: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 2 ฉบับที่ /2 ประจำเดือน 55 4
หัวข้อข่าว : ข่าวดีสำหรับนักเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ม.อ. เปิดต้นแบบ e-Learning พื้นที่เสี่ยง ภาคใต้
รายละเอียด :

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ  บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)  จัดโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนใต้  หรือ  e-Learning พื้นที่เสี่ยงภาคใต้   เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ได้รับการเรียนการสอนด้วยเนื้อหาที่มีคุณภาพ  และปูแนวทางเพื่อการสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา
รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)  จัดโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนใต้  หรือ e-Learning พื้นที่เสี่ยง ภาคใต้  เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ได้รับการเรียนการสอนด้วยเนื้อหาที่มีคุณภาพ  และปูแนวทางเพื่อการสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา โดยให้บริการทางวิชาการสอนเสริมเตรียมความรู้วิชาพื้นฐานและติวเข้มใน 6 รายวิชา คือ วิชาฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอนทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเวลา  3  ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555  ด้วยงบประมาณ 74,497,600 บาท โดยที่จากการวัดผลการสอบของนักเรียนทั่วประเทศ พบว่านักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือพื้นที่เสี่ยงภัยภาคใต้มีผลการเรียนต่ำกว่านักเรียนในภูมิภาคอื่น จึงดำเนินการให้มีห้องเรียนปลายทางในนพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จังหวัดละ 1 โรงเรียน รวมจำนวน 3 โรงเรียน และสร้างโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเสียงและภาพ ให้อาจารย์ผู้สอนและนักเรียนสามารถ ซักถามกันได้ตลอดเวลาเสมือนอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน รวมทั้ง ให้สามารถบริหารจัดการ ดูแล บำรุงรักษา ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้น ด้วยงบประมาณจำนวน 3,721,060 บาท ศูนย์การเรียนต้นทางจำนวน 7 แห่ง อยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  วิทยาเขตปัตตานี  วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  วิทยาเขตภูเก็ต  วิทยาเขตตรัง  ศูนย์ประสานงานกรุงเทพฯ และโรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ สำหรับห้องเรียนปลายทางใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัย วิทยาลัยชุมชนและโรงเรียนในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา จำนวน 22 โรงเรียน
                     รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข  กล่าวเพิ่มเติมว่า  การสอนทางไกลดังกล่าวดำเนินการโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และโรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ โดยมีการถ่ายทอดสัญญาณจากศูนย์การเรียนต้นทางไปยังห้องเรียนปลายทาง และมีการบันทึกการสอนทางไกลแบบเวลาจริงทุกครั้ง ติดตั้งบนระบบบริหารจัดการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาสถานที่ ตามศักยภาพของผู้เรียน เข้าชมได้ตลอดเวลาที่ เว็บไซต์ http://south.psu.ac.th.

โดย : * [ วันที่ ]