: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 9/ 2556
หัวข้อข่าว : เปิดเวทีนานาชาติความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ
รายละเอียด :
           สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  จัดประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อเปรียบเทียบความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ กรณีศึกษา ภาคใต้ของประเทศไทย มินดาเนาภาคใต้ของฟิลิปินส์ อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เมียนมาร์ และติมอร์ตะวันออก  เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ณ อาคารวิทยาลัยอิสลามศึกษานานาชาติ  โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ ผศ.ดร.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ศ.ดร.ซูซาน เรซเซล นักวิชาการจากภาควิชามานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา นำเสนอเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพของมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ศ.ดร.แอนเดรีย โมลนาร์ นักวิชาการจากภาควิชามานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา นำเสนอเกี่ยวความขัดแย้งในอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออก และนายไอแซค  เคน เอ็นจีโอจากศูนย์ศึกษาเพศสภาวะและการพัฒนาเพื่อสันติ นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาชนกลุ่มน้อยเมียนมาร์
                      ผศ.ดร.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   กล่าวถึงความรุนแรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเดือนรอมฎอน ว่า ระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมาความรุนแรงอันเกิดจากเหตุการณ์ณืความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศิลอดของชาวมุสลิม มีจำนวนความรุนแรงค่อนข้างมาก โดยในปี 2547 จำนวนเหตุการณ์เกิดขึ้นมากที่สุด ปีถัดมามีแนวโน้มลดลง และเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี 2552  สำหรับเดือนรอมฎอนในปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น 150 ครั้ง  การประเมินว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ก็ต้องพิจารณาในหลากหลายมิติ เพื่อประเมินประสิทธิผลของการลดความรุนแรง ประกอบด้วยการเปรียบจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงเดือนรอมฎอนในปีที่ผ่านมากับเดือนรอมฎอนในปีนี้   จำนวนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเปรียบเทียบจำนวนครั้งของเหตุการณ์กับจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดขึ้นรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ของการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ และการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการก่อเหตุ เป็นต้น
โดย : * [ วันที่ ]