: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ ประจำเดือน
หัวข้อข่าว : ความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา รุ่นที่ 2 เน้นการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทะเล
รายละเอียด :
ฉบับที่  116/2536                                                                                          18  ตุลาคม  2536

ความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา  รุ่นที่  2

         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาทั้ง  2  รุ่น  

รุ่นแรกได้ผลผลิตเป็นเงิน  7.7  ล้านบาท  รุ่นที่  2  ได้ผลผลิต  12.2  ล้านบาท

         ตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้ดำเนินการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนามาตั้งแต่ปี  2535  

จนถึงปัจจุบันรวม  2  รุ่น  โดยรุ่นที่  1  เริ่มปล่อยกุ้งลงเลี้ยงในวันที่  25  สิงหาคม  2535  รวม  2,358,000  ตัว  และจับกุ้งใน

ระหว่างวันที่  10 - 15  มกราคม  2536  ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ  140  วัน  ในจำนวน  9  บ่อ  รวมพื้นที่  43  ไร่  ได้ผลผลิตกุ้ง

เฉลี่ย  31  ตัวต่อ  1  กิโลกรัม  น้ำหนักรวม  44,531  กิโลกรัม  จำหน่ายได้เงิน  7,747,440  บาท  กำไรสุทธิ  3,590,990  

บาท  นั้น  ปรากฏว่าจากการเลี้ยงในรุ่นที่  2  หลังจากปล่อยกุ้งลงเลี้ยงเมื่อวันที่  19  มีนาคม  2536  รวม  3,210,000  ตัว  และ

จับกุ้งจำหน่ายในวันที่  9 - 14  สิงหาคม  2536  ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ  144  วัน  ในจำนวน  10  บ่อ  รวมพื้นที่  49.43  ไร่  

ได้ผลผลิตกุ้งเฉลี่ย  31  ตัวต่อ  1  กิโลกรัม  น้ำหนักรวม  64,046  กิโลกรัม  จำหน่ายได้เงิน  12,263,824  บาท  กำไรสุทธิ  

5,513,983  บาท

         เมื่อเปรียบเทียบผลที่ได้ระหว่างรุ่นที่  1  กับรุ่นที่  2  ของบ่อที่  1  ถึงบ่อที่  9  ปรากฏว่าจำนวนกุ้งที่ปล่อยในรุ่น

ที่  2  มากกว่าจำนวนที่ปล่อยในรุ่นที่  1  กล่าวคือรุ่นที่  2  ปล่อย  40.29  ตัวต่อตารางเมตร  ซึ่งรุ่นที่  1  ปล่อยเพียง  33.92  

ตัวต่อตารางเมตร  จำนวนวันที่ใช้เลี้ยง  น้ำหนักตัวต่อกิโลกรัม  อัตรารอดและอัตราแลกเนื้อไม่ต่างกัน  แต่ผลผลิตที่ได้ในรุ่นที่  

2  ได้น้ำหนักกุ้งมากกว่ารุ่นที่  1  ถึง  17,001  กิโลกรัม

         นับว่าการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในรุ่นที่  2  ประสบผลสำเร็จทั้งทางวิชาการและทางธุรกิจเป็นอย่างดี  ในส่วนผลกระทบ

ต่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์วิทยา  มหาวิทยาลัยได้คำนึงถึงเป็นอย่างมาก  จึงได้มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทะเล  โดยการกัก

เก็บไว้และปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลงสู่ทะเล  ผ่านร่องน้ำที่มีความยาวประมาณ  1,000  เมตร  ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่

รุ่นที่  1  และยังได้รณรงค์ให้มีการปลูกป่าชายเลนเพิ่ม  เพื่อปรับสภาพแวดล้อมตามชายฝั่งให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดไป



                                                                                    *****************





















โดย : 203.154.179.38 * [ วันที่ 2001-09-02 13:23:27 ]