: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ /2 ประจำเดือน 55 9
หัวข้อข่าว : ม.อ.ปัตตานี นำ 5 วิทยาเขตและนักศึกษาจากมาเลเซีย ออกค่ายพัฒนาโรงเรียนบ้านรูสะมิแล
รายละเอียด :


                   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  นำนักศึกษาและบุคลากร 5 วิทยาเขต และจากUUM  พัฒนาโรงเรียนบ้านรูสะมิแล ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2559  ณ โรงเรียนบ้าน
รูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และการฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมในหมู่นักศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
                   ดร.บดินทร์ แวลาเตะ  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนโยบายในการพัฒนานักศึกษาโดยเน้นให้เป็นผู้นำที่มีอุดมการณ์ เสียสละ สร้างสรรค์ รู้จักการทำงานเป็นทีม มีจิตสาธารณะ มองเห็นประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง มีวิสัยทัศน์ กล้าแสดงออก เป็นแบบอย่าของสังคม โดยมีกิจกรรมเป็นเครื่องหล่อหลอม จึงมีแนวคิดนำไปสู่การการจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขต ประกอบด้วย วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตสุราษฏร์ธานี  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 4 ที่มีการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ โดยครั้งที่ 1 วิทยาเขตภูเก็ต เป็นเจ้าภาพ  จัดขึ้น เมื่อวันที่ 4 – 18 มีนาคม 2556  ณ โรงเรียน ทับไชยา พัฒนา หมู่ 5 ตำบลบางแก้ว  อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง  ครั้งที่ 2 วิทยาเขตตรัง เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 – 24 มีนาคม 2557  ณ โรงเรียนบ้านนาป้อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง  ครั้งที่ 3 วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น เมื่อวันที่ 20 – 24 พฤษภาคม 2558 ณ โรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฏร์ธานี
                   สำหรับครั้งที่ 4 วิทยาเขตปัตตานี เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2559  ณ โรงเรียนบ้านรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวม 350 คน  ประกอบด้วย นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จำนวน 180  คน  นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุตระ  (UUM) ประเทศมาเลเซีย จำนวน 20  คน   บุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน  50  คน   และจากชุมชน จำนวน 100  คน   ซึงได้กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการ 6 ด้าน ประกอบด้วย  
งานด้านโครงงานก่อสร้างโรงเรือนต้นแบบ  มีการจัดทำซุ้มโครงเหล็กสำหรับพันธ์ไม้เลื้อยเพื่อเป็นอุโมงค์ , สร้างโรงเรือนเพาะเห็ด , สร้างร้านค้าเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโรงเรียน , ปรับปรุงบ่อเลี้ยงปลา , ทาสีและวาดภาพกำแพงโรงเรียน ,  จัดทำแปลงปลูกผักตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ทำแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขนาดของพื้นที่ความกว้างขนาด 23 เมตร ยาว 115 เมตร  คิดเป็น 2, 645 ตารางเมตร    งานด้านวิชาการและบริการชุมชน มีการ การเผยแพร่ให้ความรู้ทักษะวิชาการด้านภาษา IT และวิทยาศาสตร์ ให้แก่นักเรียน ,  การจัดการองค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง , การจัดนิทรรศการเรื่องการบริหารจัดการขยะ  
งานด้านการบริการชุมชน  มีบริการตัดผมให้กับนักเรียน , บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และอื่นๆ  งานด้านกิจกรรมและนันทนาการ  มีกิจกรรมกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชน , กิจกรรมการแสดง นันทนาการ ,
ทัศนศึกษาสถานที่สำคัญในจังหวัดปัตตานี , กิจการการล่องเรือไปแหลมตาชี และอุโมงค์โกงกางบางปู , และปลูกป่าชายเลน
                   งานด้านส่งเสริมวิชาชีพชุมชน  มีการเพาะเห็ดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด , การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา , การทำขนม , และการจัดทำ Packaging บรรจุผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่า  งานด้านสวัสดิการ มีงานด้านการพยาบาล , ด้านการจัดเวรยามภายในค่าย , ด้านสัมพันธ์ชุมชน/บำเพ็ญประโยชน์ , งานด้านการบริการต่างๆ และอื่นๆ เป็นต้น

                                       *******************************

         สามารถดาวน์โหลดเอกสาร ได้ที่   http://pr.pn.psu.ac.th/psu04.doc
                   
โดย : * [ วันที่ ]