: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 8/ 2564
หัวข้อข่าว : ม.อ.ปัตตานีเปลี่ยน LQ สถานกักกันโรคท้องที่ เป็นCI ศูนย์แยกโรคชุมชน สำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง
รายละเอียด :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปรับหอพัก 7 จากการเป็น LQ หรือสถานกักกันโรคท้องที่ ให้เป็น CI ศูนย์แยกกักในชุมชน สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2564

นางเยาวเรศ เหลืองธุวปราณีต หัวหน้าศูนย์ศูนย์แยกกักในชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  แจ้งว่าตามคำสั่งจังหวัดปัตตานีลงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (ศูนย์พักคอย) หรือ Community Isolation ในแต่ละอำเภอเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยซึ่งมีจำนวนสูงขึ้น ซึ่งหอพัก 7 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีเป็นหนึ่งใน 14 แห่งของศูนย์แยกกักชุมชนในเขตอำเภอเมือจังหวัดปัตตานี โดยได้ปรับจาก LQ หรือสถานกักกันโรคท้องที่ ให้เป็น CI ศูนย์แยกกักในชุมชน สำหรับผู้ป่วยโควิด19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2564

รายงานข่าวแจ้งว่าเหตุผลที่เปลี่ยนจากLQ หรือสถานกักผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเป็น CI ( Community Isolation) หรือศูนย์แยกกักในชุมชน เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งมีปริมาณมากขึ้น จนไม่มีเตียงที่จะรองรับผู้ป่วยได้ ซึ่งขณะนี้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยรอเตียงอยู่ในชุมชนจำนวนถึง 334 ราย  กรมการแพทย์จึงมีนโยบายให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกัดตัวที่บ้าน (Home Q)  ส่วนผู้ติดเชื้อไม่มีอาการให้เข้าสู่ CI หรือศูนย์แยกกักในชุมชน

หัวหน้าศูนย์แยกกักในชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่าการดำเนินงานประจำวันก็จะมีการติดตามอาการ online ประกอบด้วยการวัดอุณหภูมิ และออกซิเจนในเลือดวันละ 2 ครั้ง  ให้อาหารวันละ  3 มื้อ มีหมอคอยให้คำปรึกษาวันละ 1 คน พยาบาลอยู่เวรวันละ 4 คน ผู้ติดเชื้อจะต้องกักตัวสังเกตอาการ 14 วันนับจากวันตรวจพบเชื้อ หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติจะมีรถรับไปส่งโรงพยาบาลต่อไป ทั้งนี้ศูนย์แยกกักในชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะรับผู้ติดเชื้อในเขตอำเภอเมือง ปัตตานีได้ประมาณ 200 คน.
                                       ***************************
โดย : * [ วันที่ ]