: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 4/ 2563
หัวข้อข่าว : รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานีพบนักศึกษาทางเฟสบุก ไลฟ์ ตอบคำถามม.อ.ทำอะไรเพื่อดูแลนักศึกษาในสถานการณ์โควิด
รายละเอียด :
รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานีไลฟ์สดทางเฟสบุก บอกเล่าความห่วงใยนักศึกษาและตอบคำถามเรื่องการดูแลสุขภาพ และการเรียนการสอนทางไกลที่มหาวิทยาลัยเตรียมไว้ให้

         เมื่อวันอังคารที่ 14 เมษายน 2563 เวลา19.30 น.รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานีได้ถ่ายทอดสดทางเฟสบุกไลฟ์ ถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บอกเล่าว่าบรรยากาศในวิทยาเขตปัตตานีในวันที่นักศึกษากลับบ้านเงียบเหงามาก อาจารย์มีความความห่วงใยในนักศึกษา ในเวลานี้วิทยาเขตปัตตานีจึงได้เตรียมมาตรการไว้ 3 เรื่อง คือ มาตรการที่ 1 นักศึกษาจะต้องมีความปลอดภัย มาตรการที่ 2 นักศึกษาจะสามารถเรียนต่อได้แม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก และมาตรการที่ 3 การบรรเทาค่าใช้จายของผู้ปกครอง
         รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่าในขณะที่เราหยุดการเรียนการสอนคณาจารย์และบุคลากรของเราได้สร้างฐานข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ และการดูแลตัวเองขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาเว็บไซต์ในการติดตามสถานการณ์โควิด-19 ระบบสามมิติในระดับโลกและประเทศไทยรายจังหวัด ที่สามารถเข้าใช้ได้ทั่วโลกในทุกระบบปฏิบัติการและบนสมาร์ทโฟน โดยผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ  ซึ่งอยู่ที่ https://pbwatch.net/COVID19/ หรือการรวบรวมความรู้และประกาศต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและวิทยาเขต ที่เกี่ยวข้องกับโรคไวรัสโครนา ที่ http://www.pn.psu.ac.th/COVID-19/ และได้จัดทำแบบสำรวจความพร้อมของนักศึกษา ม.อ.ปตตานีทุกชั้นปี ในการเรียนและการสอบแบบออนไลน์ ภาคการศึกษาที่ 2/2563 ม.อ.ปัตตานี  http://regist.pn.psu.ac.th/Survey/login.php
         “ ในเรื่องของสุขภาพในกรณที่นักศึกษานักศึกษาติดโรค หรือป่วยก็จะได้รับการรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายโดย สปสช.หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดูแล นอกจากนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน มหาวิทยาลัยก็จะมอบเงินดูแลให้นักศึกษาที่ป่วยด้วยโรคโควิด อีกรายละ 10,000 บาท ในระดับวิทยาเขตก็มีการประกันสุขภาพนักศึกษาสามารถใช้บริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลปัตตานี และที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งคาดว่านักศึกษาของเราจะปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์” รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ กล่าว
         มาตรการเรื่องการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก็จะให้จบตามเวลา ซึ่งปัจจุบันนักศึกษาไม่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยมาร่วม 3 สัปดาห์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่ต้องการให้นักศึกษามาอยู่รวมกัน จึงจำเป็นต้องใช้การเรียน การสอนออนไลน์ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เกือบร้อยละ 70 และอีกประมาณ ร้อยละ 30 ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ในระยะแรกมหาวิทยาลัยจึงขอให้นักศึกษาใช้แพ็คเกจของ กสทช.ไปก่อน และในขณะนี้วิทยาเขตปัตตานีได้มอบอินเตอร์เน็ต แพ็คเกจ ของ AIS ความเร็ว 4MB/sec โดยวิทยาเขตปัตตานีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ โดยจะสามารถใช้ได้ 3 เดือน ทั้งนี้ตั้งแต่เวลา 09.00 น.ในวันที่ 15 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 25635  และขอความร่วมมือสำหรับนักศึกษาที่มีอินเทอร์เน็ตใช้ที่บ้าน เปิดโอกาสให้เพื่อนนักศึกษาที่มีความจำเป็นต้องใช้/หรือมีอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่จำกัดได้สมัครก่อน
แล้วจึงค่อยทยอยสมัครรับสิทธิภายหลัง เพื่อลดปัญหาด้านเครือข่ายของวิทยาเขตที่จะเกิดจากการมีผู้ใช้งานพร้อมกันมากเกินไป

         หลังจากที่รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานีได้บรรยายถึงการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในด้านต่างๆ
แล้วก็ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตั้งคำถาม ซึ่งนักศึกษาได้สอบถามเรื่องการเรียกเก็บค่าหอพักสหกรณ์ ที่มีการเรียกเก็บล่วงหน้า ซึ่งวิทยาเขตปัตตานีจะไปเจรจากับสหกรณ์บริการในวันรุ่งขึ้น  โดยวิทยาเขตปัตตานีรับทราบ
ถึงปัญหาเรื่องรายได้ จึงได้หามาตรการต่างๆ มาช่วยเหลือได้แก่ การคืนค่าหอพักให้นักศึกษา ในอัตรา ร้อยละ 31 และคืนค่าหอพักเต็มจำนวน โดยจะทยอยคืนให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนนี้ ตลอดจนมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนเรื่อง ในภาคการศึกษาต่อไปก็จะให้มีการผ่อนชำระค่าหอพัก จะผ่อนผันค่าเทอมในทุกวิทยาเขต นอกจากนี้ก็มีทุน กยศ. ทุนทำงาน 100 ทุน ทุนตามงบประมาณบูรณาการภาคใต้ กองกิจการนักศึกษาจะเพิ่มจำนวนนักศึกษาที่สามารถกู้ฉุกเฉินรายละ 3,000 บาท และทยอยส่งคืนได้ 10 งวด และวิทยาเขตปัตตานีจะลดค่าเทอมในปีการศึกษาหน้า การผ่อนผันค่าเทอมมีหลายแบบ เช่น ผ่อนผันไปเลย หรือผ่อนผันเป็นงวดๆ ตามความจำเป็นของนักศึกษา จึงขอให้นักศึกษาได้ติดตามมาตรการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ในสัปดาห์หน้า และได้เล่าถึงการเตรียมการเปิดหอพัก การออกแบบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่จะต้องใช้ห้องปฏิบัติการ หรือการปฏิบัติในพื้นที่จริง รวมถึงการที่นักศึกษาร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ที่ขาดแคลนในชุมชนเช่น หน้ากากอนามัย เฟสชีลด์ เป็นต้น  ซึ่งในขณะนี้ศูนย์อาสาลูกพระบิดาได้ให้ความช่วยเหลือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นช่วยเหลือสังคม จึงขอให้นักศึกษาได้ช่วยกันดูแลว่าชุมชนของเราต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง และที่สำคัญคือการต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัย .
                 **************************
โดย : * [ วันที่ ]