: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ /2 ประจำเดือน 55 4
หัวข้อข่าว : ปฏิญญาปัตตานี
รายละเอียด :
فطاني
fatoni   declaration




اجتماع طاولة مستديرة
لرؤساء وممثِّلي الجامعات والمؤسَّسات التَّعليميَّة العالية


ROUND TABLE DISCUSSION  by
REPRESENTATIVES of UNIVERSITIES & higher educational institutions

بكليَّة الدِّراسات الإسلاميَّة
جامعة الأمير سونكلا فطاني، مملكة تايلاند
COLLEGE OF ISLAMIC STUDIES
PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY
PATTANI CAMPUS
THAILAND

بتاريخ 17 محرم 1432هـ/ الموافق 23 ديسمبر، 2010م
17 Muharram 1432 AH / 23rd December 2010
بسم الله الرحمن الرحيم

بيان فطاني
PATTANI  DECLARATION

نتيجة للمناقشات والحوارات المعمَّقة التي دارت في المؤتمر العالمي عن "دور الدراسات الإسلامية في المجتمع العولمي"، المنعقد بفطاني تايلاند، خلال الفترة من 15 – 17 محرم 1432هـ الموافق 21 - 23 ديسمبر 2010م، فقد تم الاتفاق على المبادئ الأساسية لتطوير الدِّراسات الإسلامية، وعليه نعلن أهمية العمل على:
Based on the thorough discussion at the International Conference on “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies”, held at Pattani, Thailand, during 21-23 December 2010, we have mutually agreed on the following key principles to develop Islamic Studies:

•          أن تبرز الدراسات الإسلامية قيم السلام والوئام ليس بين المسلمين فحسب، ولكن بين جميع البشر.
•          تحقيق الانسجام بين العلوم والمعارف ومقاصد الشَّريعة الإسلامية من أجل أن تغدو أكثر فاعلية وإنتاجية في المجتمع وتنمية للأجيال المقبلة.
•          أن تحيي الدراسات الإسلامية الفروض الكفائيَّة لتعزيز العلوم والتكنولوجيا، من أجل تحقيق التنمية والتطوُّر وتوفير الأمن والعدالة الاجتماعية.
•          أن تبرز الدراسات الإسلامية الطابع العالمي للإسلام لدعم التعاون المشترك بين أمم العالم.
•          أن تؤكد الدراسات الإسلامية على ضرورة إتاحة فرص الحرية وتشجيع الحوار لحماية المجتمع من العنصرية والتطرف وبناء المشترك الإنساني وتحقيق السلام رحمة للعالمين.

•          Islamic Studies shall emphasize the values of peace and harmony not only among Muslims themselves but also among the entire mankind.
•          Islamic Studies shall achieve integration of knowledge and coherence between knowledge and civilizational objectives of Islam to be more effective and productive to achieve development for future generations.
•          Islamic Studies shall emphasize the importance of developing sciences and technology to achieve growth, progress and social justice and to pursue peace and harmony within and between communities.
•          Islamic Studies shall emphasize on the global dimension of Islam to consolidate
cooperation and collaboration throughout the world.
•          Islamic Studies shall emphasize the importance of freedom and the encouragement of dialogue to protect societies against extremism and social discrimination and to build common human heritage.

