: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ /2 ประจำเดือน 55 6
หัวข้อข่าว : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ถ่ายทอดงานวิจัยสู่ชุมชมแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำด้วยการปูพื้นบ่อด้วยยางพารา
รายละเอียด :

         ค ณ ะ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ แ ล ะ เ ท ค โ น โ ล ยี ม ห า วิ ท ย า ลั ยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย
สู่ชุมชุม ปูพื้นบ่อด้วยยางพารา เพื่อใช้กักเก็บน้ำให้กับชุมชนแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
         การปูพื้นบ่อด้วยยางพาราเพื่อใช้เก็บกักน้ำให้กับชุมชนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ได้ปูพื้นบ่อด้วยยางพาราให้กับพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงานกองทุนสวนยาง โคกพันต้น
อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี โรงเรียนบ้านบานา อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี ที่ทำการตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
และบ้านเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกในจังหวัดปัตตานี
         รศ.อาซีซัน แกสมาน ผู้รับผิดชอบโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยสู่ชุมชน : การปูพื้นบ่อเลี้ยงปลาด้วยยางพารา
กล่าวว่า ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ส่งผลต่อภาคเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก จากผลการวิจัยเรื่อง
“ต้นแบบกระบวนการผลิตน้ำยางข้นจากกระบวนการครีมมิ่งและการประยุกต์ใช้งานเป็นยางปูสระน้ำและสายยางยืด”
พบว่าการปูพื้นสระโดยการพ่นน้ำยางข้นผสมสารเคมีลงไปบนวัสดุเสริมแรง (ผ้าด้ายดิบ) ที่ปูลงไปบนพื้นสระสามารถประยุกต์ใช้
ในการเก็บกักน้ำในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรกรรม ได้จึงได้นำผลการวิจัยดังกล่าว มาสร้างสระเก็บกักน้ำลดปัญหา
การขาดแคลนน้ำของประชาชน และสำหรับเป็นบ่อเลี้ยงปลาให้กับชุมชน
         รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยสู่ชุมชุมปูพื้นบ่อด้วยยางพารา เพื่อใช้กักเก็บน้ำให้กับชุมชน
แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ นั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553
โดยเริ่มแรกได้ทดลองทำน้ำยางครีมมิ่ง ที่มีขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตเริ่มจากนำน้ำยางที่ได้จากธรรมชาติ มาผสมสารรักษาสภาพ
เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล สารเร่งให้สุกเร็วขึ้น สารที่ทนต่อแสง และสารเพิ่มเนื้อ กวนให้เข้ากันด้วยเครื่องเป็นเวลา 1 คืน
จะได้น้ำยางครีมมิ่งที่พร้อมใช้งาน แล้วใช้เครื่องพ่นทับลงในพื้นสระที่เตรียมไว้ เมื่อเนื้อยางเริ่มเหนียวนำ ผ้าด้ายดิบมาปูทับ แล้วพ่นซ้ำ
ขั้นตอนดังกล่าวทำประมาณ5-6 ครั้ง เพื่อให้อายุการใช้งานยาวนาน หลังจากแห้งแล้วจึงปล่อยน้ำเข้าสระ โดยทีมวิจัยได้ สร้างสระต้นแบบขึ้น
ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากทดลองอยู่ช่วงหนึ่งพบว่าผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถเก็บกักน้ำได้ดี จึงเสนอขอทุนจากทางสกว. สร้างบ่อเก็บกักน้ำ
นำร่องภายในโรงงานขององค์การสวนยางจ.นครศรีธรรมราช
         จากการมุ่งแก้ปัญหารวมทั้งเพิ่มมูลค่ายางพาราส่งผลให้ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2553
จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ได้ดำเนินการปูพื้นบ่อด้วยยางพาราเพื่อใช้เก็บกักน้ำให้กับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง อาทิโครงการ การประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในการ
สร้างสระเก็บกักน้ำในพื้นที่เกาะบุโหลน จังหวัดสตูล โดยปูพื้นสระด้วยยางพารา รูปสี่เหลี่ยมคางหมูขนาดกว้าง 5-25 เมตร ยาว
60-70 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตรได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนาฯ ภายใต้โครงการพัฒนาเกาะบุโหลน จังหวัดสตูล
ซึ่งดำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2554 ถึง เดือนมกราคม ปี 2556 ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชนใน
พื้นที่เกาะบุโหลน จังหวัดสตูล ได้มากกว่า 10 ปี ตลอดจนการใช้ยางพาราปูสระเก็บกักน้ำเพื่อเลี้ยงปลาเป็นอาหารกลางวันให้กับ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 40 จังหวัดปัตตานีซึ่งอยู่ในพื้นที่ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้น
          ผศ.ดร.อดิศัย รุ่งวิชานิวัฒน์หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์แ ล ะ เ ท ค โ น โ ล ยี ม ห า วิ ท ย า ลั ย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้บรรยายถึงวิธีการปูพื้นบ่อด้วยยางพาราให้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจและ
ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
โดย : * [ วันที่ ]