: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2545
หัวข้อข่าว : ช่วยกันมองอนาคตการวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายละเอียด :
                     การพัฒนางานวิจัย  เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

ซึ่งประกาศตัวตนอย่างเปิดเผยว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้และ

นวัตกรรมการก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยนอกระบบ  ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ในปี  

2546  ยิ่งตอกย้ำทิศทางที่เด่นชัดของสถานภาพในด้านการวิจัย  รวมทั้งการบริการทางวิชาการ

         ท่ามกลางกระบวนการนี้  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้เสนอมาตรการใหม่ต่าง

แบบออกมาให้คณะและสถาบันที่อยู่ภายใต้เงาของมหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตาม  เพื่อเตรียมพร้อม

เข้าสู่ระบบใหม่  มาตรการดังกล่าวคือการสร้างระบบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยกำหนด

ดัชนีชี้วัดการประกันคุณภาพในทุกด้าน  นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้กำหนดนโยบาย  แผนกลยุทธ์  

แผนงานระยะสั้นและระยะยาวของมหาวิทยาลัย  เพื่อประกันความก้าวหน้าของระบบเอาไว้

         ประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือ  การพัฒนาการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  

ในความหมายที่แท้จริงอันประกอบขึ้นมาด้วยปรัชญา  ค่านิยม  และภูมิปัญญา  ซึ่งมีลักษณะที่

นามธรรมและซับซ้อนนั้นจะสอดคล้องกับมาตรการและกระบวนการประกันคุณภาพทางการศึกษา  

รวมทั้งแผนกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นหรือไม่  นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ว่าแนวคิดในการวางแผนและ

การพัฒนามหาวิทยาลัยที่พูดถึงกันกับแนวคิดเรื่องการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการในศาสตร์ที่

เกี่ยวกับมนุษย์และสังคมนั้นเดินไปด้วยกันหรือไม่  การที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่  

"มีการวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์"  ตามที่มหาวิทยาลัย

คิดนั้นมีความหมาย  เนื้อหาสาระและกระบวนการที่เชื่อมโยงกันได้กับองค์ความรู้ทางวิชาการมนุษย

ศาสตร์และสังคมศาสตร์หรือไม่

         ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ  สิ่งที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็นองค์ประกอบคุณภาพและ

กรอบแนวคิดการประกันคุณภาพ  ได้กลายมาเป็นการจัดโครงสร้างและกลไกทางสถาบันใหม่ของ

มหาวิทยาลัย  มาตรการ  เป้าหมาย  และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาและการวิจัยนั้น  เป็นภาวะสถาบัน

ในรูปแบบใหม่ซึ่งต้องมีฐานความคิดและองค์ความรู้ที่แน่นอนชุดหนึ่งมารองรับ  แต่ทว่าในการสร้าง

สถาบันวิชาการที่มีคุณภาพแบบยั่งยืนนั้น  ฐานความคิดและองค์ความรู้ที่มารองรับจะต้องสะท้อน

ความเป็นไปของโลกและความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์และสังคมที่หลากหลาย

         ด้วยเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการเป็นสถาบันทางวิชาการซึ่งเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้

และภูมิปัญญาของสังคมนั้น  ไม่ใช่จะได้มาจากการออกนอกระบบราชการและเป็นการสร้างเทคนิค

ใหม่  โดยใช้ฐานความคิดที่มองโลกแบบเป็นเสี้ยวเป็นส่วนและตัดแยกออกจากกัน  อีกทั้งยังไม่ได้

เกิดจากการกำหนดองค์ประกอบและตัวชี้วัด  ซึ่งได้มาจากความรู้ของผู้ชำนาญการด้านการวางแผน

และประกันคุณภาพแต่เพียงอย่างเดียว  แต่จะต้องเกิดจากการระดมสติปัญญาและสังเคราะห์ความรู้

ที่หลากหลายต้องเกิดจากการเรียนรู้และปรับตัวร่วมกันของคนในประชาคมวิชาการเองในองค์กร

แห่งการเรียนรู้นั้น  มนุษย์ต้องการการพัฒนาที่เกิดจากเหตุผลโดยเนื้อหาสาระ  มิใช่การใช้เหตุผล

ทางวิชาการที่เป็นเพียงแค่เปลือกนอก  นี่เป็นเหตุผลและที่มาของการที่ประชาคมวิชาการคณะมนุษย

ศาสตร์และสังคมศาสตร์  จะต้องมาช่วยกันระดมความคิด  มาร่วมสร้างเวทีสาธารณะในคณะเพื่อ

กำหนดแนวคิดและวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของ

เราเอง  ประชาคมแห่งนี้ต้องช่วยกันเสนอแนวคิดจากแง่มุมที่หลากหลายช่วยกันพูดถึงปรัชญา

แนวคิดพื้นฐานของวิชาการและการวิจัย  สรุปประสบการณ์ข้อดีข้ออ่อนในการพัฒนางานวิชาการ

ของคณะ  ประเมินค่าขององค์ประกอบและตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการวิจัยของคณะ  เพื่อ

กำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาการวิจัยของเราต่อไป



                                                      **************************

โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2004-08-26 16:25:41 ]