في ضوء تلك المبادئ الأساسيَّة، فنحن، روساء وممثلي الجامعات والمؤسَّسات التَّعليميَّة، قد آلينا على أنفسنا ما يأتي:
1.          التأكيد على أهميَّة تعليمٍ إسلاميٍّ مُتوازن ومتكاملٍ لملايين المواطنين في بلداننا، وعليه نرى أنه لا بدَّ من العمل المشترك لتأسيس لجنة لتنسيق ووضع برامج الدِّراسات الإسلاميَّة (ISCCo).
2.          السعي لتأسيس شبكة للأبحاث (RON) من أجل تنسيق وتسهيل نوعيَّة البحوث الأكاديميَّة في المجالات ذات الصِّلة؛ لبلوغ فهمٍ أفضل، ووضع استراتيجيَّاتٍ تطويريَّة للدِّراسات الإسلاميَّة.
3.          التَّعاون الوثيق مع العلماء والمفكِّرين في جميع المجالات العلميَّة والأنشطة البحثيَّة والتَّعليميَّة لضمان تحقيق الأبعاد والمجالات التي تغطيها الدِّراسات الإسلاميَّة.
4.          السعي لتبادل أعضاء هيئة التَّدريس والطلاب وإجراء البحوث المشتركة لتعزيز الجهود الفكرية، وتوفير الثِّقة والصَّداقة بيننا من أجل إفادة مجتمعاتنا كافَّة.
5.          العمل من أجل تحقيق المشاركة في وضع الخطط الدراسية وذلك بغية الإفادة من جميع الخبرات التي يوفرها عصر العَوْلَمة في جوٍّ مفتوح، يسمح للآخر بالإسهام فيها.
6.          التحضير لأن نجعل من كليَّة الدِّراسات الإسلاميَّة بفطاني (CIS)  بجامعة الأمير سونكلا (PSU)، مركزًا من مراكز تعليم اللُّغة العربيَّة يتبادل الخبرات مع المؤسسات المماثلة.
7.          السعي من أجل انعقاد الاجتماع العالمي بانتظامٍ كلَّ سَنتَين بفطاني تايلاند؛ لتقوية روابطنا، وتبادل محصِّلة أبحاثنا الأكاديميَّة ومراجعتها، مع رؤية تطويرها، وقياسها بالمعايير والمواصفات العلميَّة العليا.
Under these key principles, we, representatives of universities and higher educational institutions, do hereby commit that:
1. We are fully aware of the importance of quality, balanced and comprehensive Islamic Studies for all our millions of citizens in our common efforts to establish an Islamic Studies Coordinating Committee (ISCCo) by the year 2012 (1434 A.H.);
2. We shall establish Research Organization Network (RON) to coordinate and facilitate quality of academic researches on issues relevant to a better understanding and development strategies for Islamic Studies and our communities;
3. We shall cooperate closely with intellectuals of all disciplines in our researches and teaching activities to ensure that all aspects and dimensions of Islamic Studies are thoroughly investigated and well-rounded;
4. We shall endeavor to exchange academic views and faculty members as well as students among ourselves to share the products of our intellectual efforts and to promote mutual understanding, trust and friendship in order to benefit all people of our respective communities;
5. We shall strive towards achieving cooperation between all aspects to draw academic programs in an open environment that helps them freely express their views and opinions;
6. We shall collaborate collectively to promote the College of Islamic Studies (CIS), Prince of Songkla University (PSU) to become a leading center of Arabic Language in Thailand through cooperation with all sister institutions;
7. We shall endeavor to meet every two years in Pattani, Thailand, in order to strengthen our network, exchange and review our academic research products with a view to improve and measure up to the highest intellectual standards.

تغتنم الوفود المشاركة هذه المناسبة الطيبة لتعرب عن شكرها وتقديرها لحكومة مملكة تايلاند على حسن اهتمامها بالدراسات الإسلامية ورعايتها هذا المؤتمر، كما تشكر معالي الأستاذ الدكتور كانوك ونغترانغان مستشار دولة رئيس وزراء تايلاند على مشاركته الفعالة في أعمال المؤتمر ومتابعته المستمرة لجلساته.
The participating delegations have the pleasure to express their profuse thanks and appreciations to the Kingdom of Thailand for its keen interest in Islamic Studies and for its patronage of this conference. Special thanks shall go to Professor Dr. Kanok Wongtrangan, for his consistent and effective participation in all sessions of the conference.

صدر بكليَّة الدِّراسات الإسلاميَّة، جامعة الأمير سونكلا، بفطاني، مملكة تايلاند، في 17 محرم 1432هـ الموافق 23 ديسمبر 2010م (23 تنواكوم 2553 بوذية). برعاية معالي البروفيسور الدكتور/كانوك ونغترانغان، مستشار دولة رئيس وزراء مملكة تايلاند، السيد/آبهيسيت ويشاشيوأ.
Issued at College of Islamic Studies, Prince of Songkla University, Pattani Campus, Thailand, on 17 Muharram 1432 A.H  (23 December 2010 /23 December 2553 B.E. /.), chaired by Hon. Prof. Dr. Kanok Wongtrangan, Advisor to the Prime Minister of Thailand (H.E. Abhisit Vejjajiva).
والله الموفق والهادي إلى سواء السبيل.








ปฏิญญาปัตตานี




การประชุมโต๊ะกลม
ตัวแทนมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา



ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี


เมื่อวันที่ 17 มุหัรร็อม ฮ.ศ. 1432
ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2011















ปฏิญญาปัตตานี

ผลสืบเนื่องจากการพูดคุยและเสวนาอย่างเข้มข้นในการสัมมนานานาชาติว่าด้วย “บทบาทอิสลามศึกษาในหลังยุคโลกาภิวัตน์” ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15-17 มุหัรร็อม ฮ.ศ. 1432 ตรงกับวันที่ 21-23 ธันวาคม ค.ศ. 2010 มีการเห็นพ้องกันบนบรรทัดฐานหลักในอันที่จะพัฒนาอิสลามศึกษา ซึ่งเราขอประกาศถึงความสำคัญของการดำเนินการดังต่อไปนี้:

