: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 12 ประจำเดือน 12 2545
หัวข้อข่าว : ระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา : เป็นแนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
รายละเอียด :
         จากความพยายามของมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ  ร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา

มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน  ได้มีกรมวิชาการตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและร่วมมือกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นตามลำดับ  และสุดท้ายนายกรัฐมนตรีก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย  โดยเฉพาะวันที่  25  ธันวาคม  2545

         ความเป็นธรรม  ความโปร่งใส  และคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยทุกแห่งพยายามดำรงไว้และสังคมก็ให้การ

ยอมรับสูงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

         จากการติดตามเรื่องนี้ทั้งจากสื่อมวลชนและการเข้าร่วมประชุม  ทปอ. ในบางครั้งเห็นว่ายังมีประเด็นสำคัญอีกบางประเด็น  

(ที่เป็นหลักการพื้นฐาน)  ควรนำเสนอเพื่อความเข้าใจร่วมกันได้แก่

         1.  ข้อกำหนดที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหรือสอบเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาตามข้อตกลงในที่ประชุม  ทปอ.  (12  ธันวาคม  

2545)  บางประเด็นยังสับสน  ที่สำคัญคือ  SAT  กล่าวคือเราจะไม่นำ  SAT  มาใช้โดยตรง  แต่ละพัฒนาแนวทางเป็นของเราเองโดย

ใช้ชื่อว่าศักยภาพในการเรียนระดับอุดมศึกษา  (ศรอ.)  ซึ่งจะไม่วัดด้านเนื้อหาวิชา  แต่จะวัดศักยภาพที่ตกผลึกจากการเรียนในระดับ

มัธยมศึกษาที่ผ่านมา  ทั้งนี้เพราะว่าการใช้  SAT  ในเมืองไทยมีข้อจำกัดหลายประการ

         2.  National  Test  เป็นส่วนหนึ่งของการวัด  (ประกอบการประเมิน)  ด้านเนื้อหาวัดจากการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ที่กระทรวงศึกษาธิการ  (กรมวิชาการ)  จะดำเนินการสอบรวมซึ่งก็คล้าย  ๆ  กับระบบเดิมที่ทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการสอบกลาง  

(ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา)  การมีข้อสอบกลางลักษณะนี้ก็เพื่อความยุติธรรมระดับหนึ่ง

         3.  ในการพิจารณาผู้สมัครเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา  ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้านตามวัตถุประสงค์หลักของการศึกษา

หรือปรัชญาการศึกษานั่นคือ  ต้องพิจารณาในมิติของความเป็นคนเก่ง  (วิชาการ)  และความเป็นคนดี  มีความสุข  (จิตใจ / อารมณ์  สังคม  

ความประพฤติ)  หรือลักษณะอันพึงประสงค์  ทั้งนี้เพราะการศึกษามุ่งพัฒนาคนให้เจริญงอกงามรอบด้าน  ไม่ควรเน้นหรือให้ความสำคัญ

เฉพาะวิชาการหรือความเก่งอย่างเดียวแล้วละเลยเรื่องความดี  ในทางการศึกษามีความเชื่อว่าความงาม  (สุนทรีย์)  และความสุขเป็นพื้นฐาน

สำคัญของความดี  (คุณธรรม  จริยธรรม)

         ในประเด็นที่กล่าวมานี้มีหลักการพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้อง  3  ประการ  กล่าวคือ

                   3.1  ที่ผ่านมาการจัดการศึกษาทุกระดับค่อนข้างขาดความเป็นรูปธรรมในการพัฒนาคนด้านความดีและความสุขของ

ผู้เรียนที่เป็นระบบเชื่อมโยงกันในแต่ละระดับการศึกษา

                   3.2  การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะเป็นตัวกำหนดจุดเน้นของการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา  (และประถม

ศึกษา)  โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ในการสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา  ถ้ามหาวิทยาลัยเน้นการสอบเข้าเฉพาะวิชาการ  (ความเก่ง)  

โรงเรียนก็จะให้ความสำคัญเฉพาะด้านวิชาการและอาจจะละเลยมิติของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นคนดีได้ง่าย  จะก่อให้เกิดผลกระทบ

ต่าง  ๆ  ต่อสังคมตามมาโดยไม่รู้ตัว  เช่น  ประชากรขาดระเบียบวินัย  (ไม่เคารพกติกา)  เอาแต่ใจตัวเอง  เป็นต้น

                   3.3  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  มาตรา  26  กำหนดว่า  “ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน

โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการ

เรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา  ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษา

ต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย”  นั่นคือการกำหนดกรอบ / เกณฑ์การพิจารณารับนิสิต

นักศึกษาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาที่  ทปอ.  ได้กำหนดซึ่งประกอบด้วย  1)  GPA  2)  PR  3)  ข้อสอบกลางระดับชาติรวมกับวิชาเฉพาะ  

4)  ศักยภาพในการเรียนระดับอุดมศึกษา  และ  5)  คุณลักษณะที่พึงประสงค์  นั้นย่อมเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง

ชาติ  พ.ศ. 2542

         อนึ่งเรื่องความงาม  ความดี  คุณธรรม  จริยธรรม  หรือที่เรียกรวม  ๆ  ว่า  คุณลักษณะที่พึงประสงค์  ที่จะสะท้อนจากสมุดพก

แห่งความดี  ซึ่งเป็นมิติที่สำคัญของการศึกษานั้น  ในกระบวนการศึกษาหรือพัฒนาตลอดจนการวัดและการประเมินผลจะแตกต่างไป

จากกระบวนการและวิธีการทางวิชาการ  ที่ประชุม  ทปอ. มีมติที่จะทำงานเรื่องนี้กันต่อไป  (รวมทั้งเรื่องศักยภาพในการเรียนระดับอุดม

ศึกษา)

         4.  มหาวิทยาลัยและทบวงมหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาของการสอบเทียบ  (ม.6)  ได้แล้ว  แต่ขณะนี้มีโจทย์ใหม่เกี่ยวกับ

การกวดวิชา  โจทย์ข้อนี้ต้องใช้เวลาในการหาคำตอบอย่างจริงจังร่วมกันกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปโดยการวิจัย  เราไม่ควรด่วน

สรุปว่าการกวดวิชามาจากสาเหตุของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพียงสาเหตุเดียว  การเลิกระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะทำให้นักเรียน

เลิกการกวดวิชาและนักเรียนจะไม่เครียด  เพราะการสอบมากมายนั้นก็น่ารับฟังแต่ไม่ควรด่วนสรุป  เพราะมีแง่คิดอีกหลายประเด็นที่ต้อง

ได้รับการศึกษาในเชิงลึก

         ในต่างประเทศบางประเทศเขาใช้ผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นเกณฑ์หลักได้  เนื่องจากคุณภาพของโรงเรียนมัธยมทั้งหมดอยู่ใน

ระดับมาตรฐานเดียวกัน  สำหรับเมืองไทยยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้  การปฏิรูปการศึกษาต้องหันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจังและเร่งด่วนด้วย

         อีกประการหนึ่ง  แต่ละมหาวิทยาลัยมีที่นั่งจำกัด  ระบบการคัดคนเข้าเรียนตามจำนวนที่กำหนดยังจำเป็นอยู่  แต่เบ็ดเสร็จสุดท้าย  

นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่  6  ทุกคนแต่ละปีก็สามารถมีที่เรียน  (ในสถาบันอุดมศึกษาทุกลักษณะ)



                                                                                        ********************************

โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-04-10 19:13:31 ]