: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 09 ประจำเดือน 09 2547
หัวข้อข่าว : วันมหิดล ประจำปี 2547
รายละเอียด :
         สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร  อดุลยเดชวิกรม  พระบรมราชชนก  กรมหลวงสงขลานครินทร์  พระบิดาแห่งการแพทย์
แผนปัจจุบันไทย  เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69  ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
รัชกาลที่ 5  และสมเด็จพระศรีสวรินทิราพระบรมราชเทวี  สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  ทรงพระราชสมภพในพระบรม
มหาราชวัง  เมื่อวันที่ 1  มกราคม  พุทธศักราช  2434
         สมเด็จพระบรมราชชนก  ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  มีพระธิดาและพระโอรส
3 พระองค์คือ  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  และพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
         ด้านการศึกษา  ในปี  พ.ศ. 2448  ได้ทรงเข้าเป็นนายร้อยทหารบก  ในปีเดียวกันได้ทรงไปศึกษา  ณ  โรงเรียนมัธยม
ประเทศอังกฤษ  หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาวิชาทหารและวิชาทหารเรือขั้นสูง  ณ  ประเทศเยอรมัน  ขณะทรงศึกษาในปีสุดท้าย
ทรงชนะการประกวดออกแบบเรือดำน้ำ  หลังจบการศึกษาหลักสูตร 4 ปีแล้ว  ได้ทรงเข้าปฏิบัติงานเป็นนายทหารในราชนาวี
เยอรมัน  เป็นเวลา 3 ปี  ในปี 2458  ได้ทรงเสด็จนิวัติประเทศไทยและเข้ารับราชการในกองทัพเรือเป็นเวลา 9 เดือน  ก็ทรง
ลาออกเนื่องจากทรงพบอุปสรรคในการพัฒนากองทัพเรือไทยให้เหมาะสม
         ในที่ทรงลาออกนั้น  ได้รับทราบถึงความขาดแคลนต่างๆ ในด้านการแพทย์และการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย  จึงทรงสละ
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษา  เช่น  ทรงส่งบุคคลไปศึกษาวิชาการแพทย์และพยาบาล  ณ  ต่างประเทศ  โดยทุน
ส่วนพระองค์  ตั้งแต่  พ.ศ. 2460  จนเสด็จทิวงคต  พระราชทุนแก่มหาวิทยาลัยให้เก็บดอกผล  เพื่อส่งคนไปศึกษา
เพิ่มเติมในต่างประเทศเป็นจำนวน 200,000 บาท  เรียกว่า  “ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์”  นอกจากนั้นยังได้ทรงเริ่ม  “ทุนสอน
และค้นคว้าของโรงพยาบาลศิริราช”  เพื่อให้ผู้รับทุนฝึกฝนในทางปฏิบัติในสาขาใดสาขาหนึ่ง  เพื่อเตรียมตัวออกไปค้นคว้า
ด้วยตนเองได้  เมื่อพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์นั้น  ทรงมีพระราชดำรัสว่า “เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียนหรือให้
พวกเธอออกมาเรียนนี้  ไม่ใช่เงินของฉัน  แต่เป็นเงินของราษฎรเขาจ้างให้ฉันออกมาเรียน  ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี
ให้สำเร็จ  เพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ  และขอให้ประหยัดใช้เงินเพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้สำหรับช่วยเหลือ
ผู้อื่นต่อไป”
         จากความสนพระทัยในวิชาการแพทย์พระองค์ได้เข้าศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด  สหรัฐอเมริกา  และ
ทรงได้รับประกาศนียบัตรสาธารณสุขในปี 2464  หลังจากนั้นก็เสด็จกลับมาทรงทำงานอยู่กับราชแพทยาลัยระยะหนึ่งแล้ว
จึงเสด็จสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาวิชาแพทย์  จนได้รับปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม  เมื่อปี  พ.ศ. 2471  ในปี
เดียวกันก็ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยและมีพระราชประสงค์จะทำหน้าที่แพทย์  ณ  โรงพยาบาลศิริราช  แต่ทางการไม่อาจ
สนองพระราชประสงค์ได้  เพระเกี่ยวฐานันดรศักดิ์ของพระองค์และพระราชประเพณี  จึงทรงไม่พอพระทัยที่จะอยู่เฉย  ๆ โดย
ไม่ได้ทำประโยชน์  จึงมีพระดำรัสว่า “โดยความจงรักภักดีของฉันต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ฉันไม่สามารถจะรับหน้าที่
ใด ๆ ของรัฐบาล  เพียงแต่รับเครื่องประดับและรับเงินเดือนสำหรับการทำเช่นนั้น  ถ้าเรื่องเป็นเช่นนั้นฉันรู้สึกว่าฉันควรจะ
ออกจากหน้าที่นั้นดีกว่า  และให้ราชการที่ควรจะทำหน้าที่และเป็นที่ต้องการ  ได้รับเงินเดือนมากกว่าฉันเข้าทำแทน”  
ดังนั้นจึงทรงเปลี่ยนความตั้งพระทัยเสด็จไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลแมคคอมิค  จังหวัดเชียงใหม่  ตามที่
ทางโรงพยาบาลกราบทูลอัญเชิญมา
         สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จถึงเชียงใหม่  เมื่อวันที่ 24  เมษายน  2472  ได้เสด็จประทับอยู่ร่วมกับครอบครัว
ของ  ดร.อี.ซี.  คอร์ท  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอมิคในครั้งนั้น  ที่ประทับเป็นตึกเล็กๆ  และทรงมีมหาดเล็กรับใช้
เพียงคนเดียว  ทรงใช้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลและปฏิบัติพระองค์เยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญผู้หนึ่ง  ไม่โปรด
ให้แพทย์  พยาบาล  หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล  ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับพระองค์ประพฤติต่อพระองค์เยี่ยงเจ้านายผู้สูงศักดิ์  
ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างสามัญชน  เวลาจ่ายใบสั่งยาก็ทรงลงพระปรมาภิไธยคล้ายสามัญชนว่า  “มหิดลสงขลา”  แม้ว่าพระสุขภาพ
จะไม่ดีนัก  แต่ก็ทรงมีความสุขเป็นอันมากกับการที่มีโอกาสเป็นหมอได้อย่างเต็มที่  ในชั่วระยะเวลาไม่นานก็มีกิตติศัพท์
