: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ ประจำเดือน
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ได้รับการว่าจ้างให้ทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี
รายละเอียด :
ฉบับที่  133/2536                                                            30  พฤศจิกายน  2536

ม.อ. ปัตตานี  ได้รับการว่าจ้างให้ทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี

         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้รับการว่าจ้างจากจังหวัดปัตตานี  ให้จัดทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานีในวงเงิน  

1.5  ล้านบาท  ใช้ระยะเวลาจัดทำแผน  4  เดือน  เริ่มตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างกับจังหวัดปัตตานีคือ  วันที่  30  พฤศจิกายน  

2536          

         ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้แถลงแก่สื่อมวลชนเมื่อ

บ่ายวันที่  30  พฤศจิกายน  2536  ณ  ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดปัตตานี  ในโอกาสที่ลงนามในสัญญากับนายพลากร  สุวรรณรัฐ  

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี  ในการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  รับเป็นผู้จัดทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี

ว่า  จังหวัดปัตตานีว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นผู้ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี  ในวงเงิน

จ้าง  1,500,000  บาท  (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)  โดยใช้เวลาในการดำเนินการ  4  เดือนคือ  ตั้งแต่เดือนธันวาคม  2536  ถึง

เดือนมีนาคม  2537  เพื่อศึกษาโอกาสความเป็นไปได้และศักยภาพการลงทุนในสาขาต่าง  ๆ  ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะ

เศรษฐกิจและสังคม  เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่ถาวรนำไปสู่การกระจายรายได้และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  การพัฒนา

คุณภาพสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนการมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับพื้นที่ใกล้เคียง

         ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  เปิดเผยว่าสำหรับการศึกษาและจัดทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี  สำนักวิจัยและพัฒนา  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (วิทยาเขตปัตตานี)  เป็นผู้ดำเนินการ  โดยในระยะแรกจะจัดทำแผนให้จังหวัดพิจารณาสาระสำคัญ

ของการศึกษา  ซึ่งจะเน้นโอกาสและลู่ทางการลงทุนในจังหวัดปัตตานี  รวมถึงการสนับสนุนจากพื้นที่ใกล้เคียง  ซึ่งมีสาระสำคัญ

ของการศึกษา  3  ส่วนใหญ่  ๆ  คือ

         ส่วนที่  1  การประมวลข้อมูลพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด  ซึ่งจะนำมา

ใช้วิเคราะห์เพื่อให้เห็นสภาพโอกาสและข้อจำกัดต่อการลงทุน  ทั้งนี้ข้อมูลบางส่วนอาจจะมีอยู่แล้วตามหน่วยงานต่าง  ๆ  ของ

จังหวัด  และบางส่วนจะต้องจัดหาเพิ่มเติม

         ส่วนที่  2  การวิเคราะห์ศักยภาพ  โอกาส  และข้อจำกัดของการลงทุนในกิจกรรมเศรษฐกิจต่าง  ๆ  ของจังหวัด

ปัตตานี  เช่น  การลงทุนทางอุตสาหกรรม  การบริการ  การท่องเที่ยว  การเกษตร  ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์ในส่วนนี้

เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน

         ส่วนที่  3  คือข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

         สำหรับประเด็นสำคัญในการศึกษาและวางแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี  ประกอบด้วยการศึกษาศักยภาพและจัด

ทำแผนการลงทุนทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐบาล  โดยในภาคเอกชนจะทำการศึกษาทางด้านการประมง  เพื่อหาความเป็นไป

ได้ของการร่วมลงทุนกับประเทศเวียดนาม  กัมพูชา  และกับประเทศมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  ภายใต้กรอบโครงการสามเหลี่ยม

เศรษฐกิจไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย  ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในกิจกรรมต่อเนื่องจากการประมง  ได้แก่  การจัดตั้ง

ตลาดกลางสัตว์น้ำ  ศูนย์สร้างและซ่อมเรือประมง  สนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ

         ทางด้านปศุสัตว์  ศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนกับกลุ่มประเทศมุสลิมและประเทศอื่น  ๆ  ในการเลี้ยงโค

เนื้อและสัตว์เศรษฐกิจอื่น  ๆ  โดยเน้นการกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรรายย่อย  ศึกษาการลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์

และผลิตภัณฑ์จากสัตว์  เพื่อรองรับกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อทางด้านการเกษตร  ศึกษาศักยภาพและความเป็นไปได้ของการพัฒนา

พืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์  การพัฒนาตลาดที่เป็นศูนย์กลางของชนบท  และหาแนวทางสนับสนุนการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก

         สำหรับการศึกษาศักยภาพและจัดทำแผนการลงทุนภาครัฐประกอบด้วย  การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ได้แก่  

การศึกษาสถานภาพและศักยภาพของแรงงานในจังหวัดและหน่วยงานของรัฐในการผลิตแรงงานสู่ตลาด  ศึกษาความเป็นไปได้

ในการจัดตั้งสถาบันฝีมือแรงงานอาเซียน  ความเป็นไปได้ในการพัฒนาฝีมือแรงงานในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  ทาง

ด้านการลงทุนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  และการท่องเที่ยว  ศึกษาศักยภาพของการลงทุนขนาดเล็ก  โดยเน้นการ

อนุรักษ์  การปรับปรุงทรัพยากรชายฝั่ง  การเพาะเลี้ยงชายฝั่งแบบยั่งยืน  และการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน  ศึกษาศักยภาพด้านการ

ท่องเที่ยวและการบริการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรชาติ  ศึกษามาตรการการรักษา

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่เอื้อต่อการลงทุน  และส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับการลงทุน

ภาครัฐ  เช่น  โครงข่ายถนน  การสื่อสาร  และระบบสาธารณูปโภค

         ทั้งนี้ในระหว่างการศึกษาและจัดทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จะจัดให้มีการ

สัมมนาขึ้นระหว่างคณะผู้ศึกษาและองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง  เช่น  สำนักงานจังหวัด  หอการค้า  ธนาคาร  ศูนย์พัฒนา

ภาคใต้  เป็นต้น  โดยคาดว่าจะจัดการสัมมนาขึ้น  2  หรือ  3  ครั้ง  หลังจากนั้นจึงจะส่งรายงานการศึกษาแผนการลงทุนให้กับ

จังหวัดปัตตานีต่อไป

         ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ชี้แจงต่อไปว่าในการ

ศึกษาและจัดทำแผนการลงทุนจังหวัดปัตตานีครั้งนี้  มหาวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นงานที่มีความสำคัญมาก  เพราะนอก

จากแผนลงทุนที่ได้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด  อันจะส่งผลให้ประชาชนในจังหวัดมี

รายได้เพิ่มขึ้นแล้ว  ในการจัดทำแผนดังกล่าวยังเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ใน

ภูมิภาคส่วนนี้ของประเทศคือ  การได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและภาคใต้ของประเทศไทย



                                                                                   *****************









โดย : 203.107.220.6 * [ วันที่ 2001-09-13 15:48:06 ]