•          อิสลามศึกษาจักต้องเผยคุณค่าแห่งสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ใช่เฉพาะระหว่างชาวมุสลิมเท่านั้น หากต้องครอบคลุมมนุษยชาติทั้งมวลด้วย
•          การบูรณการระหว่างวิทยาการและความรู้แขนงต่างๆ กับเป้าประสงค์แห่งบทบัญญัติอิสลามเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพและการสร้างสรรค์ให้มากขึ้นในสังคม และเพื่อการพัฒนาอนุชนรุ่นหลังต่อไป
•          อิสลามศึกษาจักต้องฟื้นฟูหลักจำเป็นพื้นฐานร่วมกันของสังคม (ฟัรฎู กิฟายะฮฺ) เพื่อสนับสนุนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งให้เกิดการพัฒนา การฟื้นฟู การอำนวยสันติสุขตลอดจนผดุงความยุติธรรมในสังคม
•          อิสลามศึกษาจักต้องเผยให้เห็นถึงคุณลักษณะแห่งความเป็นสากลของศาสนาอิสลาม ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างประชาคมมนุษย์ทุกเชื้อชาติ
•          อิสลามศึกษาจักต้องเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการเปิดโอกาสในเรื่องเสรีภาพและสนับสนุนการสานเสวนา เพื่อปกป้องสังคมให้พ้นจากมายาคติทางชาติพันธุ์และความสุดโต่ง สร้างจุดร่วมระหว่างมวลมนุษย์ และอำนวยให้เกิดสันติภาพขึ้นเพื่อเป็นเราะห์มัติ (เมตตาธรรม)แก่สากลโลก
บนหลักแห่งบรรทัดฐานดังกล่าว เรา บรรดาผู้นำและตัวแทนมหาวิทยาลัยและองค์กรเพื่อการศึกษา ขอให้คำมั่น ดังนี้:
1-          การเน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบอิสลามศึกษาที่สมดุลและสมบูรณ์พร้อมสำหรับผู้คนทั้งหลายในประเทศต่างๆ ของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นพ้องกันว่าจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อก่อตั้งคณะกรรมการประสานงานและร่างหลักสูตรอิสลามศึกษา (ISCCo) ขึ้นมา
2-          การพยายามร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายการวิจัย (RON) เพื่อประสานงานและอำนวยความสะดวกในการจัดทำวิจัยทางวิชาการในแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุถึงความเข้าใจที่ดีกว่า และเพื่อจะได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอิสลามศึกษาต่อไป
3-          การร่วมมืออย่างจริงจังกับบรรดาผู้รู้ศาสนาและนักคิดทั้งหลาย ในด้านต่างๆ ของวิทยาการทุกแขนง รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการสอน เพื่อเป็นหลักประกันถึงศักยภาพของอิสลามศึกษาในการสร้างมิติและแนวทางต่างๆ ให้ครอบคลุมและเข้าถึงวิทยาการต่างๆ เหล่านั้นได้
4-          การพยายามร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา รวมทั้งการจัดการวิจัยร่วมกัน เพื่อเพิ่มบทบาททางความคิด ผูกมัดสายใยแห่งความเชื่อมั่นและมิตรภาพระหว่างเรา เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมของเราโดยรวม
5-          การทำงานเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการร่างแผนการศึกษา เพื่อดึงเอาประสบการณ์ต่างๆ ที่เอื้ออำนวยในหลังยุคโลกาภิวัตน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ภายใต้บรรยากาศเสรีที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมด้วย
6-          การเตรียมความพร้อมเพื่อทำให้วิทยาลัยอิสลามศึกษา (CIS) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (PSU) เป็นศูนย์การสอนภาษาอาหรับชั้นนำแห่งหนึ่ง ที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสถาบันต่างๆ
7-          การพยายามเพื่อกำหนดให้มีการประชุมนานาชาติอย่างต่อเนื่องทุกๆ สองปีที่จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสัมพันธภาพของเรา และเพื่อแลกเปลี่ยนและตรวจสอบผลงานการวิจัยทางวิชาการของเรา พร้อมทั้งเสนอมุมมองในการพัฒนาและสร้างตัวชี้วัดด้วยเกณฑ์และคุณสมบัติทางวิชาการที่มีมาตรฐานในระดับสูง

คณะผู้ร่วมสัมมนาขอใช้โอกาสที่ดียิ่งนี้ เพื่อแสดงความขอบคุณและความซาบซึ้งต่อรัฐบาลไทย ที่ได้ให้ความสำคัญอย่างดียิ่งแก่อิสลามศึกษาและได้สนับสนุนการสัมมนาในครั้งนี้ รวมทั้ง ขอแสดงความขอบคุณต่อ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ได้มีส่วนร่วมอย่างดียิ่งตลอดระยะเวลาของ การสัมมนาและได้เฝ้าติดตามเวทีต่างๆ ในการสัมมนาครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง
เขียนที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 มุหัรร็อม ฮ.ศ.1432 ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2010 ภายใต้การนำของ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ขออัลลอฮฺทรงประทานความสำเร็จ และทรงชี้นำสู่ทางอันเที่ยงธรรม



โดย : * [ วันที่ ]