: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2546
หัวข้อข่าว : วันตรุษจีน : ชาวจีนภาคใต้
รายละเอียด :
         ชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในภาคใต้  มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนวิถีคิดและวิถีการดำรงชีวิตของคน

ในแต่ละชุมชนทั้งด้านภูมิปัญญา  การผลิต  การบริโภค  และการจัดการด้านต่าง  ๆ  อันส่งผลต่อวิถีประชาและพลังชุมชน  ก่อให้

เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสัมพันธ์กับความหลากหลายทางชีวภาพของภาคใต้

         ชาวจีนจะอาศัยอยู่ทุกจังหวัดของภาคใต้และเป็นประชากรอันดับ  2  รองจากชาวบ้านพื้นถิ่น  ประชากรส่วนใหญ่จะมีเชื้อ

สายจีน  ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องของชาวจีน  จึงมีความสำคัญและเป็นประเพณีที่สำคัญของชาติประเพณีหลักไปแล้ว

         ตรุษจีนหรือเทศกาลขึ้นปีใหม่นั้นมีงานที่สำคัญอยู่  3  วันคือ  ตั้งแต่วันที่  29 , 30  ของเดือน  12  ของจีนถึงวันที่  1  เดือน

อ้าย  ซึ่งจะตกอยู่ระหว่างเดือนยี่ไปจนถึงเดือนสามของไทย  และในปีนี้วันปีใหม่จะตรงกับวันที่  1  กุมภาพันธ์  ตามปีใหม่สากล

         ทั้งสามวันเป็นวันแห่งพิธีต้อนรับปีใหม่  วันแรกคือวันที่  29  เรียกว่าวันจ่ายของ  วันที่สองจะเป็นวันไหว้เจ้า  ซึ่งไหว้ครั้ง

ที่หนึ่งเป็นการไหว้เจ้าที่  ครั้งที่สองจะเป็นวันที่ไหว้บรรพบุรุษคือพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว  แต่ถ้าพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่  จะไหว้ปู่  ย่า  

ตา  ยาย  ที่ตายไปแทน  ไหว้ครั้งที่สามคือไหว้บรรพบุรุษที่ห่างไกลออกไปจากครอบครัว  ซึ่งจะรวมถึงญาติที่อยู่ในตระกูล

เดียวกัน

         การไหว้ทั้งสามอย่างนี้จะไหว้กันคนละเวลา  โดยเริ่มไหว้เจ้าในเวลาเช้ามืด  ไหว้บรรพบุรุษใกล้ชิดในเวลาสาย  ตกบ่ายก็ไหว้

บรรพบุรุษที่เป็นพวกญาติ

         ส่วนวันที่สามคือวันปีใหม่  จะเป็นวันถือกัน  ในวันนั้นจะไม่มีการทำงานใด  ๆ  แต่จะออกไปเยี่ยมเยียนญาติมิตร  ทำแต่สิ่งดี

งาม  ใส่เสื้อผ้าใหม่  แต่งตัวฉูดฉาด  ไม่พูดจาเป็นอัปมงคล  ไม่จับไม้กวาด  ไม่ทำสิ่งของแตก  ฯลฯ

         เทศกาลปีใหม่ในประเทศจีนนั้น  ผู้ใหญ่ชาวจีนท่านหนึ่งเล่าว่าก่อนจะถึงวันปีใหม่ราว  1  อาทิตย์  เขาจะทำพิธีส่งเจ้าครัว

ไปสวรรค์  เพื่อไปรายงานความประพฤติของคนในบ้านและเมื่อครบ  7  วันคือในวันปีใหม่ก็จะทำพิธีรับเจ้ากลับเข้าสู่บ้าน  ดังนั้น

ในคืนส่งท้ายปีเก่าสมาชิกในครอบครัวจึงต่างเฝ้าคอยต้อนรับเจ้าครัวกลับ  ภายในบ้านที่ถูกปิดประตูหน้าบ้านไว้ด้วยกระดาษสีแดง  

ซึ่งเขียนคำอวยพรไว้ด้วย  ครั้นถึงเวลาตี  4  ตี  5  ของวันใหม่  ประตูก็จะถูกเปิด  กระดาษแดงที่ปิดไว้จะฉีกขาดออก  เป็นเครื่องหมาย

แห่งการต้อนรับให้ปีใหม่เข้ามา  ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวจะเป็นผู้ทำพิธีต้อนรับปีใหม่โดยจุดธูปเทียนขึ้น  เพื่อรับเจ้าครัวที่กลับ

มาจากสวรรค์และจุดประทัดขว้างออกไปจากบ้าน  และตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปบรรยากาศที่สงัดเงียบก็จะมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันที

         ในการส่งเจ้าครัวขึ้นสวรรค์  จะต้องเตรียมอาหารสำหรับเซ่นเจ้าด้วยอาหารรสหวานและเหนียว  เพื่อเป็นเคล็ดว่าเจ้าจะได้

รายงานต่อเง็กเซียนฮ่องเต้แต่เรื่องที่ดีและด้วยถ้อยคำที่ไพเราะหวานหูเง็กเซียน  อีกทั้งด้วยความระมัดระวัง  ซึ่งความเหนียวของ

