มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ 50 ไร่ บริเวณชายทะเล
ด้านทิศเหนือของมหาวิทยาลัย เพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยา
อาจารย์ปัญญ์ ยวนแหล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงว่า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เริ่มปลูกป่าไม้ชายเลนในพื้นที่ทางทิศเหนือของมหาวิทยาลัย
ซึ่งติดกับชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เมื่อปี 2528 หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้เริ่มโครงการทดลองและสาธิตการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำชายฝั่งมาได้ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันคลื่นลม ป้องกันการกัดเซาะของคลื่น เป็นที่อยู่อาศัยของ
สัตว์หน้าดิน และเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของนก ตลอดจนเพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้ที่ขึ้นริมฝั่งทะเลไว้เพื่อการศึกษา ซึ่งเดิม
สภาพพื้นที่ดังกล่าวมีแต่ต้นผักเป็ดทะเลเท่านั้น
ในระยะแรกได้ทดลองปลูกต้นโกงกางและแสมขาว จากการติดตามผลเมื่อปี 2531 ปรากฏว่าไม้
โกงกางเหลือรอดประมาณ 40 % แสมขาวรอด 90 % ทั้งนี้เนื่องจากต้นโกงกางไม่สามรถขึ้นได้ดีในสภาพดิน
ที่แข็งและแห้งแล้ง ส่วนแสมเป็นพืชบุกเบิก (PLONEER PLANT) ที่สามารถขึ้นได้ในดินดังกล่าว ขณะนี้
ต้นแสมที่ขึ้นมีขนาดสูงประมาณ 3 เมตร ต่อมาในปี 2532 มหาวิทยาลัยจึงได้จ้างคนงานเพื่อปลูกป่าชายเลน
อย่างจริงจรัง โดยในขณะนี้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ประมาณ 20 กว่าไร่ ตั้งแต่บริเวณสวนสมเด็จฯ จนถึงบริเวณ
นากุ้งแปลงพัฒนาของมหาวิทยาลัย
รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยต่อไปว่าสภาพปัญหาการปลูกป่าไม้ชายเลนของมหาวิทยาลัย
เกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติ คน และสัตว์ กล่าวคือปัญหาคลื่นในหน้ามรสุมระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม
ที่ทำให้พื้นที่ปลูกเสียหาย ตลอดจนเรืออวนรุนที่หาสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณน้ำตื้น และปัญหาจากปูที่กัดกินพืชที่เพิ่ง
ปลูก อาจารย์ปัญญ์ ยวนแหล กล่าวต่อไปว่านอกจากประโยชน์ในด้านนิเวศวิทยาแล้ว การปลูกป่าไม้ชายเลนยังเป็น
การช่วยชดเชยป่าชายเลนที่ถูกทำลายลงไปอีกด้วย ซึ่งผู้ที่ทำนากุ้งก็สามารถที่จะปลูกป่าไม้ชายเลนได้ โดยปลูกใน
แนวระหว่างฝั่งทะเลกับนากุ้ง
*******************
|