: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 0 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 3/ 2555
หัวข้อข่าว : เรียนที่ ม.อ.ปัตตานี มีโอกาสพบโลกกว้างทั้งระหว่างเรียนและเมื่อจบการศึกษา
รายละเอียด :

             นักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีโอกาสไปฝึกอบรม ศึกษาดูงานและทำงาน ณ ต่างประเทศสูง เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นประตูสู่อาเซี่ยน  
รวมถึงการที่มหาวิทยาลัยและภาครัฐสนับสนุนให้เปิดโลกทัศน์ และความได้เปรียบด้านภาษา ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒธรรม
          ผศ.ชิดชนก  ราฮิมมูลา อาจารย์สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐศาสตร์
ได้ส่งนักศึกษาไปฝึกงานในรายวิชาสหกิจศึกษาโดยได้รับหน่วยกิต และนักศึกษาทั่วไปของคณะไปฝึกงาน ณ ต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์วิชาชีพ มาตั้งแต่
ปีการศึกษา 2553 จนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในปีนี้ซึ่งทางคณะจะส่งนักศึกษาของคณะไปฝึกงาน ณ ต่างประเทศในหลายภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงาน ณ ประเทศ อังกฤษ
ซาอุดิอารเบีย บรูไน อินเดีย มาเลเซีย สิงค์โปร์  อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว และพม่า  ในช่วงสองปีที่ผ่านมาจากความรับผิดชอบและความมุ่งมั่น ความตั้งใจในการฝึกงาน
ของนักศึกษา ที่พยายามช่วยเหลือสังคม และเพื่อนมนุษย์ ทำให้หน่วยงานที่รับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าฝึกงานมีความประทับใจ และมอบค่าตอบแทน
ให้ตลอดจนให้ได้รับสวัสดิการที่พัก และรับเข้าทำงานแล้วหลายคน แม้ว่าหลายองค์กรจะไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ล่วงหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความประทับใจที่มีต่อนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดและปลูกฝังจิตวิญญาณ “การถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง”
สมดังพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก ที่พระราชทานแก่ผู้ที่พระองค์ได้พระราชทานทุนการศึกษาให้ไปศึกษาทางด้านการแพทย์ ณ ต่างประเทศ
         รายงานข่าวแจ้งว่าในปีการศึกษา 2555 มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 รหัส 52 ของคณะรัฐศาสตร์ (เข้าศึกษาปีแรกเมื่อปีการศึกษา2552) สมัครไปฝึกงาน
ณ ต่างประเทศกว่า20 คน ทั้งนี้ปัจจัยที่นักศึกษาสนใจสมัครไปฝึกงาน ณ ต่างประเทศมากกว่าทุกปี เนื่องจากได้รับแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ว่าศักยภาพของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถไปฝึกงาน และทำงาน ณ ต่างประเทศได้จริง เนื่องจากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นอกจากมีความขยันหมั่นเพียรแล้ว
ยังมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองด้านต่างๆโดยเฉพาะภาษาต่างประเทศค่อนข้างมาก ประการหนึ่งคือการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีเปิดสอนสาขา
วิชาต่างประเทศถึง 7 สาขาได้แก่ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาอาหรับ นอกจากนี้การเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาคที่นักศึกษา
และคณาจารย์มีจำนวนไม่มากนัก ทำให้มีความสนิทสนม และผูกพัน จนส่งผลให้นักศึกษากล้าที่จะซักถาม หรือปรึกษาอาจารย์ จนส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากขึ้น
ผศ.ชิดชนก ชี้แจงต่อไปว่า กระบวนการนิเทศนักศึกษาที่ไปฝึกงาน ณ ต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์  จึงมีความจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมารองรับ
อาทิ การนิเทศโดยใช้โปรแกรมสSkype (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง webcam และระบบinternet  ทำให้ผู้สื่อสารสามารถมองเห็นและได้ยินเสียงกัน
แบบreal time โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการะบวนการใช้บริการสื่อสาร) หรือการใช้video conference เป็นต้น  ซึ่งนอกจากจะช่วยลดขั้นตอนและกระบวนการที่อาจารย์
ต้องติดตามนักศึกษาไปต่างประเทศ และลดงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัย แล้ว  ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาได้อย่างอย่างสะดวกรวดเร็ว และได้เห็น
สภาพความเป็นอยู่ และสามารถสัมภาษณ์นักศึกษาได้ในเวลาที่เป็นปัจจุบัน
รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาไปฝึกงาน ณ กงสุล หรือ สถานทูตไทยในต่างประเทศมากขึ้น นอกจากเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสก้าวไกล
สู่ความเป็นสากลแล้ว ยังทำให้นักศึกษาได้เห็นความตั้งใจจริงใจ ของภาครัฐที่พยายามแก้ไขปัญาหาการค้ามนุษย์ ตลอดจนได้พบเห็นความพยายามช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์
ในต่างแดนของภาครัฐ  อันจะส่งผลให้นักศึกษาและบัณฑิตที่จบการศึกษาจากประเทศไทย มีจิตใจมุ่งมั่นที่จะร่วมแก้ไขปัญหาและเข้าใจภาครัฐมากยิ่งขึ้น.
โดย : * [ วันที่ ]