ขนมนั้นจะช่วยมิให้เจ้าพูดมาก  ดังนั้นขนมเข่งจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการไหว้เจ้าเทศกาลตรุษจีนนั้น  เขาทำเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่

ครอบครัวในวันเวลาที่คืบคลานเข้ามาในปีใหม่นี้  ดังนั้นเรื่องอาหารการกินก็จะจัดขึ้นอย่างฟุ่มเฟือยหรูหรา  พิเศษกว่าอาหารมื้อ

ปกติด้วยเช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ไหว้เจ้าหรือบรรพบุรุษและอาหารที่กินเลี้ยงกันในครอบครัวหรือให้ญาติมิตร  ล้วนแล้วแต่

มีสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลทั้งสิ้น  อย่างอาหารไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ  คนจีนบางท้องถิ่นจะไหว้ด้วยอาหาร  3  ชนิด  เรียกว่าตราแซ  

เช่น  หมูติดมัน  เป็ด  ไข่เป็ด  ไก่  หรือหมู  ไข่  ไก่  เป็ด  แต่ถ้าจะเซ่นชุดใหญ่ก็ได้  เรียกว่าโหง่วแซ  (ชุดใหญ่  5  อย่าง)  จะเป็น

ปลาหมึกแห้งและห่านต้มเข้ามาอีกสองสิ่ง

         ส่วนอาหารที่เซ่นบรรพบุรุษนั้นจะปรุงเป็นอาหารคาว – หวาน  และมีผลไม้ที่จะสรรหามาเป็นพิเศษ  ซึ่งทั้งนี้ส่วนหนึ่งจะ

แบ่งเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวและญาติมิตรด้วย

         สัญลักษณ์  :  อาหารมงคล

         ต้มหน่อไม้จีน                    เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ

         ผัดปลิงทะเล                    เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีฐานะดี

         บะหมี่ผัดกับเห็ดหอม          เป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนยาวและสุขภาพดี

         ผัดผัก  7  อย่าง          เป็นสัญลักษณ์แห่งสิ่งมงคลทั้ง  7  คือ

         ต้นกระเทียม  (สึ่งเกี๊ยะ)          แปลว่า  นับ ,  การทวีคูณ ,  เพิ่มพูน  หมายถึง  นับเงิน  นับทอง  นับบุตร

         เก่าฮะ                    กินแล้วคนจะได้ชอบ

         ปวยเล้ง                    เป็นสัญลักษณ์ของมังกรบิน  มีความหมายถึงความสดชื่น  กระฉับกระเฉง  ว่องไว

         ขึ้นฉ่าย                    ว่องไว  พลานามัยสมบูรณ์

         ไช้เท้า                    มีโชคลาภ

         ตั้วฉ่าย                    ความยิ่งใหญ่

         คะน้าลุ้ย                    ความกลมเกลียว  รวมเข้ากันเป็นจุดเดียวกัน

         การกินอาหารของชาวจีนในวันตรุษจีน  ส่วนใหญ่อาหารที่กินจะเป็นอาหารที่มีความหมายความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ดี  ๆ  ใน

ชีวิตและทรัพย์สิน  และอาหารส่วนใหญ่จะมีเนื้อสัตว์ประกอบอยู่เกือบทุกชนิด  ฉะนั้นเมื่อวันตรุษจีนผ่านไปแล้ว  ชาวจีนจะมีวิธี

รักษาสุขภาพที่เหมาะสมและมีความแก้เลี่ยนหลังจากได้รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์มาค่อนข้างมากด้วยวิธีที่

แยบยลนั่นคือ  พอถึงวันที่  7  นับจากวันชิวอิด  (วันปีใหม่)  เขาจะรับประทานอาหารผักเป็นหลัก  เพื่อช่วยย่อยระบบอาหาร

ที่หมักหมมภายในร่างกายออก  ผักที่ใช้จะเป็นผักชนิดใดก็ได้รวม  7  อย่าง  แต่ต้องมีชื่อเป็นมงคล  ผัก  7  อย่างจะออกรสเค็ม

ปะแล่ม  ๆ  เพียงรสเดียว  การจะรวมตัวให้เป็นหนึ่งเดียว  ก็จะต้องมีคู่แบบหยินและหยาง  ดังนั้นของเค็มนี้จึงต้องแถมด้วย

ของหวานจึงจะสมบูรณ์แบบ  ของหวานที่ว่าคือขนมเข่ง  ที่กินยังไม่หมดจะต้องเอาไปตากแดด  ไปเก็บมาหั่นเป็นชิ้นบาง  ๆ  

แล้วเอาไปชุบแป้งหรือชุบไข่ก็ได้  พอชุบแล้วเอาไปทอดเรียงใส่จาน  นับว่าผัดผักมงคลทั้ง  7  อย่างจะได้ความอร่อยไปอีกแบบ  

กินไปคุยไปอาหารก็หมดไปไม่รู้ตัว  ครั้นแล้วก็จิบชาร้อน  ๆ  อีกสักถ้วย  ถือเป็นสิริมงคลอีกครั้ง  พิธีฉลองตรุษจีนก็สิ้นสุด  เมื่อ

รับความเป็นสวัสดีมงคลเข้ามาแล้ว  ก็เริ่มทำงานกันต่อไปด้วยความตั้งใจจริง



                                                                                      *******************************



โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-05-10 12:33:40 ]