: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 05 ประจำเดือน 06 2539
หัวข้อข่าว : นักวิชาการจาก ม.อ. และภาคเอกชน รายงานผลหลังการสัมมนาชี้ตลาดไก่เนื้อสดใส
รายละเอียด :
ฉบับที่  057/2539                                                                      5  มิถุนายน  2539

นักวิชาการจาก  ม.อ. และภาคเอกชน  รายงานผลหลังการสัมมนาชี้ตลาดไก่เนื้อสดใส

         นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และบริษัท  เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์  จำกัด  (มหาชน)  พบว่า

แนวโน้มการตลาดไก่เนื้อทั้งในและต่างประเทศสดใส  ควรส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นแบบธุรกิจ

         สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และบริษัท  เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์  

จำกัด  (มหาชน)  ร่วมจัดอบรมการเลี้ยงไก่เนื้อเชิงธุรกิจ  เมื่อวันที่  21  และ  23  เมษายน  ที่ผ่านมา  ได้รับความสำเร็จจากการฝึกอบรมดังกล่าว  

โดยที่เกษตรกรและผู้สนใจสามารถนำหลักวิชาการที่ถูกต้องไปพัฒนาอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อเชิงธุรกิจ

         นายเจสดา  จันทร์เสรีรัตน์  ผู้จัดการสำนักการตลาด  บริษัท  เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์  จำกัด  (มหาชน)  ได้เปิดเผยหลังจาก

การจัดอบรมการเลี้ยงไก่เนื้อเชิงธุรกิจว่า  ขณะนี้ธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อทั่วประเทศมีประมาณ  805  ล้านตัว  คิดเป็นน้ำหนักประมาณ  8  แสนตัน  

ในจำนวนนี้ได้ส่งออกต่างประเทศปีละ  1.6  แสนตัน  คิดเป็นมูลค่า  9,000  ล้านบาท  อย่างไรก็ตามในระหว่างการเลี้ยงพบว่าจะมีความเสียหาย

ประมาณ  10 %  นอกจากนี้แนวโน้มการบริโภคไก่ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย  ๆ  โดยเฉลี่ย  10  กิโลกรัมต่อคนต่อปี

ส่วนในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรป  หลังจากเกิดวิกฤติการณ์โรควัวบ้าในประเทศอังกฤษแล้ว  ทำให้ประชาชนนิยมที่จะบริโภค

โปรตีนเนื้อขาว  ซึ่งได้จากไก่มากกว่าโปรตีนเนื้อแดงที่ได้จากวัวหรือสุกรมากขึ้น  เนื่องจากมีความรู้สึกว่าโปรตีนจากเนื้อแดงมีความเสี่ยงต่อการ

บริโภคสูง  จึงทำให้แนวโน้มการส่งออกไก่เนื้อมีลู่ทางที่สดใส

         รศ. ครองชัย  หัตถา  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวถึง

กรณีความเสียหายระหว่างการเลี้ยงไก่เนื้อซึ่งมีประมาณ  10  %  ต่อปี  คิดเป็นมูลค่านับร้อยล้านบาทว่า  สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  

และบริษัท  เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์  จำกัด  (มหาชน)  ได้เน้นให้เกษตรกรสนใจวิชาการสมัยใหม่  เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงและการจัด

การฟาร์ม  เพื่อเพิ่มผลผลิตและควบคุมโรคระบาด  โดยเริ่มจากการสร้างโรงเรือน  การฟักลูกไก่  การให้อาหารและน้ำ  และการฉีดวัคซีน  ซึ่ง

สิ่งเหล่านี้หากปฏิบัติตามหลักวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่วิทยากรถ่ายทอดแล้ว  การเลี้ยงไก่คงจะเกิดความเสียหายต่ำกว่า  10  %  แน่นอน



                                                                                                  ******************

โดย : 203.154.179.38 * [ วันที่ 2001-10-29 09:11:22 ]