: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 4/ 2559
หัวข้อข่าว : ม.อ.ปัตตานีเชิญผู้นำศาสนา นักวิชาการร่วมสัมมนาประมวลองค์ความรู้การพัฒนาสังคมชายแดนใต้ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยังยืน
รายละเอียด :
        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เชิญผู้นําศาสนาผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และนักวิชาการ 500 คน ระดมสมองเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังยืน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2559 ณ อาคารเรียนรวม (58) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

        ดร.วันพิชิต  ศรีสุข  หัวหน้าแผนกวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ประธานคณะกรรมการจัดงานสัมมนาทางวิชาการเพื่อประมวลองค์ความรู้ทางการพัฒนาสังคมชายแดนใต้ กล่าวรายงานในพิธีเปิดการสัมมนา
ความว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับอนุมัติให้จัดโครงการพัฒนาผู้ศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคมชายแดนใต้โดยคัดเลือกผู้นำศาสนาทั้งอิสลาม พุทธ และคริสต์ เพื่อให้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม 20 ท่าน ประกอบด้วยผู้นำศาสนาอิสลาม 12 ท่าน พระภิกษุ 7 ท่าน
และผู้นำศาสนาคริสต์ 1 ท่าน การดำเนินโครงการดังกล่าว นอกจากเป็นการจัดการเรียนการสอนแล้ว
ยังจัดให้มีการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ กิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน และกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อประมวลองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาสังคมที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้ โดยมีฐานคิดสำคัญคือ จังหวัดชายแดนภาคใต้
นับเป็นพื้นที่พิเศษที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ที่ผ่านมาได้ตอกย้ำความแตกต่าง หวาดระแวง
หรือจนถึงขั้นการก่อความไม่สงบขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งคือความแตกต่างกัน
ทางศาสนาที่สะท้อนผ่านแบบแผนการดำเนินชีวิต หากให้ผู้นำที่ต่างศาสนากันได้เข้าศึกษาในหลักสูตรเดียวกัน ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ และลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
จนสามารถขยายไปสู่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง

        การสัมมนาทางวิชาการเพื่อประมวลองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาสังคม มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ
เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านบริหารพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ผู้นําศาสนาผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และนักวิชาการกว่า 500 คน ร่วมระดมสมองเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังยืน ประกอบด้วย 10 ประเด็นได้แก่  การสื่อสาร
และการสร้างสันติภาพ  การจัดการระบบสุขภาพ  ระบบเศรษฐกิจ การสร้างความมั่นคงปลอดภัย  
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ระบบการศึกษา  การจัดการทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการความสัมพันธ์ทางศาสนาและความเชื่อ  กระบวนการยุติธรรม และ  การพัฒนาเด็ก
และเยาวชน ทั้งนี้เพื่อประมวลความรู้ที่เกิดขึ้น เพื่อเชื่อมโยงไปสู่กรอบการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัยทั่วไป  ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ซึ่งภาคเช้าที่ผ่านมาได้มีการสัมมนาเพื่อประมวลองค์ความรู้ในห้องย่อยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะได้นำเสนอผลการสัมมนาต่อไป

        นายภาณุ  อุทัยรัตน์  เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานในพิธีเปิด
การสัมมนากล่าวสรุปความว่าเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับเป็นพื้นที่พิเศษที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ที่ผ่านมาได้ตอกย้ำความแตกต่าง หวาดระแวง หรือจนถึงขั้นการก่อความไม่สงบขึ้นอย่างต่อเนื่อง           พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีอัตลักษณ์พิเศษ มีขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทย ด้วยความเป็นพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์พิเศษเป็นเฉพาะนี้ จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่มีความละเอียดอ่อนค่อนข้างสูง เพราะสาเหตุของสถานการณ์
มีความซับซ้อนที่สั่งสมจากอดีตและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของพื้นที่ ดังนั้นรัฐจะต้องอาศัยความรู้
ความเข้าใจ ในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการปกครองดูแล
และให้การพัฒนาเป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นแนวทางที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นโดยทั่วไป ดังนั้นการที่แก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจ
บริบทต่างๆ ของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น ฉะนั้นการแก้ไขปัญหา ตลอดจนถึงการบริหารจัดการ จึงต้องศึกษา และทำความเข้าใจ

        ดังนั้นหากพิจารณาจากสภาพอัตลักษณ์พิเศษนี้ การศึกษามิติเชิงสังคมพหุวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำให้เห็นสภาพความเป็นจริง และเห็นถึงแก่นแท้สภาพปัญหาและแนวโน้มในอนาคต
ในแง่ของสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ว่าควรที่ต้องมีการกำหนดนโยบายเป็นไปในทิศทางใด เพื่อที่จะ
เป็นประโยชน์และสร้างความเข้าใจต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ได้ดียิ่งขึ้น การเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาผู้นำศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคมชายแดนใต้จึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกัน
และกัน ตลอดจนเกิดความร่วมมือระหว่างศาสนามากยิ่งขึ้น และการจัดสัมมนาเพื่อประมวลองค์ความรู้
การพัฒนาสังคมชายแดนใต้ในวันนี้ก็จะช่วยให้เราได้มุมมองใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราต่อไป.

                   **************************
โดย : * [ วันที่ ]