: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 12 2535
หัวข้อข่าว : ศูนย์อาหารโภชนาการและการพัฒนาชนบทภาคใต้ ม.อ. ปัตตานี ช่วยรัฐพัฒนาชนบท 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบบครบวงจร
รายละเอียด :
ฉบับที่  94/2535                                                                                                    11  ธันวาคม  2535

ศูนย์อาหารโภชนาการและการพัฒนาชนบทภาคใต้  ม.อ. ปัตตานี  ช่วยรัฐพัฒนาชนบท  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้  แบบครบวงจร

         สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ให้บริการวิชาการแก่กชุมชนในรูปแบบ

ให้เปล่าและครบวงจร  เน้นการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพและเสริมรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้  จากการสำรวจ

และประเมินผลได้บรรลุเป้าหมายกว่า  80  เปอร์เซ็นต์

         นายปัญญ์  ยวนแหล  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้เปิด

เผยถึงภารกิจหลักที่สำคัญของศูนย์อาหารโภชนาการและการพัฒนาชนบทภาคใต้  อ.จะนะ  จ.สงขลา  หรือสถานีบริการวิชาการสงขลา  เป็น

หน่วยงานสังกัดฝ่ายบริการวิชาการชุมชน  สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  วิทยาเขตปัตตานี  ให้บริการวิชาการช่วยเหลือชุมชน  ครอบ

คลุมในพื้นที่  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ  ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  สตูล  และสงขลา  โดยเข้าไปจัดฝึกอบรมแก่เยาวชนสตรีและประชาชน

ผู้ด้อยโอกาสหรือมีรายได้น้อย  ตามเป้าหมายเร่งรัดพัฒนาชนบทของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศอ. บต.)  เพื่อมีโอกาส

พัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพด้านต่าง  ๆ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนารายได้  ความเป็นอยู่ของตนเอง  ครอบครัว  และช่วย

เหลือชุมชนในท้องถิ่นของตนได้  โดยเน้นให้การฝึกอบรมด้านอาหาร  โภชนาการ  และวิชาชีพเฉพาะสาขา  โดยเฉพาะภารกิจหลักที่ทางศูนย์ฯ  

ได้ปฏิบัติตลอดมาคือ  การให้บริการวิชาการชุมชนในรูปแบบการให้เปล่า  ซึ่งศูนย์ฯ  เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการฝึกอบรม  ตั้งแต่ค่าเดิน

ทาง  ค่าที่พัก  ค่าอาหาร  ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้เข้ารับการอบรม  ค่าวัสดุอุปกรณ์  ตลอดจนค่าตอบแทนวิทยากร  สำหรับการให้ความช่วยเหลือ

ในรูปแบบครบวงจร  ตั้งแต่การให้คำแนะนำ  กระบวนการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์  การแปรรูปอาหารหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรม  การหาตลาด

เพื่อจำหน่าย  รวมทั้งวางเป้าหมายจะให้มีโครงการสนับสนุนเงินทุนแบบให้ยืมแก่สมาคมผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจในครัวเรือน

         ในการจัดฝึกอบรมคล้ายคลึงกับระบบการศึกษานอกโรงเรียน  มีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว  (ระยะเวลาตั้งแต่  5 - 10  

วัน)  โดยแบ่งเป็น  2  หลักสูตรคือ  หลักสูตรวิชาชีพเฉพาะสาขา  สำหรับกลุ่มเยาวสตรีและแม่บ้าน  เช่น  โครงการอบรมอุตสาหกรรมอาหาร

ครัวเรือน  โครงการอบรมหัตถกรรมครัวเรือน  โครงการอบรมธุรกิจการจัดบริการอาหาร  โครงการอบรมเกษตรกรรมครัวเรือน  เป็นต้น  

สำหรับเยาวชนชายจัดอบรมในด้านช่างก่อสร้างพื้นฐาน  ช่างเดินสายไฟฟ้าอาคาร  ช่างเฟอร์นิเจอร์  และช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก  สำหรับ

หลักสูตรความรู้ทั่วไป  จัดอบรมในวิชาที่ชาวบ้านควรรู้  อาทิ  วิชากฎหมายทั่วไป  การสุขาภิบาลบ้านเรือนและชุมชน  โรคเอดส์  การป้องกัน

การติดยาเสพติด  เป็นต้น  ทั้งสองหลักสูตรได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐและเอกชนเป็นวิทยากร  และเพื่อเป็นการเชื่อมช่องว่าง

ระหว่างศูนย์ฯ  กับชุมชนใกล้เคียง  ทางศูนย์ฯ  ได้จัดกิจกรรมในเทศกาลต่าง  ๆ  อาทิ  วันลอยกระทง  วันขึ้นปีใหม่  เพื่อให้ประชาชนใน

ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการทำงานและรู้จักกระบวนการทำงานเป็นทีม

         นอกจากโครงการต่าง  ๆ  ที่ศูนย์ฯ  ได้จัดบริการวิชาการและพัฒนารายได้แก่ชุมชนแล้ว  ศูนย์ฯ  ยังได้จัดโครงการร้านสาธิต

ธุรกิจการจัดบริการอาหารหรือร้านอาหาร  ม.อ.  เพื่อเป็นร้านตัวอย่างการดำเนินธุรกิจร้านอาหารขนาดย่อมในชุมชนและวัตถุประสงค์ที่

สำคัญอีกประการหนึ่ง  เพื่อนำรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายอาหารมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในโครงการบริการวิชาการชุมชนท้องถิ่น  5  

จังหวัดชายแดนภาคใต้  ร้านอาหาร  ม.อ.  ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของศูนย์ฯ  บนถนนสายสงขลา - นาทวี  ติดกับโรงเรียนแหลมเสม็ด  หมู่

ที่  1  ต. คลองเปี๊ยะ  อ. จะนะ  จ. สงขลา  บริการทั้งอาหารคาว - หวาน  อาหารปักษ์ใต้  เครื่องดื่ม  เบเกอรี่  ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่าง  ๆ  

เช่น  กล้วยอบน้ำผึ้ง  ข้าวเกรียบแปรรูปจากกล้วย  ฟักทอง  ข้าวโพด  มันเทศ  และอาหารกระป๋อง  โดยเน้นการบริการอาหารที่มีคุณค่าทาง

โภชนาการและวิธีการปรุงที่ถูกสุขอนามัย  เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา  08.30 - 18.30  น.  และมีอาหารตามสั่งตั้งแต่เวลา  15.00  น.

เป็นต้นไป  จากการดำเนินงานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  มีผู้มาใช้บริการมาก  จำเป็นต้องขยายกิจการ  นอกจากนี้ศูนย์ฯ  ยังได้บริการสถานที่

ประชุม  ฝึกอบรม  สัมมนา  และสถานที่พัก  พร้อมทั้งรับจัดเลี้ยงอาหาร  โดยมีผู้ใช้บริการตลอดปีงบประมาณ  2535  กว่า  2,000  คน

         ในปีงบประมาณ  2535  ที่ผ่านมา  ศูนย์อาหารโภชนาการและการพัฒนาชนบทภาคใต้  จัดอบรมทั้งสิ้น  10  โครงการ  

จำนวน  2  รุ่น  รวมผู้เข้ารับการอบรม  689  คน  จากการติดตามและประเมินผลของผู้เข้ารับการอบรมในปีงบประมาณ  2534 - 2535  

ที่ผ่านมาพบว่า  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนารายได้และความเป็นอยู่ถึง  80 - 90  เปอร์เซ็นต์  และ

ในแต่ละปีจะมีหน่วยงานต่าง  ๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  มาเยี่ยมชมการดำเนินงานและฟังบรรยาย  สาธิตในด้านอาหารโภชนา

การ  ศิลปหัตถกรรม  และการพัฒนาชนบท  รวม  14  คณะ  กว่า  600  คน

         สำหรับแผนงานในปีงบประมาณ  2536  ได้มีโครงการส่งเสริมอาชีพและพัฒนารายได้แก่ชุมชนในท้องถิ่นเช่น  โครงการ

ส่งเสริมอาชีพหลังฝึกอบรม  เพิ่มความรู้และทักษะเพิ่มเติมให้เกิดความชำนาญเฉพาะสาขายิ่งขึ้น  โครงการร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์และ

สินค้าพื้นเมือง  เพื่อให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงและประชาชนที่ผ่านการฝึกอบรมอุตสาหกรรมอาหารและหัตถกรรมครัวเรือน  มีตลาด

รองรับจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้าทางการเกษตร  รวมทั้งขยายกลุ่มเป้าหมายในการบริการวิชาการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเช่น  กลุ่ม

ผู้นำหมู่บ้าน  กลุ่มผู้ปกครองเด็ก  ผู้ดูแลเด็ก  และผู้สนใจทั่วไป  โดยเฉพาะการเน้นพัฒนาให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมมากขึ้น  ให้แต่ละโครง

การเป็นไปอย่างครบวงจรและเบ็ดเสร็จอย่างสมบูรณ์  เพื่อต้องการบรรลุเป้าหมายให้ประชาชนกลุ่มด้อยโอกาสเหล่านั้น  สามารถช่วยเหลือ

ตนเองและชุมชนได้ตามหลักการพัฒนาที่ว่า  "Help  him  to  help  himself"  ช่วยเหลือเขาเพื่อที่เขาจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้



                                                                                            ***************



โดย : 203.154.179.38 * [ วันที่ 2001-08-19 14:35:17 ]