: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 06 ประจำเดือน 06 2545
หัวข้อข่าว : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดมแนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายละเอียด :
                    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดโครงการ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  โดยมี  

ผศ.ดร.สนธยา  อนรรฆศิริ  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นประธานในพิธีเปิด  เมื่อวันที่  23  พฤษภาคม  

ที่ผ่านมา  โดยมีปาฐกถาพิเศษเรื่อง

การวิจัยทางสังคมศาสตร์  :  สถานภาพในปัจจุบันและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยศาสตราจารย์  

ดร.ผาสุก  พงษ์ไพจิตร  คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ  รศ.ดวงมน  จิตร์จำนงค์  คณะมนุษย

ศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         ผศ.ดร.สนธยา  อนรรฆศิริ  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่าการพัฒนางานวิจัยเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่ง

ประกาศตัวตนอย่างเปิดเผยว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการก้าวไปสู่

มหาวิทยาลัยนอกระบบตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ในปี  2546  กล่าวคือมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้

แต่ละคณะและหน่วยงานสร้างระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยกำหนดดัชนีชี้วัดการประกันคุณภาพ

ในทุกด้าน  รวมทั้งการกำหนดนโยบายแผนกลยุทธ์  แผนงานระยะสั้นและระยะยาวของมหาวิทยาลัย

         ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ  การพัฒนาการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในความหมายที่แท้จริง

อันประกอบขึ้นมาด้วยปรัชญา  ค่านิยม   และภูมิปัญญา  ซึ่งมีลักษณะที่เป็นนามธรรมและซับซ้อนนั้น  จะสอดคล้อง

กับมาตรฐานและกระบวนการประกันคุณภาพทางการศึกษา  หรือการกำหนดดัชนีชี้วัดการประกันคุณภาพ  รวมทั้งการ

กำหนดแผนกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้น  การที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่  “มีการวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อสร้าง

องค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์”

         แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือสิ่งที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็น  “องค์ประกอบคุณภาพ”  และ  “กรอบแนวคิดการ

ประกันคุณภาพ”  ได้กลายเป็นโครงสร้างและกลไกทางสถาบันที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็นกระบวนการกทำงาน  เป็น

เครื่องมือในการออกมาตรการ  เป้าหมาย  และตัวชี้วัดเพื่อตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการวิจัย  แท้ที่จริงสิ่งเหล่านี้เป็น

การสร้างภาวะสถาบันในรูปแบบใหม่ซึ่งต้องมีฐานความคิดและความรู้ที่แน่นอนชุดหนึ่งมารองรับ  แต่ในการสร้างสถาบัน

วิชาการในแบบที่ยั่งยืนนั้น  ฐานความคิดและความรู้ที่มารองรับการเปลี่ยนแปลงจะต้องสะท้อนความเป็นไปของความเป็นจริง  

เพราะการเป็นสถาบันทางวิชาการซึ่งเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้และภูมิปัญญาของสังคม

         นี่เป็นเหตุผลและที่มาของการที่ประชาคมวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ต้องระดม

ความคิดกัน  เพื่อกำหนดแนวคิดและวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนางานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  

สิ่งที่คาดหวังในการประชุมครั้งนี้คือการเสนอ  หรือระดมแนวคิดในแง่มุมที่แตกต่างหลากหลายของนักวิชาการทั้งทาง

ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สรุปประสบการณ์  ข้อดีข้ออ่อนในการวิจัยของคณะในช่วงที่ผ่านมา  ประเมินค่า

ขององค์ประกอบคุณภาพและตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการวิจัยของคณะ  และกำหนดแนวทางปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต



                                                                                 ********************************



โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-03-25 14:56:48 ]