ฉบับที่ 084/2540 18 พฤศจิกายน 2540
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดทำข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาทางการศึกษาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เพื่อจัดระบบข้อมูลพื้นฐานและเป็นที่ศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางให้รัฐสามารถกำหนดนโยบายแผนงานด้านการพัฒนาประเทศ
ผศ. ประพันธ์ วิเศษรัฐกรรม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าแนวทางการพัฒนา
ประเทศจะประกอบด้วยนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ซึ่งตลอดระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ระยะที่
1 - 7 นั้น ได้มุ่งเน้นกากรพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ ตลอดจนการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของชาติ
ซึ่งผลจากแผนดังกล่าวมีผลกระทบต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่สามารถยกระดับความเป็นอยู่และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่
สมดุลย์กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และความด้อยโอกาสของประชาชนไม่ได้มีความ
แตกต่างมากนักกับ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่นับวันปัญหาต่าง ๆ มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากไม่ได้รับการวางแผนและ
กำหนดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับสูงที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของ
ภารกิจ จึงได้จัดทำข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาทางการศึกษาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อจัดเก็บรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลทาง
การศึกษาของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2530 - 2539 รวม 10 ปี โดยมีขอบเขตในการจัดเก็บ อาทิ จำนวน
ประชากรตามวัยต่าง ๆ ของทั้ง 3 จังหวัด จำนวนสถาบันการศึกษาและจำนวนนักเรียน นโยบายและแผนงานด้านการพัฒนาการศึกษา
ในระดับและประเภทต่าง ๆ ตลอดจนแผนงานด้านตลาดแรงงานในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งการศึกษาวิจัยดังกล่าวจะทำให้มี
ระบบข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถใช้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้า ศึกษา วิจัย ตลอดจนใช้
ในการกำหนดนโยบายแผนงานด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ อย่างมีระบบมากขึ้น
หน่วยงานใด / ผู้สนใจข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาทางการศึกษาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถสอบถามรายละเอียด
และแจ้งความประสงค์ได้ที่ นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง หัวหน้าโครงการฯ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี โทร. (073) 331251
****************
|