: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 36 ประจำเดือน 07 2551
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี จัดกิจกรรมสี่อัตลักษณ์ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในวัฒนธรรมที่หลากหลาย
รายละเอียด :
         โครงการจัดตั้งกองกิจการนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดกิจกรรมส่งเสริม
ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในวัฒนธรรมที่หลากหลาย  ในวันพุธที่  ๑๓  สิงหาคม  ๒๕๕๑  ณ  หอศิลปวัฒนธรรม
ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อลดช่องว่างระหว่างภาครัฐและประชาชน  โดยใช้
วัฒนธรรมเป็นสื่อและส่งเสริมความรัก  ความห่วงแหนในอัตลักษณ์ของพื้นที่  ประกอบด้วยกิจกรรมการแข่งขัน
กีฬาพื้นบ้าน การแข่งขันกีฬาฟุตซอล มหกรรมอาหารพื้นบ้าน ประกวดการแต่งกายชุดบานง ประกวดการทำโพเดี่ยม  
และขบวนอัตลักษณ์สี่วัฒนธรรม
         ผศ. นิฟาริด  ระเด่นอาหมัด  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการผลิตกำลังคนและสร้างองค์ความรู้ให้กับสังคม  ท่ามกลาง
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกภาคส่วน  ต้องจัดกระบวนการแนวทางสันติสุขให้เกิดขึ้น
ในพื้นที่  การสร้างสังคมให้มีความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน  โดยใช้กิจกรรมเป็นส่วน
ประกอบพื้นฐานอันนำไปสู่ความร่วมมือ ความเข้าใจ และความสมานฉันท์ จึงควรมีกระบวนการที่เป็นรูปธรรมในการ
สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและระหว่างภาครัฐ  จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนใน
วัฒนธรรมที่หลากหลาย  ในวันพุธที่ ๑๓  สิงหาคม  ๒๕๕๑  ณ  หอศิลป
วัฒนธรรมภาคใต้  สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
กัลยาณิวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี
และการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและภาครัฐ  นำไปสู่การลดช่องว่างและความหวาดระแวงโดยใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อ  
ตลอดจนส่งเสริมความรัก  ความห่วงแหนในอัตลักษณ์ของพื้นที่ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วยการแข่งขันกีฬา
พื้นบ้าน การแข่งขันกีฬาฟุตซอล มหกรรมอาหารพื้นเมือง  ประกวดการแต่งกายชุดบานง  ประกวดการทำโพเดี่ยม  
และขบวนอัตลักษณ์สี่วัฒนธรรม
         ผศ. นิฟาริด  ระเด่นอาหมัด  กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนต่างวัฒนธรรม
มีความรัก  ความกลมเกลียว  ยอมรับในความแตกต่างทั้งในชาติพันธุ์  ภาษา  ความเชื่อ  และประเพณีท้องถิ่น  
ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการร่วมมือพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ  สังคม  
และความมั่นคง  สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้คือ  การขาดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นกระบวนการและบูรณาการ  ซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่าง
คนท้องถิ่นในอดีตไม่เพียงพอต่อการสร้างสันติ  เนื่องจากสภาวการณ์ปัจจุบันมีความอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง
         ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ในวันพุธที่  ๑๓  สิงหาคม  ๒๕๕๑  ณ  หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้  สถาบันวัฒนธรรม
ศึกษากัลยาณิวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี


                                                            ***********************************
โดย : * [ วันที่ ]