: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ ประจำเดือน
หัวข้อข่าว : อาจารย์ ม.อ. ปัตตานี ได้รับรางวัลครูสอนภาษาไทยดีเด่น
รายละเอียด :
ฉบับที่  137/2536                                                            6  ธันวาคม  2536

อาจารย์  ม.อ. ปัตตานี  ได้รับรางวัลครูสอนภาษาไทยดีเด่น

         กระทรวงศึกษาธิการ  คัดเลือก  รศ. สมปราชญ์   อัมมะพันธุ์   ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็นครูสอนภาษาไทยดีเด่นระดับอุดมศึกษา  ประจำปี  2536  ของกระทรวง

ศึกษาธิการ

         รศ. สมปราชญ์   อัมมะพันธุ์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  

ได้เข้ารับรางวัลครูสอนภาษาไทยดีเด่นระดับอุดมศึกษาจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่  14  พฤศจิกายน  2536  ณ  หอสมุด

แห่งชาติ  กรุงเทพมหานคร  โดยได้รับเข็มเชิดชูเกียรติในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  และโล่เกียรติคุณของ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ในโอกาสที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูสอนภาษาไทยดีเด่นระดับอุดมศึกษาของกระทรวง

ศึกษาธิการ  เป็นตัวแทนครูประจำจังหวัดปัตตานี  ประจำปี  2536

         รศ. สมปราชญ์  อัมมะพันธุ์  ครูสอนภาษาไทยดีเด่น  ชี้แจงถึงความเป็นมาของการคัดเลือกครูสอนภาษาไทยดีเด่นว่า  

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นห่วงว่าคนไทยจะใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง  จึงมีพระดำริที่จะหาทาง

สนับสนุน  ส่งเสริมให้มีการใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสม  โดยทรงพิจารณาว่าถ้ามีครูสอนภาษาไทยที่ดี  ก็จะทำให้ผู้เรียนใช้

ภาษาไทยได้ดีไปด้วย  กระทรวงศึกษาธิการ  จึงสนองพระดำริดังกล่าว  จึงได้มีการพิจารณาคัดเลือกครูผู้สอนภาษาไทยดีเด่นขึ้น

เป็นประจำทุกปี  เพื่อให้เป็นแบบอย่างของครูที่ใช้ภาษาไทยได้ดี  สามารถสั่งสอนผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษไทยได้ถูกต้องด้วย  โดย

การพิจารณาครูสอนภาษาไทยดีเด่น  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้แต่ละจังหวัดพิจารณาคัดเลือกจังหวัดละ  3  ระดับคือ  ครู

สอนภาษาไทยดีเด่นระดับประถมศึกษา  ระดับมัธยมศึกษา  และระดับอุดมศึกษา  (สำหรับระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย  วิทยาลัย

อาชีวศึกษา  วิทยาลัยเทคนิค  วิทยาการอาชีพ  วิทยาลัยพลศึกษา  วิทยาลัยครู  และมหาวิทยาลัย)

         ครูสอนภาษาไทยดีเด่นจังหวัดปัตตานี  เปิดเผยว่าการที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นครูสอนภาษาไทยดีเด่น  น่าจะมาจาก

เหตุผลหลายประการ  อาทิ  การที่ได้ทำหน้าที่ครูสอนภาษาไทยในระดับต่าง  ๆ  มาตั้งแต่ปี  2509  จนถึงปัจจุบัน  การมีหน้าที่

พิเศษที่เป็นรองประธานอนุกรรมการข้าราชการครู  (อกค.)  ประจำจังหวัดปัตตานี  2  สมัย  ๆ  ละ  4  ปี  ปัจจุบันเป็นปีที่  6  แล้ว  

โดยได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นประธานประเมินโครงการเผยแพร่ภาษาไทยของศูนย์อำนวยการ

บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศอ.บต.)  ของกระทรวงมหาดไทย  ทั้งยังเคยไปสอนภาษาไทย  ณ  มหาวิทยาลัยฮันกุ๊ก  ประเทศ

เกาหลี  เมื่อปี  2532  และได้เขียนสารคดี  "ที่นี่…เกาหลีใต้"  ใช้เป็นแบบเรียนทางด้านวัฒนธรรมเกาหลีแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  ที่เรียนวิชาภาษาเกาหลีและยังเขียนตำราอื่น  ๆ  อีกหลายเล่ม  เช่น  หลักการพูดและหนังสือกฎเบ็ดเสร็จ  :  กฎหมาย

ฉบับวัดกุสาวดี  อ. ยะหริ่ง  จ. ปัตตานี  ซึ่งคัดจากหนังสือกฎหมายโบราณ  (จารลงในสมุดข่อย)  ที่เป็นวรรณกรรมท้องถิ่น  นอกจากนี้

ยังทำหน้าที่เป็นวิทยาการจัดอบรม  "ศิลปะการพูดในที่ชุมชน"  เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและศิลปะการพูดให้แก่ครู  อาจารย์  ข้าราชการ  

พนักงานรัฐวิสาหกิจ  นักธุรกิจ  และประชาชนผู้สนใจ  มาถึง  18  รุ่น

         รศ. สมปราชญ์   อัมมะพันธุ์  ได้กล่าวฝากว่าความผิดพลาดในการใช้ภาษา  คงไม่ใช่หน้าที่ของครูผู้สอนภาษาไทยแต่

ฝ่ายเดียว  แต่เป็นหน้าที่ของครูทุกคนและผู้ใช้ภาษาไทยทุกคน  จะต้องช่วยกันระมัดระวังการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องทั้งการพูดและ

การเขียน  และกล่าวเสริมว่า  "ถ้าคนไทยไม่ช่วยรักษาภาษาไทยแล้ว  จะให้ใครช่วยรักษาภาษาของเรา"



                                                                                          ***************



โดย : 203.154.177.10 * [ วันที่ 2001-09-17 09:39:16 ]