: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 10 2546
หัวข้อข่าว : 35 ปี ศึกษาศาสตร์กับความคาดหวังของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้
รายละเอียด :
         ณ  จุดเริ่มต้นด้วยคำขวัญของศาสตราจารย์นพ  ปาลกะวงศ์  ณ  อยุธยา  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์คนแรก  
ถึงแม้วันเวลาจะผ่านไป  35  ปีแล้วก็ตาม  จุดประกายความหวังให้แก่ชาวศึกษาศาสตร์ในการประสิทธิประสาทวิชา
ให้แก่ผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้  35  ปี  ถ้าเปรียบกับวัยคนเราก็เป็นวัยที่มีพลังแข็งแกร่งและวัยกำลังสร้างสรรค์
ผลงาน
         ศึกษาศาสตร์  เป็นศาสตร์ทางด้านวิธีการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา  ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้ทราบถึงบทบาทและภาระหน้าที่  ตลอดจนปณิธานของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี  
การดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นการผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการ  ต่างก็มุ่งเน้นที่ปัญหา  ความขาดแคลน  และความ
ต้องการของท้องถิ่นเป็นอันดับแรก  งานผลิตบัณฑิตในระยะแรกเน้นการผลิตบัณฑิตในส่วนที่ภาคใต้ขาดแคลนคือ  
ครูในสาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษา  นับว่าเป็นการสนองความต้องการของท้องถิ่น  ซึ่งมี
ส่วนช่วยให้ทางด้านวิชาการของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ  ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพไปด้วย
         รศ.ดร. สุวิมล  เขี้ยวแก้ว  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  
ได้กล่าวถึงพัฒนาการของคณะศึกษาศาสตร์ว่า  คณะศึกษาศาสตร์ได้เปิดสอนเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เมื่อปี  2511  รับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน  60  คน  เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์  จำนวน  
35  คน  และสาขาศิลปะศาสตร์  จำนวน  25  คน  ใช้อาคารเรียนร่วมกันกับคณะวิศวกรรมศาสตร์  ที่กรุงเทพฯ  ต่อมา
ได้ย้ายมาเรียนที่วิทยาเขตปัตตานี  ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลรูสะมิแล  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  เมื่อวันที่  9  พฤศจิกายน  
2511  ซึ่งวิทยาเขตปัตตานี  ได้กำหนดวันดังกล่าวเป็นวันรูสมิแล  ในระยะแรกคณะศึกษาศาสตร์มีเป้าหมายเพื่อผลิต
ครูระดับปริญญาตรีที่สอนระดับมัธยมศึกษา  และเพื่อขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาในวิชาการศึกษาออกไปสู่
ชุมชนภูมิภาคใต้ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐตามแผนพัฒนาภาคใต้  พร้อมกันนั้นร่วมมือกับชุมชนในการ
ปรับปรุงการศึกษาและยกระดับวิทยฐานะของครูอาจารย์ให้สูงขึ้นด้วย
         ต่อมาคณะศึกษาศาสตร์  ได้ขยายภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมตามศักยภาพและความพร้อม  
และถือเป็นคณะเดียวของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ที่จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยจนถึงระดับ
ปริญญาเอก  กล่าวคือเปิดโรงเรียนอนุบาลสาธิต  โดยเปิดรับตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงชั้นประถมศึกษา  มีการจัดตั้งโรงเรียน
สาธิต  ม.อ.  เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า  วิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาและอาจารย์  
และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา  ปัจจุบันคณะศึกษาศาสตร์  มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี  
16  สาขาวิชา  ปริญญาโท  9  สาขาวิชา  ปริญญาเอก  1  สาขาวิชา  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  
1  สาขาวิชา  ในระยะสามปีที่ผ่านมาคณะได้มีการปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี  ปริญญาโท  และปริญญาเอก  
และได้นำเสนอวิชาทักษะการคิดวิชาชีวิตและสุขภาพ  รวมทั้งจัดเตรียมหลักสูตรศึกษาศาสตร์  5  ปี  เพื่อรองรับการ
ปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  คณะศึกษาศาสตร์  ได้รับการ
พัฒนามีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดมา  ได้มีบทบาทในการรับใช้สังคมในรูปแบบต่าง  ๆ  เช่น  การ
ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาชีพศึกษาศาสตร์  ทำการวิจัย  และให้บริการวิชาการด้านวิชาชีพศึกษาศาสตร์
         การผลิตบัณฑิตและนักเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาท้องถิ่น  คณะศึกษาศาสตร์  นอกจากจะเปิดสาขาวิชาศึกษาศาสตร์
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น  ๆ  แล้ว  คณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้เปิด
หลักสูตรศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนในระดับปริญญาโท  เพื่อผลิตครูออกสู่ชนบท  นอกเหนือจากการผลิตบัณฑิต
แล้วคณะศึกษาศาสตร์ยังมีโครงการพัฒนานักศึกษา  จนทำให้นักศึกษามีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  มีเจตคติ
ที่ดีต่อวิชาชีพครูและต่อคณะศึกษาศาสตร์  มีโปรแกรมพัฒนานักศึกษาที่เป็นระบบและต่อเนื่องตลอดหลักสูตร  
4  ปี  เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อสำเร็จการศึกษา  และยังเป็นกำลังใจแก่นักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์  
โดยมีแผนดำเนินงานเกี่ยวกับทุนการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและ
สนับสนุนให้นักศึกษาที่มีความขยัน  มีความอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียน  เป็นผู้มีน้ำใจ  และมีความรับผิดชอบ
ต่อสังคม  โดยจัดสรรทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา  และมีการจัดตั้งกองทุนศึกษาศาสตร์  เพื่อนำดอกผล
ที่ได้มาจัดสรรเป็นทุนแก่นักศึกษาทุกปี
         ความเป็นปัจจุบันของศึกษาศาสตร์  มีการพัฒนาระบบ  กลไกและการดำเนินงานประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  
ตั้งแต่ระดับภาควิชาถึงระดับคณะ  โดยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอก  
สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา  (สมศ.)  กล่าวคือคณะศึกษาศาสตร์มีหลักสูตร
การสอนวิทยาศาสตร์ที่เด่น  จำนวนหน่วยกิตวิชาเอกที่ศึกษาสร้างความเชี่ยวชาญในเนื้อหาในอาชีพครูได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนได้  และยังมีจำนวนนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษามากกว่าคณะอื่น  ๆ  นอกจากนี้ยังมีระบบและกระบวนการให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพ
ของนักศึกษาที่เด่นกว่าคณะอื่น  ๆ  ส่งผลให้บัณฑิตที่สำเร็จออกไปมีคุณภาพที่พึงพอใจของนายจ้าง
         คณบดีคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้เปิดเผยว่าในโอกาสครบรอบ
ปีที่  35  แห่งการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์  ได้ดำเนินการตามภาระและปรัชญาของมหาวิทยาลัย  โดยอาศัยเนื้อหา
และวิธีการของวิชาของศาสตร์ของคณะมาตามลำดับ  จนกระทั่งปัจจุบันขยายการศึกษาในระดับปริญญาและ
ปริญญาเอก  การดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นการผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการ  ต่างก็มุ่งเน้นที่ปัญหาความขาดแคลน
และความต้องการของท้องถิ่นเป็นอันดับแรก
         “ศึกษาศาสตร์ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน  มีเอกลักษณ์  เน้นความเป็นครู  โดดเด่นทางการศึกษาโดยสร้างคนให้เป็น
คนของสังคม  นอกจากนี้สังคมยังวาดหวังให้คณะศึกษาสาสตร์มีการวิจัยเพื่อความรู้จริงและสามารถเผยแพร่ศาสตร์
การสอนแก่สาธารณชนได้”  รศ. ดร. ชำนาญ  ณ  สงขลา  อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
กล่าวในการเสวนาอดีต  ปัจจุบัน  อนาคตของคณะศึกษาศาสตร์
         35  ปี  ของคณะศึกษาศาสตร์  ถือว่าเป็นวัยฉกรรจ์ที่ผ่านกาลเวลาของการเรียนรู้ชีวิตมาอย่างหลากหลาย  
เป็นวันเวลาของการสั่งสมประสบการณ์เพื่ออนาคตและต่อแต่นี้ไปเป็นห้วงเวลาแห่งการกลั่นกรองประสบการณ์เก่า  
ผนวกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่  แล้วสร้างสรรค์อนาคตด้วยหัวใจที่มุ่งมั่น  โดยมีชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี  อยู่ที่จุดหมาย
ปลายทาง  เป็นการใช้โอกาสของ  “แหล่งรวมบุคลากรที่มีปัญหาชั้นเยี่ยม”  เป็นฐานการผลิต  “บุคลากรที่มีคุณภาพ
ชั้นยอด”  และจัดสรร  “บริการวิชาการที่เป็นเลิศ”  ให้แก่สังคมทุกระดับ

                                                           *******************************

โดย : * [ วันที่ ]