: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 06 ประจำเดือน 06 2547
หัวข้อข่าว : รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี เดินทางไปเยี่ยมและดูงานสถาบันต่าง ๆ ณ ต่างประเทศ
รายละเอียด :
         ท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมอย่างรวดเร็วของวิทยากร  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  หรือ
ค่านิยม  มหาวิทยาลัยในฐานะแหล่งรวมของภูมิปัญญาระดับสูงย่อมมีหน้าที่จะต้องเป็นผู้นำพาสังคม  ให้ก้าวไปพร้อม
กับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมั่นคง  มีสติ  รู้เท่าทัน  สามารถมีสติปัญญาเพียงพอสำหรับการแข่งขันและ
เอาตัวรอดเพื่อให้ชาติภูมิภาค  ชุมชนและคนในสังคมทุกคนสามารถจะยืนอยู่ท่ามกลางกระแสคลื่นของความ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างมั่นคง  มีเอกลักษณ์  มีจริยธรรม  เข้มแข็งและมีศักดิ์ศรี  นอกจากนี้มหาวิทยาลัย
ภูมิภาคได้รับการคาดหวังให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมมากขึ้น  จึงกำหนดภารกิจหลักสี่ประการ
ที่มหาวิทยาลัยต้องกระทำและเพื่อให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดประโยชน์สูงสุด  ได้ทุ่มเทความสนใจ
เรื่องศาสตร์  ด้านบริหารจัดการองค์กรให้กับบุคลากรทุกฝ่าย  ทุกระดับ  ทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  
เพราะฉะนั้นการศึกษาดูงานของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ  จึงมีความจำเป็นในการเพิ่มทักษะ
การบริหารมหาวิทยาลัยให้มีศักยภาพเพื่อก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ  ซึ่งเมื่อวันที่ 3-9  พฤษภาคม  ที่ผ่านมา  
รศ.ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้มีโอกาสเดินทาง
ไปศึกษาดูงาน  ณ  สถาบันต่างๆในประเทศสหพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์  สาธารณรัฐอิตาลี  และสาธารณรัฐฝรั่งเศส  
โดยได้เยี่ยมชมและดูงานตามสถานที่ต่าง  ๆ  อาทิ  วันที่ 4  พฤษภาคม  ได้ไปเยี่ยมชมและดูงานที่ SWISS Hotel
Management  School  ที่ Caux-Palace เมือง Montreux  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
         “ผู้ที่จะเข้าศึกษา SWISS Hotel Management  School  ซึ่งเป็นโรงเรียนการโรงแรมที่มีชื่อเสียงและ
ดีเยี่ยมแห่งหนึ่งของประเทศและของโลก  ต้องจองที่นั่งและลงทะเบียนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ปี”  รศ.ผดุงยศ  ดวงมาลา  
กล่าว
         หลังจากได้เยี่ยมชมและดูงานที่ SHMS แล้วได้เดินทางไปที่เมือง Gstaad เพื่อดูงานการจัดพิพิธภัณฑ์
ชุมชน  “Gstaad เป็นเมืองบนภูเขาที่ไปถึงได้โดยรถไฟไต่เขา (Panoramic Train)  เป็นชุมชนที่มีลักษณะพิพิธภัณฑ์
ทั้งเมือง  เป็นการอนุรักษ์วิถีชุมชนและงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น”
         วันที่ 5 พฤษภาคม  2547  เดินทางไปที่เมืองมิลาน  หรือเมือง Milano สาธารณรัฐอิตาลี  เพื่อดูงาน
เฉลิมฉลองความเป็นหนึ่งเดียวของสหภาพยุโรป (Unita Nella  Diversita Festadell EUROPA)  โดยรัฐบาล
สาธารณรัฐอิตาลี  เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่เมือง Milano ดูงานจัดพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ที่ Liomardo
da Vinci’s Musuem of Science and Technology  และเยี่ยมชมโบสถ์ Santa Maria della Grazie ซึ่งมีภาพ  
“อาหารมื่อสุดท้าย (The Last Supper)”  ที่ Liomardo da Vincis  วาดไว้ที่โบสถ์แห่งนี้
         วันที่  6  พฤษภาคม  2547  เดินทางดูงานที่ The World Conversation Union (IUCN)  ที่เมือง Gland
มณฑลโลซานส์  สวิตเซอร์แลนด์  “สหภาพการอนุรักษ์โลก”  ที่เมือง Gland นี้  จะให้ความสนใจเรื่องการ
อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ  และทรัพยากรธรรมชาติ  มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก  และมีกำหนดจะจัด 3 rd IUCN World
Conversation Congress ที่กรุงเทพฯ  โดยใช้หัวข้อว่า “FREM A (MMAN) TO B (ANGKOK) : Four years on
Lessons from Amman Congress” ระหว่างวันที่ 17-25  พฤศจิกายน  2547  ในช่วงบ่ายของวันเดียวกันนี้
ได้เดินทางไปเยี่ยมสำนักงานองค์การการค้าโลกและนักคณะผู้แทนถาวรไทยฯ  ได้ทำหน้าที่อย่างแข่งขันในการ
รวมกลุ่มคณะผู้แทนจากคณะประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย  (โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการปกป้องสินค้าเกษตรกรรม)  หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมหอสมุดกลาง  มหาวิทยาลัยเจนีวา  ซึ่งเป็น
หอสมุดเชิงอนุรักษ์ที่พยายามรวบรวมต้นฉบับหนังสือและเอกสารทางราชการไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  
หอสมุดฯ  ยังคงให้ความสำคัญสื่อเอกสารในลักษณะของ “Full Texts”  มากกว่าสื่ออิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ
         วันที่  8  พฤษภาคม  2547  เป็นวันสุดท้ายของการเดินทางศึกษาต่างประเทศ  ได้เดินทางไปเยี่ยม
และศึกษาดูงานการจัดพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในประเทศฝรั่งเศส  โดยแวะชม
การจัดพิพิธภัณฑ์ภัณฑ์ประวัติศาสตร์ปราสาท  Chateau de Chenonceau  และปราสาท  Chateau Royal de
Chambord แล้วไปดูการจัดการเรื่องการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่เมือง Vinchi ซึ่งเป็นแหล่งที่มี Spa Resorts
ที่มีชื่อเสียงที่สุดในฝรั่งเศส
         “36 ปี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็น 36 ปีแห่งความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้าง
ผลงานในเชิงคุณภาพ  สร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการก้าวสู่ความเป็นเลิศทาง
วิชาการ  ล้วนเป็นจินตภาพหรือเป็นวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยต้องยึดมั่นและเป็นจุดร่วมของความพยายามให้บรรลุ
เป้าหมายและสามารถที่จะพัฒนาไปสู่วิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยคาดหวังไว้ได้ในอนาคต”  รศ.ผดุงยศ  ดวงมาลา  กล่าว  

                                              ************************************
โดย : * [ วันที่ ]