: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 9 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 2/ 2559
หัวข้อข่าว : ม.อ.ปัตตานีเชิญผู้เห็นต่าง และสื่อมวลชนเสนอมุมมองเพื่อแก้ปัญหากระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
รายละเอียด :
         สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้  คณะวิทยาการสื่อสาร ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ สถาบันสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมกว่า 10 องค์กร กำหนดจัดงาน “วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่3 และสมัชชาสันติภาพ 2016”  
ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

         ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
แจ้งว่าสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ร่วมกับ คณะวิทยาการสื่อสาร ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ สถาบันสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และเครือข่ายภาคประชาสังคมกว่า 10 องค์กร กำหนดจัดงาน “วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่3 และสมัชชาสันติภาพ 2016”  
ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ขัดแย้งหลักและผู้อำนวยความสะดวกได้รายงานความคืบหน้าของการพูดคุยสันติภาพต่อสาธารณะและเปิดเวที
ให้ภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ได้นำเสนอข้อกังวล ข้อเรียกร้อง และข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี
ให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และเพื่อเปิดมุมมองจากประสบการณ์และบทเรียนของผู้ที่ทำงานสื่อสารในการรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับ
พัฒนาการของกระบวนการสันติภาพในห้วงปีที่ผ่านมา
         ในการจัดงานดังกล่าวมีการบรรยายที่น่าสนใจได้แก่ “ความท้าทายและก้าวต่อไปของการพูดคุยเพื่อสันติสุข”โดย  พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้
“ความท้าทายและก้าวต่อไปการพูดคุยเพื่อสันติภาพ” โดย  อาวัง ญาบัต ประธานสภาชูรอแห่งปาตานี (MARA PATANI)   “ความท้าทายและก้าวต่อไปของการอำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ”
โดย  ดาโต๊ะ ซัมซามิน บิน ฮาซิม ผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ การนำเสนอผลการศึกษาสถานภาพการสื่อสารภายใต้บริบทการพูดคุยสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสันติภาพ (CPCS) คณะวิทยาการสื่อสาร วิทยาเขตปัตตานี โดย ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ รองคณบดีคณะวิทยาการสื่อสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เสวนา “สะท้อนย้อนคิดข่าวสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี” ร่วมอภิปรายโดย นายปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการศูนย์ข่าวภาคใต้ สถาบันข่าวอิศรา  นางสาวติชิลา พุทธสาระพันธ์ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
นางสาวอัจฉรา อัชฌายกชาติ ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภีรกาญจน์  ไค่นุ่นนา หัวหน้าสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ นายตูแวดานียา มือรีงิง บรรณาธิการสำนักข่าวอามาน (AMAN News)
และผู้สื่อข่าวช่อง 3 มาเลเซีย (TV3) เป็นต้น
โดย : * [ วันที่ ]