประโคนชัย  200  ไร่  และอำเภอลำปลายมาศ  200  ไร่  โดยสามารถปลูกได้ไร่ละ  

70 - 80  ต้น



                                                              ************************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-24 14:25:58 ]