: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2546
หัวข้อข่าว : นักวิชาการศึกษาพบแรงงานจังหวัดภาคใต้ตอนล่างยังขาดทักษะและนิสัยอุตสาหกรรม รัฐและเอกชนควรมีส่วนร่วมพัฒนาแรงงาน
รายละเอียด :
         นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
ในการพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อรองรับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน  พบแรงงานมีความ
สอดคล้องกับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียนอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ  รัฐและเอกชนควรมีส่วนร่วมพัฒนา
แรงงาน  โดยสถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรในสอดคล้องกับตลาดแรงงานและภาคเอกชนจัดแหล่งฝึกประสบการณ์
         รองศาสตราจารย์  ดร. ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์  ผู้ศึกษาวิจัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนา
ฝีมือแรงงานจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อรองรับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน  (AFTA)  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่าการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดยอาศัยความ
ร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน  เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพให้สามารถผลิตแรงงานได้ตรงกับความต้องการของ
ตลาด  การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในระยะที่ผ่านมา  ภาครัฐรับผิดชอบในการผลิตแรงงานฝ่ายเดียว  
จึงทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการของตลาดแรงงานและเป็นฝีมือแรงงานที่ทักษะค่อนข้างต่ำ  สาเหตุเนื่องจาก
การพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่  ๆ  และการพัฒนามาตรฐานผลผลิตที่ไม่พ้นต่อความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและ
สังคมโลก  ดังนั้นแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานจึงต้องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา
ร่วมกัน  จัดให้มีองค์กรในรูปแบบที่เป็นทางการระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน  เพื่อแก้ไขปัญหาของจังหวัด
และภูมิภาค
         การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการ
พัฒนาฝีมือแรงงานของจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อรองรับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน  (AFTA)  ในด้านการ
วางแผน  การปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบและประเมินผล  ด้านการปรับปรุงพัฒนา  ศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ในด้านความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน  6  สาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน
ได้แก่  การพาณิชยกรรม  การสื่อสารโทรคมนาคม  การอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ  การอุตสาหกรรม
ทั่วไป  การอุตสาหกรรมตามข้อกำหนด  และการขนส่งสินค้า  รวมทั้งศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่าง
ภาครัฐกับภาคเอกชน  และรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
         ผู้ศึกษาวิจัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อ
รองรับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน  (AFTA)  เปิดเผยถึงผลการวิจัยว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
ในการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับเขตการค้าเสรีอาเซียนในด้านการวางแผน  ด้านการปฏิบัติ  ด้านการตรวจสอบ
และประเมินผล  และด้านการปรับปรุงพัฒนา  มีลักษณะอยู่ในระดับร่วมปรึกษาหารือซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้น  ส่วนสภาพ
แรงงานนั้นตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในสาขาพาณิชยกรรม  การสื่อสารโทรคมนาคม  การอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศ  อุตสาหกรรมทั่วไป  และอุตสาหกรรมตามข้อกำหนด  มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก  
ส่วนฝีมือแรงงานด้านการขนส่งสินค้าอยู่ในระดับปานกลาง  สำหรับความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน
อยู่ในระดับปานกลาง  สอดคล้องกับการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียนอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำทุกสาขา
         ในด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานนั้น  ภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบาย
และทิศทางร่วมกับกับภาคเอกชน  ในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ชัดเจนทันกับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และ
ความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางระบบเศรษฐกิจและภาคเอกชนควรร่วมมือในการให้คำ
ปรึกษาหารือ  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมดำเนินการ  และร่วมใช้ผลผลิตให้สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมและขีดความสามารถ
ในการผลิต  โดยการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
         “ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนนั้น  ควรพัฒนาสินค้าเพื่อการส่งออก
ให้มีมาตรฐาน  มีคุณภาพ  เสริมสร้างแรงงานไทยให้มีนิสัยอุตสาหกรรม  พัฒนาฝีมือแรงงานให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น
และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  เช่น  ทักษะด้านภาษาอังกฤษและทักษะอาชีพที่ต่างประเทศต้องการ  ด้านการจัด
การศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้  ต้องสร้างความตระหนักให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและให้การสนับสนุน
โดยมีกฎหมายสนับสนุน  และรัฐควรให้สิทธิพิเศษภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา  เช่น  ลดหย่อนภาษี  
การรักษาพยาบาล  และอื่น  ๆ  ที่รัฐพึงจัดให้  นอกจากนี้สถาบันการศึกษาควรจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดและแรงงาน  โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดแหล่งฝึกประสบการณ์”  รศ. ดร. ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์  
กล่าว

                                                               *****************************

โดย : * [ วันที่ ]