: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 2 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 3/ 59
หัวข้อข่าว : บรรณารักษ์และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ร่วมประชุมวิชาการระดับชาติข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 6 ที่หาดใหญ่
รายละเอียด :
              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุม PULINET หรือการประชุมวิชาการระดับชาติ ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่  16 – 17 กุมภาพันธ์ 2559  ณ โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีบรรณารักษ์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ 200 คน เข้าร่วมประชุม  
                   เมื่อเช้าวันนี้ (วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559) รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล  อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 6 หรือการประชุมวิขาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 6  (Provincial University Library Network) ณ โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักคอมพิวเตอร์ และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องสมุด จากสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกข่ายงาน PULINET ประมาณ 200 คน โดยสรุปมีความว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก  มลพิษ ขยะ นับวันยิ่งสร้างปัญหาให้กับโลกเพิ่มขึ้น ทุกวัน ทุกวินาที กลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไขและส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดสีเขียวถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ห้องสมุดเลือก
เพื่อดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการด้านการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างในการรณรงค์การลดพลังงาน ลดการใช้ทรัพยากรที่ทำลายสิ่งแวดล้อม นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม
ที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามองเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนไปสู่ห้องสมุดสีเขียว มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมอนุรักษ์พลังงาน รักษ์สิ่งแวดล้อม และร่วมสร้างโลกใบนี้ให้น่าอยู่ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโลกสีเขียวที่สวยงามสืบไป หลังจากนั้นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง Green University: “มหาวิทยาลัยในวันที่ต้องเปลี่ยนสี”  ต่อมา คุณศุ บุญเลี้ยง ได้บรรยายในหัวข้อ “มหาสมุดสีเขียว”
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัครวิทย กาญจนโอภาษ อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้บรรยายในหัวข้อ “รู้ลึกลิขสิทธิ์เพื่อการใชและบริการสารสนเทศอยางเทาเทียมและเที่ยงธรรม”
                   อาจารย์เจษฎา โมกขกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แจ้งว่าการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ได้เริ่มจัดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยห้องสมุดมหาวิทยาลัยในภูมิภาค จำนวน 20 สถาบันทั่วประเทศที่เป็นสมาชิก PULINET ได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยกำหนดจัดการประชุมปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สมาชิกห้องสมุดต่าง ๆ ได้ติดตามความก้าวหน้าในวงการวิชาชีพห้องสมุด แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกัน ในการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค เห็นชอบให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ในหัวข้อเรื่อง "Growing Green Library for All (Growing GLA)" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นในสาระ ด้านการจัดการและการบริการสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ระหว่าง นักวิชาชีพและผู้สนใจ ในการสร้าง
ความเข้าใจร่วมกัน เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อไปสู่กระบวนการจัดการความรู้ในขั้นตอนของการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาชีพ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาการจัดการและการบริการสารสนเทศ การสร้างความเข้าใจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติและความสมานฉันท์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อร่วมสร้าง สนับสนุน ส่งเสริมแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อจุดประกายให้เกิดการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมที่ดี เสริมสร้างศักยภาพและความตื่นตัวต่อบทบาทของตนเองในการดูแลสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และเพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนา
และขยายเครือข่ายการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบห้องสมุด คลังความรู้ ระบบการเรียนรู้ไร้พรมแดน ตลอดจนสามารถสร้างงานวิจัยและความร่วมมือที่ดีในระดับต่าง ๆ ต่อไป.
โดย : * [ วันที่ ]