: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 72 ประจำเดือน 10 2549
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี เปิดศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้
รายละเอียด :
         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดตั้งศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ณ  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  
เพื่อมีระบบฐานข้อมูลความสูญเสียที่ถูกต้อง  ชัดเจน  ระบบการช่วยเหลือและเยียวยาที่เข้มแข็งและ
สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร
         ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง  ทองผ่อง  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต
ปัตตานี  กล่าวว่าความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่  4  มกราคม  2547  
เป็นต้นมา  มีผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นจำนวนมาก  มีผู้เสียชีวิตและพิการส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย  
ส่งผลให้มีหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าเป็นจำนวนมาก  องค์กรต่าง  ๆ  ได้ให้ความช่วยเหลือ  แต่ยังไม่
ครอบคลุมทั่วถึงและต่อเนื่อง  ยังไม่เป็นระบบและเข้มแข็งเพียงพอ  ดังนั้นศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ  
วะสี  ประธานกองทุนสมานฉันท์แห่งชาติ  และศาสตราจารย์  ดร. นายแพทย์วีระศักดิ์  จงสู่วิวัฒน์วงศ์  
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้  จึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศวชต.)  ขึ้น  โดยตั้งอยู่ที่คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่
ทันสมัย  มีความถูกต้อง  สมบูรณ์  รายงานความก้าวหน้าการติดตามเยียวยาช่วยเหลือผู้สูญเสีย  จัดทำรายงาน
วิจัยคุณภาพสูงในทางวิชาการ  ตลอดจนระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเรียนรู้  แก้ปัญหา  และสร้างความ
ร่วมมือระหว่างองค์กร
         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิจถาวร ผู้กำหนดทิศทางและวางแผนยุทธศาสตร์ศูนย์ประสานงานวิชาการ
ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศวชต.)  เปิดเผยถึง
สาระสำคัญของฐานข้อมูล   ศวชต.  ว่าเป็นฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา   ฐานข้อมูล
เกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับความเสียหายจาก
เหตุการณ์  และการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา  โดยคาดหวังว่าจะมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน  
มีระบบการช่วยเหลือและเยียวยาผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เข้มแข็งครอบคลุมทั่วถึงและสามารถ
ติดตามได้ในระยะยาว  มีระบบติดตามและประเมินการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพและสกัดองค์ความรู้
ในการแก้ปัญหาต่อไป
               สถานการณ์ความไม่สงบในรอบ  5  ปี  จากฐานข้อมูล  ศวชต.  ระบุว่าสถานการณ์ความไม่สงบใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้  รวมถึงบางส่วนของจังหวัดสงขลา  ตั้งแต่ปี  2545 – 2549  มีเหตุการณ์รวมทั้งสิ้น  
4,483  ครั้ง  เฉลี่ยเกิดเหตุการณ์วันละ 3  ครั้ง  โดยพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  เกิดเหตุการณ์มากที่สุดจำนวน  
1,731  ครั้ง  คิดเป็นร้อยละ  38.6  รองลงจังหวัดปัตตานี  จำนวน  1,319  ครั้ง  คิดเป็นร้อยละ  29.4  จังหวัด
ยะลา  จำนวน  1,137  ครั้ง  คิดเป็นร้อยละ  25.4  และจังหวัดสงขลา  จำนวน  296  ครั้ง  คิดเป็นร้อยละ  
6.6  ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  โดยเดือนที่เกิดเหตุการณ์มากที่สุดคือเดือนมีนาคม – เมษายน  เดือนมิถุนายน  
และเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน  ช่วงเวลาเกิดเหตุมี  2  ช่วงคือ  เวลา  06.00 – 08.00  น.  และเวลา  
19.00  น.  ถึงเวลา  20.00  น.  ในส่วนของผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรอบ  5  ปี  
มีจำนวนทั้งสิ้น  4,063  คน  ผู้บาดเจ็บ  จำนวน  1,917  คน  คิดเป็นร้อยละ  47.2  เสียชีวิต  1,198  คน  
คิดเป็นร้อยละ  29.4  โดยพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์มากที่สุด  จำนวน  
1,742  คน  จังหวัดปัตตานี  จำนวน  1,059  คน  จังหวัดยะลา  จำนวน  1,039  คน  และจังหวัดสงขลา  
223  คน  ทั้งนี้เพศชายจะได้รับผลกระทบมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  86.3
         ฐานข้อมูล  ศวชต.  ยังระบุว่าสำหรับการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น  พบว่ามีหลายหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือรวมเป็นเงินกว่า  
628  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ  9,755  คน  โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุดเป็นเงิน  284  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ
4,255  คน รองลงมากองสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเงิน  200  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ
1,204  คน  กองทุนสมานฉันท์เป็นเงิน  4  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ  801  คน  
กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเงิน  31  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความ
ช่วยเหลือ  373  คน  เงินช่วยเหลือเยียวยาเกือบ  14  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ  351  คน  
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นเงินเกือบ  6  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ  
319  คน  และหน่วยงานอื่น  ๆ  อีก  120  หน่วยงาน  เป็นเงิน  69  ล้านบาท  จากจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ  
1,699  คน   โดยผู้ได้รับความช่วยเหลือที่นับถือศาสนาอิสลาม   จำนวน  1,922  คน     คิดเป็นร้อยละ  36.6  
ผู้ได้รับความช่วยเหลือที่นับถือศาสนาพุทธและอื่น  ๆ   จำนวน  3,328  คน   คิดเป็นร้อยละ  63.4  อย่างไร
ก็ตามผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มีความต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปดูแลลูกหลานกรณี
หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตมากที่สุด  รองลงมาต้องการให้ดูแลสุขภาพจิตใจ

                                                       *************************************
โดย : * [ วันที่ ]