: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2533
หัวข้อข่าว : ป้ายเพื่อการอนุรักษ์นกน้ำ
รายละเอียด :
                    ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  

จัดทำแผ่นป้ายข้อมูลนกน้ำอพยพบริเวณอ่าวปัตตานี  ติดตั้งตามหมู่บ้านต่าง  ๆ  เพื่อให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์แก่

ประชาชน

         อาจารย์นุกูล   รัตนดากุล  อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เปิดเผย

ว่าพื้นที่ชายเลนบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็นพื้นที่สำคัญของนกน้ำอพยพคือเป็น

แหล่งหากินของนกน้ำอพยพมากกว่า  60  ชนิด  ที่อพยพจากซีกโลกเหนือมาแวะที่นี่ในช่วงเดือนสิงหาคม - เดือน

พฤศจิกายน  และเป็นแหล่งแวะหากินของนกที่อพยพจากซีกโลกใต้ระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนพฤษภาคม  โดย

สหพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ของโลก  (WORLD  CONSERVATION  UNION)  ได้กำหนดให้บริเวณพื้นที่อ่าว

หน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับนกน้ำที่ควรอนุรักษ์

         เดิมชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้จัดทำโครงการจัดทำทางเดินดูนก  เพื่อดึงดูด

ผู้สนใจ  นักวิชาการ  และประชาชน  ให้มาศึกษาและดูนกในบริเวณดังกล่าว  จะจัดทำเป็นสะพานไม้โดยสร้างจาก

บริเวณหมู่บ้านรูสะมิแล  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่มหาวิทยาลัย  ผ่านด้านหน้ามหาวิทยาลัยไปยังบริเวณปาก

แม่น้ำปัตตานี  ซึ่งเป็นสะพานคนเดินที่สร้างห่างจากบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด  10  เมตร  โดยตั้งงบประมาณไว้เก้า

หมื่นกว่าบาท  แต่เนื่องจากชมรมได้รับงบประมาณจำกัด  จึงปรับเปลี่ยนเป็นโครงการจัดทำแผ่นป้ายข้อมูลนกน้ำอพยพ

แทน  เพื่อให้ความรู้ในด้านการอนุรักษ์แก่ประชาชนและลดการล่านกมาเป็นอาหาร  โดยใช้งบประมาณ  17,000  บาท  

จะจัดทำเป็นแผ่นป้ายโลหะปลอดสนิม  (สแตนเลส)  ขนาด  1.50 X 0.90  เมตร  จำนวน  6  ป้าย  ติดตั้งอย่างถาวรตาม

หมู่บ้านต่าง  ๆ  รอบอ่าวปัตตานีและชุมชนทั่วไป  ในแผ่นป้ายจะบอกถึงชนิดของนกน้ำอพยพพร้อมภาพประกอบของนก

ที่ค้นพบในอ่าวปัตตานีกว่า  60  ชนิด  นอกจากนี้จะมีประวัติและธรรมชาติวิทยาของนกอพยพ  ความสำคัญ  ปัญหา  และ

แรงกดดันต่อประชากรของนก  แนวทางการอนุรักษ์และมีแผ่นที่ของอ่าวปัตตานีและจุดที่มีความหนาแน่นของพื้นที่โดย

รอบอ่าวปัตตานี  ซึ่งในขณะนี้บุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้ร่วมบริจาคเงินสมทบอีกประมาณ  3,000  

บาท  เพื่อจัดทำแผ่นป้ายเพิ่มเติมคาดว่าจะสามารถติดตั้งได้ในเดือนธันวาคม  2533

         อาจารย์นุกูล   รัตนดากุล  เปิดเผยต่อไปว่าจากการสำรวจพบว่า  หมู่บ้านโดยรอบอ่าวปัตตานีที่มีความหนา

แน่นของนกน้ำอพยพมีถึง  12  หมู่บ้านคือ  หมู่บ้านตันหยงเปา  บ้านบางตาวา  บ้านบางปลาหมอ  อำเภอหนองจิก  บ้าน

รูสะมิแล  รวมถึงหน้ามหาวิทยาลัยและสวนสมเด็จฯ  บ้านกูบังอีเต๊ะ  บ้านแหลมนก  บ้านบานาและบ้านตันหยงลูโละ  อำเภอ

เมือง  บ้านโต๊ะโสม  บ้านบางปู  บ้านดาโต๊ะ  และบ้านบูดี  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  โดยในพื้นที่หมู่บ้านรูสะมิแลจน

ถึงหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ถึงบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  และหมู่บ้าน

กูบังอีเต๊ะ  เป็นพื้นที่ที่มีนกน้ำอพยพหนาแน่นที่สุด  จากความสำคัญดังกล่าวอาจารย์ยังได้ทำวิจัยร่วมกับคณะกรรมาธิการ

พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งเอเซีย  (ASIAN  WETLAND  BUREAU)  เพื่อศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติในพื้นที่

ดังกล่าวอีกด้วย



                                                                           *********************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-23 15:57:29 ]