แพร่หลายไปทั่วไปว่า  มีแพทย์เป็นเจ้าฟ้ามาทรงปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาลแมคคอมิค  ผู้ป่วยไข้ที่มารับการตรวจบำบัดโรคที่
โรงพยาบาลในครั้งนั้นขนานนามพระองค์ท่านว่า “หมอเจ้าฟ้า”
         สมเด็จพระบรมราชชนกมีโอกาสประทับที่เชียงใหม่  ให้ผู้คนชาวเชียงใหม่ได้ชื่นขมในพระกรุณาในชั่วเวลาไม่ถึงเดือน  
ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 18  พฤษภาคม  พ.ศ. 2472  เพราะทรงประชวร  ทรงพระประชวรประมาณ 4 เดือน  จนถึงวันที่ 24  
กันยายน  พ.ศ. 2472  เวลา 16.45 นาฬิกา  ก็เสด็จทิวงคต  รวมพระชนม์มายุได้ 37 ปี  8 เดือน  กับ 23 วัน  เนื่องจากพระปับผาสะ
มีน้ำคั่งและพระหทัยวาย  นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการแพทย์ไทย  ดังนั้นวันที่ 24  กันยายน  จึงเรียกกันว่า “วันมหิดล”
         แม้ว่าสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร  อดุลยเดชวิกรม  พระบรมราชชนก  ได้เสด็จทิวงคตไปแล้วกว่า 70 ปี  แต่พระราชดำรัส
ของพระองค์ท่านที่ว่า
         “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง  ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
         ลาภ  ทรัพย์  และเกียรติยศ  จะตกแก่ท่านเอง  ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”
ก็ยังคงก้องกังวานอยู่ในหัวใจของปวงชนมิรู้คลาย
         เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่าน  ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็น
ประโยชน์สุขของผู้อื่นตลอดพระชนม์ชีพ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ร่วมกับส่วนราชการต่าง  ๆ จึงได้จัด
กิจกรรมเนื่องในวันมหิดลเป็นประจำทุกปี  โดยในปีนี้ได้กำหนดจัดกิจกรมวันมหิดล  เมื่อวันที่ 24  กันยายน  2547  ซึ่งมีกิจกรรม
ประกอบด้วย  การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์  บำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน  ถวายภัตตาหารเช้า  พิธีวางพวงมาลาพร้อมกัน  
ณ  บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม  พระบรมราชชนก  กรมหลวงสงขลานครินทร์
สำหรับหน่วยราชการ  เอกชนที่ร่วมพิธีวางพวงมาลาพระบรมราชานุสาวรีย์  สมเด็จพระมหิตลาทิเบศรอดุลยเดชวิกรม  
พระบรมราชชนก  กรมหลวงสงขลานครินทร์  เนื่องในวันมหิดล  ประจำปี 2547  จำนวน 40 หน่วยงาน  มีดังนี้
         1. ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
         2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         3. โรงเรียนอนุบาลสาธิต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         4. โรงเรียนสาธิต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
               5. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         6. โรงพยาบาลยะรัง
         7. โครงการจัดตั้งกองกิจการนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
         8. สำนักงานสาธารณสุข  จังหวัดปัตตานี  
         9. องค์การบริหารองค์การนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         10. สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         11. สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         12. สหกรณ์ออมทรัพย์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จำกัด
         13. สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         14. ธนาคารไทยพาณิชย์  สาขาย่อยสงขลานครินทร์
         15. สมาคมศิษย์เก่า  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         16. สภานักศึกษา
         17. คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         18. โรงพยาบาลหนองจิก
         19. สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
         20. สภาอาจารย์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         21. คณะวิทยาการสื่อสาร  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         22. ร้านสหกรณ์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         23. หน่วยคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         24. โรงเรียนยุวชิตบริหารธุรกิจปัตตานี
         25. ลูกจ้าง  ม.อ.ปัตตานี
               26. สถานีวิทยุ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         27. เทศบาลเมืองปัตตานี
         28. โรงพยาบาลยะหริ่ง
         29. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี
         30. โรงพยาบาลปะนาเระ
         31. สำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         32. คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         33. โรงพยาบาลโคกโพธิ์
         34. โรงพยาบาลปัตตานี
         35. สโมสรนักศึกษา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         36. บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
         37. ศูนย์บำบัดยาเสพติด  จังหวัดปัตตานี
         38. โรงพยาบาลแม่ลาน
         39. คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

                                                ***************************************



โดย : * [ วันที่ ]