: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 02 560
หัวข้อข่าว : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีรายจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือทุกคนร่วมกันประหยัดพลังงาน
รายละเอียด :
       วิทยาเขตปัตตานี ขอความร่วมมือบุคลากรและนักศึกษา ร่วมกันประหยัดพลังงาน หลังรายจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าของวิทยาเขตปัตตานี
พุ่งขึ้นถึงปีละกว่า 43 ล้านบาท หรือเดือนละ 3.5 ล้านบาท          
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร เหรียญทอง รองอธิการบดีฝ่ายระบบสารสนเทศและกายภาพ วิทยาเขตปัตตานี แจ้งว่า ค่ากระแสไฟฟ้าของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ปี 2557 มีค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้า เป็นเงิน 39,680,567.64 บาท
หรือเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 3,306,713 บาท ปี 2558 มีค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้า เป็นเงิน 42,184,709.76 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 3,515,406 บาท
ปี 2559 มีค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้า เป็นเงิน 43,114,852.79 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ  3,592,904 บาท และเพียง 7 เดือน ของปี 2560
คือระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2560 มีค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้า เป็นเงินถึง 21,767,236.97 บาท จะเห็นได้ว่ารายจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า
ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออาจพูดว่าภายในปี 2559 บุคลากรและนักศึกษา ร่วมกันใช้ไฟฟ้า
มีค่าใช้จ่ายถึงวันละ 119,763 บาท
         รองอธิการบดีฝ่ายระบบสารสนเทศและกายภาพ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงว่าจากปัญหาการใช้กระแสไฟฟ้าที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงขอความร่วมมือจากบุคลากร นักศึกษา ผู้ที่พักอาศัย และผู้ประกอบกิจการในมหาวิทยาลัย
ร่วมกันประหยัดพลังงาน ได้แก่ ขอความร่วมมือทุกคณะและหน่วยงาน เปิดเครื่องปรับอากาศเฉพาะเวลา 10.00–11.30 น. และเวลา 13.00–15.30 น.
ปิดไฟฟ้า แสงสว่าง และพัดลม ปิดเมื่อไม่มีคนทำงานหรือเรียน โดยเฉพาะในช่วงเวลา 12.00 – 13.00 น. และหลังเวลา 16.30 น. นอกจากนี้วิทยาเขต
ปัตตานี จะเร่งดําเนินการใน 3 มาตรการเพื่อการประหยัดพลังงานเพิ่มเติมดังนี้
          มาตรการที่ 1  เปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน อาทิ เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นหลอดไฟฟ้าแบบ LED เปลี่ยน
เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กที่เสื่อมสภาพ มาใช้เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น และเพิ่มแหล่งผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เช่น
โครงการจัดทํา Solar–Rooftop หรือการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีโครงการนำร่องบนอาคารเรียนรวม และสํานักวิทยบริการ เป็นต้น  
          มาตรการที่ 2  Smart Monitor การติดตั้ง digital meter โดยเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายและสร้างระบบ Smart Monitor เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้า
สามารถดูขอมูลต่าง ๆ ทางไฟฟ้าได้ ในแบบ Real–time
          มาตรการที่ 3  จัดเก็บค่าพลังงานไฟฟ้าจากคณะและหน่วยงาน ตามรายงานการใช้งานหรือความสิ้นเปลืองที่เกิดขึ้น

                                         
                                         **************************************

โดย : * [ วันที่ ]