: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 2 ฉบับที่ 17 ประจำเดือน 12 2532
หัวข้อข่าว : ม.อ. กับโครงการวิจัยและพัฒนาอ่าวปัตตานี
รายละเอียด :
                    คณาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาอ่าวปัตตานี

โดยศึกษาสภาพของดิน  น้ำ  ชนิดและปริมาณของสัตว์น้ำ  เพื่อนำไปวางแผนการใช้ประโยชน์และพัฒนาอ่าวปัตตานี

         อาจารย์นุกูล   รัตนดากุล  ภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  หัวหน้าโครงการวิจัยอ่าวปัตตานีชี้แจงถึงเหตุผลของการทำวิจัย

เรื่องนี้ว่า  สืบเนื่องจากการที่เคยทำวิจัยร่วมกับ  ดร.  KEES  SWENNEN  ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยทางทะเล

ประเทศเนเธอร์แลนด์  และร่วมสำรวจเกี่ยวกับนกชายเลนอพยพกับ  JohnHowes  จากองค์การ  Interwader

(ปัจจุบันองค์การนี้ได้ร่วมกับ  AWB  หรือ  Asian  Wetland  Bureau)  สำรวจวิจัยบริเวณมหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  พบนกชายเลนจำนวนมากและพบว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมากและมีคุณค่าทาง

นิเวศสูง  น่าที่จะอนุรักษ์พื้นที่ไว้เป็นที่อยู่ของนกชายเลนและสัตว์น้ำ  และพัฒนาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพื้นที่ให้

เกิดคุณค่าสูงสุด  จากความคิดนี้ทำให้ขยายออกไปสู่การศึกษาสภาพของน้ำและสัตว์น้ำในอ่าวในโครงการวิจัยนี้

         ในการวิจัยอ่าวปัตตานีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมของ

พื้นที่อ่าวปัตตานี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำและตะกอน  สำรวจและศึกษาชนิดของปริมาณของพืชและสัตว์ที่มีความ

สำคัญทางด้านเศรษฐกิจและนิเวศวิทยาภายในพื้นที่  รวมทั้งการแพร่กระจายตามฤดูกาลและพื้นที่ศึกษาและประยุกต์

ใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดโดยเทคโนโลยีแบบง่าย  ตลอดจนรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางด้านชีวภาพและกายภาพ

ของอ่าวปัตตานี  เพื่อรองรับการวิจัยและการจัดการพื้นที่อ่าวปัตตานีในอนาคต  และรู้แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเพาะ

เลี้ยงชายฝั่งที่แน่นอน

         อาจารย์นุกูล   รัตนดากุล  เปิดเผยต่อไปว่าโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเป็นเงินทุน

วิจัยประมาณ  1  แสนบาท  ใช้ระยะเวลาการวิจัย  1  ปี  โดยมีผู้ร่วมวิจัยทั้งสิ้น  20  ท่าน  โดยได้เริ่มดำเนินการสำรวจ

และวิจัยมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  พื้นที่ที่สำรวจวิจัยครอบคลุมบริเวณอ่าวปัตตานี  ตั้งแต่เขตอำเภอหนองจิกจน

ถึงอำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  จากชายฝั่งจนถึงระยะ  200  เมตร  บริเวณกลาวอ่าวและปากอ่าว

         ผลการสำรวจวิจัยในระยะ  5  เดือนแรกนี้  ทำให้ทราบระดับความลึกของน้ำค่าความเค็ม  การเปลี่ยน

แปลงอุณหภูมิ  ความเร็วของกระแสน้ำ  ชนิดและปริมาณแพลงตอน  และสัตว์หน้าดินชนิดต่าง  ๆ  ปริมาณตะกอนและ

อัตราการทับถมของดิน  จนถึงคุณภาพของดินในรอบ  5  เดือนที่ผ่านมา  ทั้งนี้โดยได้ประสานงานกับคณะกรรมการ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  และได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส  ในการวิเคราะห์ดิน



                                                                          *******************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-22 10:16:16 ]