: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 07 ประจำเดือน 07 2546
หัวข้อข่าว : เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
รายละเอียด :
         ฯพณฯ  นายลอเรนจ์  อูบลิน  เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย  ได้เดินทางมาเยือน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  โดยมี  รศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และคณะให้การต้อนรับ  เมื่อวันที่  31  กรกฎาคม  ที่ผ่านมา  โดยมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
วิทยาเขตปัตตานี  กับรัฐบาลฝรั่งเศส
         รศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดเผยว่า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง  ๆ  ใน
ประเทศฝรั่งเศสมากกว่า  10  ปีที่ผ่านมา  อาทิ  โครงการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีพอลิเมอร์กับคณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี  การให้ทุนฝึกอบรมดูงานแก่คณาจารย์และงบประมาณกิจกรรมนักศึกษาในคณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์  ความร่วมมือในการดำเนินการด้านพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งและแลกเปลี่ยนนักวิจัยกับสถาบัน
วัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  เป็นต้น
         สรุปความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และฝ่ายฝรั่งเศส
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส  ดังนี้
         1.  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีความร่วมมือกับสถาบันในประเทศฝรั่งเศสดังนี้
                   1.1  Ecole  Dapplication  Des  Hauts  มีความร่วมมือในสาขา  Polymers  ในระหว่าง
ปี  พ.ศ. 2534 – 2538  (1991 – 1995)
                   1.2  Institut  Superieur  De  Plasturgie  มีความร่วมมือในสาขา  Dalencom  (ISPA)  
ในระหว่างปี  พ.ศ. 2539 – 2542  (1996 – 1999)
                   1.3  Institut  Universitaire  de  Technologie  du  Mans  (IUT),  University  du  
Maine  มีความร่วมมือในสาขา  Laboratorie  De  Chimie  Organique  Macromoleculaire  ในระหว่างปี  พ.ศ.
2538 – 2546  (1991 – 2003)
         ในปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังคงมีความร่วมมือกับ  Institut  Universitaire  de  Technologie  
du  Mans,  University  Du  Maine  อย่างต่อเนื่อง  โดยมีอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศึกษาอยู่
ในสาขา  Laboratoire  de  Chimie  Organique  Macromoleculaire  มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรและคณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีอุตสาหกรรมจาก  IUT  มาช่วยสอน
ในรายวิชาต่าง  ๆ  ให้กับนักศึกษาหลักสูตรเคมีอุตสาหกรรม  นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมและ
การไปศึกษาดูงานในสาขาที่เกี่ยวข้องด้วย
         คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีความสนใจจะสร้างความร่วมมือกับสถาบันในประเทศฝรั่งเศส
คือ  การแลกเปลี่ยนอาจารย์  นักศึกษา  ด้านการเรียนการสอนและการวิจัย  สาขา  Polymer  Science,  Polymer  
Technology,  Rubber  Technology,  Industrial  Chemistry,  Organic  Synthesis,  Physical  Chemistry  และ  
Polymer  Chemistry  เป็นต้น
         2.  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มีความร่วมมือกับสถาบันในประเทศฝรั่งเศสดังนี้
                   2.1  Bureau  de  Cooperation  Linguistique  et  Educative  (BCLE)  เป็นหน่วยงาน
ที่ขึ้นกับสำนักทูตวัฒนธรรม  (Services  Culturels)  สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย  ซึ่งจัดสรรทุนฝึก
อบรมดูงานให้แก่บุคลากรในแผนกวิชาภาษาฝรั่งเศส  โดยผ่านกรมวิเทศสหการ  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2524 – 2541  
(1981 – 1998)  และสนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดกิจกรรมของนักศึกษาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2537 –
2542  (1994 – 1999)
         3.  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  มีความร่วมมือกับสถาบันในประเทศฝรั่งเศสดังนี้
                   3.1  Office  of  Cooperation  of  Dinformation  Museographiques  
(OCIM)  ในสาขา  Museography  เมื่อปี  พ.ศ. 2541  (1998)
                   3.2  Ecole  Francaise  Extreme – Orient  (Kaula  Lumpur)  ในสาขา  Archeology  
เมื่อปี  พ.ศ. 2540 – 2544  (1997 – 2001)
         นอกจากนี้มีความร่วมมือในการดำเนินโครงการพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเฉลิมพระเกียรติ  (Musee  de  
Jubilee  Royal)  ซึ่งปัจจุบันได้ระงับการดำเนินโครงการเพราะขาดงบประมาณในการสนับสนุน
         สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  มีความสนใจจะสร้างความร่วมมือกับสถาบันในประเทศ
ฝรั่งเศสคือ  การแลกเปลี่ยนนักวิจัยในสาขา  Museography  การซ่อมและอนุรักษ์โบราณวัตถุ  โบราณคดี  และ
ประวัติศาสตร์ศิลปะ  และการจัดกิจกรรมเพื่องานพิพิธภัณฑ์ / Education  Service
โครงการ  Grand  Sud  
         โครงการ  Grand  Sud  เป็นโครงการวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ภาคใต้ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และศูนย์วิจัยแห่งชาติ  ประเทศฝรั่งเศส  (Centre  National  de  la  
Recherche  Scientifique – CNRS)  ซึ่งได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือเมื่อปี  พ.ศ. 2535  โดยคณะทำงาน
ในโครงการ  Grand  Sud  ได้ทำการวิจัยค้นคว้าเชิงสหวิทยาการครอบคลุมสาขาวิชาต่าง  ๆ  ได้แก่  ชาติพันธุ์
วิทยา  สถาปัตยกรรม  พิพิธภัณฑ์วิทยา  โบราณคดี  เกษตรกรรม  พร้อมกับได้จัดทำหนังสือ  วิดีโอเทป  
รวบรวมผลงานสาขาต่าง  ๆ  เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ  ตลอดจนการก่อสร้างอาคารศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์  
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเฉลิมพระเกียรติ
โครงการพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเฉลิมพระเกียรติ
         เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลฝรั่งเศสและไทย  ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความร่วมมือ  
(Memorandum  of  Understanding – MOU)  เมื่อวันที่  29  พฤษภาคม  2540  จากนั้นมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์  ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น  2  ชุดคือ  กรรมการกำกับดูแลนโยบายและคณะกรรมการ
ดำเนินการ
         สถานทูตฝรั่งเศสได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
ภาคใต้  ณ  วิทยาเขตปัตตานี  โดยรัฐบาลฝรั่งเศสสนับสนุนค่าใช้จ่ายและให้ทุนฝึกอบรมและดูงานด้านพิพิธภัณฑ์  
ณ  ประเทศฝรั่งเศส  แก่บุคลากรของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  จำนวน  1  ทุน
         ในปี  พ.ศ. 2541  มหาวิทยาลัยเสนอขอรับงบประมาณเพื่อจัดสร้างพิพิธภัณฑ์  แต่ไม่ได้รับงบประมาณ
ทั้งจากงบประมาณแผ่นดินและจากรัฐบาลฝรั่งเศส  คณะกรรมการจึงได้ประชุมเพื่อหาแหล่งเงินสนับสนุนและ
ได้ตั้งงบประมาณอีกในปี  พ.ศ. 2542  และ  2543  แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน  จากนั้นในปี  2543  ทางรัฐบาล
ฝรั่งเศสจึงขอระงับโครงการไปก่อนเนื่องจากไม่มีแหล่งเงินสนับสนุนในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว

                                                 *************************************

โดย : * [ วันที่ ]