: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 24 ประจำเดือน 08 2536
หัวข้อข่าว : ให้ความมั่นใจทุกอาคารในมหาวิทยาลัยไม่ทรุด
รายละเอียด :
ฉบับที่  90/2536                                                                                                    24  สิงหาคม  2536

ให้ความมั่นใจทุกอาคารในมหาวิทยาลัยไม่ทรุด

         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ให้ความมั่นใจแก่นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยว่า  ทุกอาคารภายใน

มหาวิทยาลัยไม่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างและจะไม่ทรุด  แม้จะเจอพายุใหญ่

         ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี  แจ้งว่าตามที่ได้เกิดกรณีโรงแรมรอยัลพลาซ่า  จังหวัดนครราชสีมา  

ถล่มลงมาเมื่อวันศุกร์ที่  13  สิงหาคม  ที่ผ่านมา  ยังผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก  หน่วยงานต่าง  ๆ  จึงเข้มงวดและ

ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างและต่อเติมอาคารสูง  ๆ

         ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงคือ  งานอาคารสถานที่

และการซ่อมบำรุงรักษา  ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและควบคุมดูแลการก่อสร้างอาคารทุกอาคารภายในมหาวิทยาลัย  จะออกแบบและควบคุม

การก่อสร้างโดยวิศวกรของมหาวิทยาลัยอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอนและทุกอาคารที่สร้าง  แม้ว่าจะกำหนดให้ฐานรากสามารถรับน้ำหนักของ

อาคารได้มากกว่าน้ำหนักปกติของอาคารเองถึง  3  เท่าแล้วก็ตาม  แต่ก็จะไม่มีการต่อเติมอาคารในภายหลังอีก  ยกเว้นอาคารสำนักวิทย

บริการที่ได้ก่อสร้างฐานราก  จะคำนวณและออกแบบให้ก่อสร้างในขนาด  3  ชั้นไว้แล้ว  แต่ในระยะแรกได้ก่อสร้างเพียง  2  ชั้น  ทั้งนี้

เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณดังกล่าว  สามารถจัดสร้างได้เพียง  2  ชั้น  (อาคารสำนักวิทยบริการจึงจะสามารถรองรับ

น้ำหนักอาคารได้เพิ่มอีก  1  ชั้น)  นอกจากนี้หากการก่อสร้างอาคารที่ต้องใช้งบประมาณมากกว่า  10  ล้านบาทขึ้นไป  กรมโยธาธิการ  

กระทรวงมหาดไทย  จะเป็นผู้เขียนแบบ  กำหนดรูปแบบโครงสร้าง  และช่วยควบคุมดูแลการก่อสร้าง  จึงไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องความ

ปลอดภัยของตัวอาคาร

         สำหรับอาคารเรียนรวมภายในวิทยาเขตปัตตานีที่มีรอยร้าวในส่วนของผนังปูนบางส่วน  จากการตรวจสอบของวิศวกร

ทราบว่าเกิดจากการหดตัวของผิวผนัง  ไม่ใช่ส่วนของโครงสร้างหลัก  ซึ่งการหดตัวทำให้ผิวปูนฉาบแตกร้าวนั้น  อาจมีสาเหตุได้    

3  ประการ  ได้แก่  ระยะเวลาในการผสมปูนฉาบผิวแตกต่างกัน  ทำให้ปูนที่ผสมและฉาบก่อนเกาะยึดกับปูนที่ฉาบภายหลังได้ไม่ดี  

ประการที่สอง  อาจะเกิดจากอิฐที่ใช้ก่อสร้างซึ่งเป็นอิฐพื้นเมือง  มีความสุกแตกต่างกัน  จะหดตัวและขยายตัวแตกต่างกันเมื่อได้รับ

ความร้อนและความชื้น  และประการที่สาม  อาจเกิดจากวัสดุที่ผสมกับปูนฉาบไม่สะอาด

         ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  เปิดเผยต่อไปว่าสำหรับอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งสร้างบริเวณชายทะเล

ทิศเหนือของมหาวิทยาลัย  นอกจากได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรงตามวิธีปฏิบัติโดยทั่วไปแล้ว  อาคารดัง

กล่าวยังได้รับการออกแบบให้สามารถต้านวาตภัยที่มีความแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยได้มากกว่า  3  เท่า  ดังนั้นหากมี

วาตภัยเกิดขึ้นอาคารดังกล่าวสามารถเป็นสถานที่หลบภัยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



                                                                                        *****************









โดย : 203.154.179.38 * [ วันที่ 2001-09-02 13:07:06 ]