: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 03 ประจำเดือน 03 2546
หัวข้อข่าว : การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นกับการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย
รายละเอียด :
         การมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล  (อบต.)  เป็นกิจกรรมทาง

การเมืองที่มีความสำคัญยิ่ง  เพราะแม้ว่า  อบต.  จะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับเล็กที่สุดในบรรดาองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้ง  

5  รูปแบบ  อันได้แก่  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  (อบจ.)  เทศบาล  (เทศบาลตำบล  เทศบาลเมือง  เทศบาลนคร)  กรุงเทพ

มหานคร  (กทม.)  และเมืองพัทยา  (2  องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ)  แต่  อบต.  ถือว่าเป็นระดับรากหญ้าหรือฐานราก

ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดจึงมีความสำคัญมาก  ฉะนั้นการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน  อบต.  จึงจำเป็น

อย่างยิ่งเพื่อให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง  เพราะ  อบต.  เกี่ยวข้องกับวิถีในการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยตรง  นอกจากนี้  

อบต.  ยังเป็นเสมือนสถาบันฝึกสอนให้เกิดการเรียนรู้  เข้าใจ  และตระหนักถึงคุณค่าและบทบาทของประชาชนในระบอบประชา

ธิปไตย  สอดคล้องกับหลักการที่ว่า  “เป็นการปกครองของประชาชน  โดยประชาชน  และเพื่อประชาชน”

         การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน  อบต.  ยังเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ  อบต.  

นั้น  ๆ  ด้วย  ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาชนบทแบบพึ่งตนเอง

         ยิ่งไปกว่านั้น  การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน  อบต.  เป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนใน

ท้องถิ่นอย่างแท้จริง  เพราะแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิศาสตร์  ภูมิประเทศ  ทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งการ

ประกอบอาชีพของประชาชนแต่ละท้องถิ่น  ฉะนั้นประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้นที่ย่อมรู้ปัญหาและความต้องการท้องถิ่นของตนเอง

ดีกว่าบุคคลอื่น  จึงสามารถเสนอแนะ  แก้ไขปัญหาท้องถิ่นนั้น  ๆ  ได้ถูกต้อง  แท้จริง  (เกาถูกที่คัน)  และการกระจายอำนาจให้

ท้องถิ่นปกครองตนเอง  ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล  เพื่อให้รัฐบาลได้บริหารประเทศในเรื่องสำคัญ  ๆ  โดยภาพรวม

อีกด้วย

         ดังนั้น  การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่น  จะส่งผลให้ท้องถิ่นพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนอง

ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง  อันจะนำไปสู่การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของชาติ

         อย่างไรก็ตาม  ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของ

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  จึงขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด  

สนใจติดตาม  ควบคุม  ตรวจสอบ  หรือเสนอแนะการบริหารงานของท้องถิ่น  และการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ

ผู้บริหารท้องถิ่นหรือไม่  รวมทั้งการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น  ควบคุมการใช้

งบประมาณ  และการร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ส่อพฤติกรรมไปในทางทุจริตประพฤติ

มิชอบ

         นักปราชญ์รัฐศาสตร์ได้เคยกล่าวไว้ว่า  “ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”



                                                                                   **********************************



โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-06-10 15:05:15 ]