: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2543
หัวข้อข่าว : 33 ปี ม.อ. ปัตตานี มหาวิทยาลัยภูมิภาคกับการพัฒนาภาคใต้ตอนล่าง
รายละเอียด :
                 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (ม.อ.)  สถาบันอุดมศึกษาประจำภูมิภาคภาคใต้  เป็นสถาบันการศึกษาที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการ

พัฒนาจังหวัดทางภาคใต้  เพราะนอกจากจะช่วยยกฐานะทางการศึกษาและชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวใต้ให้ดีขึ้นแล้ว  ยังมีส่วนช่วย

สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนไทยที่มีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วย

                 33  ปีของการทำหน้าที่ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาประจำภูมิภาคภาคใต้  เป็นแหล่งผลิตบัณฑิต  บริการวิชาการแก่ชุมชน  

และแสวงหาคำตอบให้กับปัญหาต่าง  ๆ  ที่เกิดขึ้น  ทั้งการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่  พัฒนาด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  

การให้การศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคน  การให้บริการทางวิชาการ  เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินชีวิตของประชาชนในจังหวัดภาคใต้ดีขึ้น  

การพัฒนาชนบทที่อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการซึ่งเกี่ยวโยงกับภูมิปัญญาชาวบ้าน  ทัศนคติ  วัฒนธรรม  ความเชื่อผนวกเข้าด้วยกัน  

ล้วนแต่เป็นบทบาทอันสำคัญของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ดำเนินการตลอดเวลาที่ผ่านมา

                  บนเนื้อที่พันกว่าไร่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้ก่อตั้งขึ้น  ณ  ตำบลรูสะมิแล  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  เมื่อปี  

2509  โดยใช้ชื่อว่า  มหาวิทยาลัยภาคใต้  ต่อมาคณะกรรมการดำเนินการก่อตั้งมหาวิทยาลัย  ได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทาน

ชื่อให้แก่มหาวิทยาลัย  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานชื่อสงขลานครินทร์  อันเป็นพระนาม

ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร  อดุลยเดชวิกรม  พระบรมราชชนก  และได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราช

บัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เมื่อวันที่  12  มีนาคม  2511  และมีผลบังคับใช้ในวันที่  13  มีนาคม  2511  มหาวิทยาลัยจึง

ได้กำหนดให้วันที่  13  มีนาคมของทุกปี  เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย  สำหรับปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่  13  มีนาคม  2543  ซึ่งทาง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มีกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัย  โดยเริ่มด้วยพิธีทางศาสนา  พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์  

เหรียญเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ  การบรรยายทางวิชาการ  และงานเลี้ยงขอบคุณผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย

                   ผศ. ประพันธ์  วิเศษรัฐกรรม  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่าท่ามกลางความ

เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคม  การเติบโตและความเจริญก้าวหน้าภายในมหาวิทยาลัยเองเช่น  คณาจารย์และบุคลากร

ฝ่ายสนับสนุน  มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น  อุปกรณ์การศึกษา  เครื่องมือวิจัยมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น  อาคารสถานที่มีมากพอ  

มหาวิทยาลัยภูมิภาคได้รับการคาดหวังให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมมากขึ้น  ด้วยความตระหนักในบทบาทของ

มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยจึงกำหนดภารกิจหลักสี่ประการที่มหาวิทยาลัยต้องกระทำ   และเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด  

มหาวิทยาลัยได้ทุ่มเทความสนใจเรื่องศาสตร์ด้านบริหาร  จัดการองค์กรให้กับบุคลากรทุกฝ่ายทุกระดับ  ทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพ

มากขึ้น  นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้ตั้งเป้าหมายถึงการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยว่า  ผลิตผลและบริการต่าง  ๆ  

จากมหาวิทยาลัยย่อมมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่สังคมคาดหวัง

                   ตลอดระยะเวลา  33  ปีที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยได้ผ่านช่วงแรกของการพัฒนาคือ  การจัดตั้งและเสริมสร้างคณะวิชาต่าง  ๆ  

เพิ่มขึ้นพร้อมกับการบริการวิชาการแก่สังคม  ควบคู่กับการจัดตั้งคณะวิชาที่เป็นความต้องการของภูมิภาคและประเทศชาติ  อีกทั้งได้ก้าว

สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติและมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยมากขึ้น

                   ผศ. ดร. สุวิมล  เขี้ยวแก้ว  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดเผยว่าสำหรับ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  มีการผลิตบัณฑิตทั้งด้านสังคมศาสตร์  ด้านการศึกษา  และด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  

โดยคณะศึกษาศาสตร์รับผิดชอบด้านการศึกษาวิชาชีพครูและการพัฒนาสังคม  ส่วนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็จะผลิตบัณฑิต

ทางด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา  โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาสากลและรองรับกับโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ  ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน  

มลายู  อาหรับ  ญี่ปุ่น  หรือเกาหลี  เป็นต้น  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ก็จะผลิตบัณฑิตที่รองรับกับอุตสาหกรรมในท้องถิ่นและภูมิ

ภาคเช่น  เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  วิทยาศาสตร์การอาหาร  หรือด้านเทคโนโลยีการประมง  และการเดินเรือ  ซึ่งเรามีท้องทะเลที่มี

อาณาเขตติดกับมหาวิทยาลัย  เป็นห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ  ส่วนวิทยาลัยอิสลามศึกษาก็เป็นหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะ  ที่เป็นความ

ภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย  เพราะนอกจากเป็นสถาบันเดียวที่ผลิตบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อิสลามและกฎหมายอิสลามแล้ว  วิทยาลัย

อิสลามศึกษายังให้บริการวิชาการแก่สังคมในด้านการเป็ฯแหล่งฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา  ศาสนาอิสลาม  ภาษาอาหรับหรือภาษา

มลายู  และเป็นองค์กรที่ประสานสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษา  และหน่วยงานราชการระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะประเทศทางตะวันออก

กลางที่สำคัญคือประเทศซาอุดิอารเบีย

                    ในด้านสู่ความเป็นนานาชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ดำเนินการด้านวิเทศสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่

ความเป็นสากล  โดยจัดโครงการร่วมกับองค์กรต่าง  ๆ  ในต่างประเทศจัดการเรียนการสอน  การวิจัย  แลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร  

ฝึกอบรมและให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ  ในส่วนนี้  อาจารย์อำไพวรรณ  สุภาพวานิช  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดเผยว่าปัจจุบันบทบาทของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ในกระบวนการวิเทศ

สัมพันธ์มีการพัฒนาในเชิงรุกและเชิงรับอย่างมีทิศทาง  เพื่อสร้างกลไกในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษา  และความเป็น

เลิศทางวิชาการสู่มาตรฐานสากลและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาภูมิภาค  ทั้งนี้กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นความร่วมมือและการได้รับความช่วยเหลือ

ทางวิชาการ  ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ  อาทิ  ประเทศมาเลเซีย  สิงคโปร์  จีน  เกาหลี  

ญี่ปุ่น  ซาอุดิอารเบีย  อเมริกา  เยอรมัน  อังกฤษ  แคนาดา  ออสเตรเลีย  ฯลฯ

                    33  ปี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็น  33  ปีแห่งความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการสร้างผลงานในเชิง

คุณภาพ  สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และการก้าวสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ  ล้วนเป็นจินตภาพหรือวิสัยทัศน์

ที่มหาวิทยาลัยต้องยึดมั่นและคาดหวังได้ในอนาคต



                                            ****************

โดย : 203.154.177.10 * [ วันที่ 2001-06-26 15:27:35 ]