: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 42 ประจำเดือน 07 2552
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี เสริมทักษะการสอนภาษาไทย สาขาวรรณคดี ให้แก่ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้
รายละเอียด :
         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ร่วมกับโครงการเมธี
วิจัยอาวุโส  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  จัดโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนภาษาไทย  
สาขาวรรณคดี  ให้แก่ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน  ๓  จังหวัดชายแดนใต้  ระหว่างวันที่  ๒๖ – ๒๗  กรกฎาคม  
๒๕๕๒  ณ  โรงแรม  ซี. เอส.  ปัตตานี  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสอนวรรณคดี  
ส่งผลในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  โดยเฉพาะการสอนให้คิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์
         รศ. ดร. ดวงมน  จิตร์จำนงค์  หัวหน้าโครงการเมธีวิจัยอาวุโส  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  เรื่อง
สถานะและบทบาทของการวิจารณ์ในการศึกษาวรรณคดีไทย  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  
กล่าวว่าสืบเนื่องจากโครงการเมธีวิจัยอาวุโส  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ได้มีการจัดประชุมใหญ่
ให้แก่ครูสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา  เมื่อปี  ๒๕๕๑  ทำให้มีแนวคิดการจัดอบรมความรู้ทางวรรณคดี  
เพื่อประโยชน์ในการสอนวรรณคดี  อันจะส่งผลในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  โดยเฉพาะ
การสอนให้คิดในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์
         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ในฐานะหน่วยงาน
ระดับอุดมศึกษา  เห็นความสำคัญของการบริการวิชาการแก่ชุมชน และเห็นผลกระทบของคุณภาพการศึกษา
พื้นฐานที่มีต่อผู้เข้าศึกษาต่อ  ประกอบสถานการณ์การขาดแคลนครูภาษาไทยสาขาวรรณคดี  ทั้งเชิงปริมาณ
และคุณภาพ  เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่าทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว  จึงได้จัดโครงการ
ส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนภาษาไทยสาขาวรรณคดี  ให้แก่ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน  ๓  จังหวัด
ชายแดนใต้  ระหว่างวันที่  ๒๖ – ๒๗  กรกฎาคม  ๒๕๕๒  เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ
ของวรรณคดีที่ชัดเจน  ถูกต้อง  สามารถนำวิธีการสอนไปใช้ได้จริงกับผู้เรียน  ทั้งยังสามารถกระตุ้นให้
ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนเชิงคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของบทประพันธ์  เพื่อจะได้เกิดการวิพากษ์
วิจารณ์ด้วยตนเอง  โดยมองเห็นคุณค่าของวรรณคดีในแง่ความสัมพันธ์กับชีวิต  สังคม  และวัฒนธรรม  ทั้งนี้
จะพิจารณาตามแบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด  เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  
และสามารถนำไปปรับใช้ในทางปฏิบัติได้  อันจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและยังส่งผลที่ดี
ต่อคุณภาพการศึกษาภาษาไทยต่อไป


                                                     ***********************************
โดย : * [ วันที่ ]