: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 9/ 2555
หัวข้อข่าว : ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางร่วมเสวนารับฟังข้อเสนอแนะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จากภาครัฐและภาคประชาชนที่ ม.อ.ปัตตานี เพื่อจัดทำข้อสรุปนำเสนอรัฐบาล
รายละเอียด :
      นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  พร้อมคณะ  เดินทางร่วมเสวนารับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมี ผศ.สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายเสรี ศรีหะไตร  รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ให้การต้อนรับเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555 ณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   ผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดปัตตานี  นักวิชาการ  นักศึกษา   ภาคประชาสังคม  และสื่อมวลชน  เพื่อรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นข้อสรุปนำเสนอรัฐบาลต่อไป  
                ผศ.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี  ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวัง
สถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า  สรุปสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2555 พบว่า มีผู้เสียชีวิต 42 ราย  ผู้บาดเจ็บ  96 ราย   จำแนกตามประเภทเหตุการณ์  รวม 85 เหตุการณ์  อาทิ ประเภทก่อกวน  3 เหตุการณ์   ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ  7 เหตุการณ์  
คาร์บอมบ์  3 เหตุการณ์   โจมตี 1 เหตุการณ์  โจมตีฐาน 2 เหตุการณ์  ปะทะ  1 เหตุการณ์   ปิดล้อมตรวจค้นและปะทะ  3 เหตุการณ์  พบวัตถุระเบิด  2 เหตุการณ์  พบศพ  5 เหตุการณ์  ยิง 32 เหตุการณ์   วางเพลิง 6 เหตุการณ์   วางระเบิด 19 เหตุการณ์   วางระเบิดและยิง 1 เหตุการณ์   ในวันนี้สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงดำเนินต่อไป พร้อมด้วยความซับซ้อนของสถานการณ์ พัฒนาการของความรุนแรงได้นำไปสู่สภาวะความยืดเยื้อเรื้อรังของความขัดแย้ง  ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้รายงานให้เห็นข้อมูลว่าในรอบ101 เดือนของความรุนแรงที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่เริ่มไต่ระดับสูงมาตั้งแต่ 4 มกราคม 2547 ถึง 31พฤษภาคม 2555 หรือก้าวข้ามเข้าสู่ปีที่ 9 ของความรุนแรง มีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 11,754 เหตุการณ์ ซึ่งยังผลทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บรวมกันประมาณ 14,343 รายในจำนวนนี้ประกอบไปด้วยผู้เสียชีวิต 5,206 รายและ มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 9,137ราย ทุกวันทุกคืนเรายังคงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้เกิดขึ้นตลอดเวลา  
                  สถานการณ์ความไม่สงบได้มีอัตราสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2547 จนกระทั่งปลายปี 2550  ลดระดับลง อันเป็นผลมาจากการระดมกำลังทหารและปฏิบัติการควบคุมอย่างเข้มข้นของภาครัฐโดยอาศัยการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ คือ กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยเป็นการใช้ความเข้มข้นของการปราบปรามและการควบคุมด้วยกำลัง แต่ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ระดับความสูญเสียจากความรุนแรงกลับมีลักษณะคงที่  ณ จุดนี้ การก่อรูปของความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พัฒนาไปสู่รูปแบบใหม่ กล่าวคือ ในขณะที่จำนวนครั้งของความรุนแรงหรือเหตุการณ์ความไม่สงบมีระดับลดลงไปบ้างจากห้วงปี 2547-2550 แต่อัตราการตายและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ลดลงตามจำนวนเหตุการณ์ที่ลดลงไปด้วย ถ้าจะกล่าวในอีกแง่หนึ่งจำนวนของการสูญเสียที่รวมถึงการเสียชีวิตและการบาดเจ็บนั้นกลับมีลักษณะคงที่หรือไม่ได้ลดลง อย่างมีนัยสำคัญเลยความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระยะหลังจึงได้กลายรูปแปลงกายไปเป็น‘ความรุนแรงเชิงคุณภาพ’หรือ ‘ความรุนแรงที่ยึด
                  ผศ.สมปอง  ทองผ่อง  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวเพิ่มเติม  ว่า  ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้   มหาวิทยาลัย ต้องยืนหยัดอยู่ได้ ด้วยภารกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัยที่จะต้องตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม  แม้ว่ามหาวิทยาลัย จะได้รับผลกระทบจากการย้ายออกของบุคลากร  และการมีนักศึกษาในพื้นที่มากกว่านักศึกษานอกพื้นที่ จนทำให้เกิดวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว  แต่การได้ซึ่งนักศึกษาในพื้นที่ทำให้คนในพื้นที่มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยที่จะได้แสดงบทบาทบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นคนดี เพราะการศึกษาจะเป็นฐานของการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น  นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ได้มีบทบาทด้านบริการวิชาการเพื่อความมั่นคงด้านอาชีพ สังคม และวัฒนธรรม  ให้ยั่งยืนต่อไป
         นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  กล่าวว่า   จากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จากภาครัฐ และภาคประชาชน พบว่าในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาอยู่  2 ระดับ ทั้งในเชิงบริหารจัดการในพื้นที่ซึ่งเป็นไปค่อนข้างยาก  สืบเนื่องจากการขดกำลังพล  อุปกรณ์  การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ประชาชนจะไม่กล้าเป็นพยานในคดี  ประกอบกับคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นจะแบ่งเป็นคดีทั่วไปและคดีความมั่นคง แต่ลักษณะของผู้ต้องหาเป็นกลุ่มเดียวกัน จึงไม่สามารถแยกแยะได้ ประการสำคัญประเด็นเรื่องมูลค่าของการเยียวยาที่สูง ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์เพื่อให้ได้มาซึ่งการเยียวยา  สำหรับปัญหาในเชิงนโยบายนั้นพบว่าความไม่ชัดเจนของรัฐบาลที่จะผลักดันทิศทางการแก้ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อย่างจริงจัง ทำให้เกิดความสับสนในระดับผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างการทำงาน  จึงขอฝากรัฐบาลให้มีความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้และกำหนดทิศทางที่ชัดเจน
โดย : * [ วันที่ ]