: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 1 ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 10 2541
หัวข้อข่าว : หลักการและแนวปฏิบัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล
รายละเอียด :
                    สภาพปัญหาและความจำเป็นในการปรับเปลี่ยน

         ในระยะเวลาที่ผ่านมาการบริหารมหาวิทยาลัยได้ยึดโยงอยู่กับระบบราชการมาอย่างแน่นแฟ้น  ทั้งระบบการบริหารงานบุคคล  

การบริหารงบประมาณ  การเงิน  และการพัสดุ  โดยมีระบบการควบคุมและกำกับดูแลที่เป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์ของระบบราชการที่ถือปฏิบัติ

กันโดยทั่วไป  สำหรับกรม  กองของระบบราชการ  การดำเนินการต่าง  ๆ  ต้องยึดถือกฎเกณฑ์และระเบียบต่าง  ๆ  โดยเคร่งครัด  ซึ่งในบาง

กรณีก็อาจขัดกับลักษณะการบริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องการความยืดหยุ่น  ความคล่องตัว  และความฉับไวในการดำเนินการ  เพื่อให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงที่สนองตอบความก้าวหน้าทางวิชาการได้  ทางด้านการบริหารงานบุคคลก็ประสบปัญหาอย่างมาก  โดยเฉพาะการที่ไม่สามารถ

ดึงดูดคนดี  คนเก่งให้เข้าสู่มหาวิทยาลัยได้  อันเข้ากับลักษณะ  "รักษาคนดีไว้ไม่ได้  คนเก่งภายนอกก็ไม่อยากเข้ามาร่วม  คนไม่เหมาะสมก็

เอาออกยาก"  การกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรมก็ไม่อาจกระทำได้  เพราะยังคงความเป็นข้าราชการอยู่  ปัญหาการบริหารด้านการเงิน  

ทรัพย์สิน  และงบประมาณ  รวมทั้งการพัสดุนั้น  ดูว่าจะเป็นสิ่งที่มีความอึดอัดในการปฏิบัติกันมาโดยตลอด  และได้มีความต้องการที่จะ

ให้มหาวิทยาลัยต่าง  ๆ  ได้มีระบบและระเบียบว่าด้วยการเงินและทรัพย์สินและการพัสดุของตนเองมาเป็นระยะ  ๆ  จนกระทั่งมีคำพูดเสมอ

ว่า  ถ้าไม่เป็นระบบราชการก็จะสะดวกกว่านี้และมีประสิทธิภาพมากกว่านี้

         ความไม่คล่องตัวและกฎเกณฑ์ต่าง  ๆ  ที่เป็นกรอบในการบริหารมหาวิทยาลัยตามระบบราชการเหล่านี้ถูกยกมาเป็นข้ออ้างโดย

ตลอดว่า  เป็นเหตุแห่งความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหารมหาวิทยาลัย  ทำให้เกิดภาวะวิกฤตในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยใน

ด้านต่าง  ๆ  ซึ่งรวมถึงคุณภาพของการผลิตบัณฑิตและการวิจัย  อันเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยอยู่ด้วย

         ตราบใดที่มหาวิทยาลัยยังอยู่ในระบบราชการ  การแก้ไขเหตุแห่งความไม่มีประสิทธิภาพคงกระทำได้ยาก  เพราะจำเป็นต้อง

แก้ไขในหลายจุดและบางครั้งก็ไม่อาจกระทำได้  เนื่องจากหากมีการแก้ไขแล้วก็จะกระทบไปถึงส่วนราชการอื่นด้วยเช่น  การปรับโครงสร้าง

อัตราเงินเดือน  เป็นต้น  ซึ่งได้มีความพยายามที่จะทำกันมานานแล้ว

         ดังนั้นการแก้ปัญหาแห่งความไม่คล่องตัวและความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร  จึงจำเป็นต้องกระทำทั้งระบบและแยก

ออกมาจากระบบราชการโดยเด็ดขาด  แล้วมอบอำนาจในการบริหารจัดการเรื่องต่าง  ๆ  ให้กับมหาวิทยาลัย  อันจะทำให้มหาวิทยาลัยมีอิสระ

ในการพัฒนาและบริหารตนเองที่สอดคล้องกับปรัชญาและจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่  แต่ทั้งนี้มหาวิทยาลัยที่มิได้อยู่ในระบบ

ราชการนี้  ก็ยังคงมีความยึดโยงกับรัฐโดยตรง  โดยจะยังคงสภาพความเป็นหน่วยงานของรัฐอยู่เช่นเดิม  เพียงแต่มีอิสระในการบริหารและ

กำกับดูแลตนเองทุกด้านเท่านั้น

         การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือได้ว่า  เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของระบบการบริหารมหาวิทยาลัยของประเทศ

ไทย  ซึ่งย่อมจะต้องมีผลกระทบต่อบุคลากรทุกประเภทในมหาวิทยาลัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

         ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตัวบุคคล

         ผลกระทบโดยตรงที่เด่นชัดคือ

         1.  การปรับเปลี่ยนสภาพจากความเป็นข้าราชการไปเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย

         2.  การมีระบบการบริหารงานบุคคลใหม่ที่เป็นระบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นเองเป็นการเฉพาะสำหรับมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ  

นั่นคือการพ้นจากระบบของ  ก.ม.  โดยเด็ดขาด

         3.  ระบบการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ  จะแตกต่างไปจากระบบราชการ  โดยจะมีการใช้ระบบที่เป็นของมหาวิทยาลัยเอง

         4.  การปรับเปลี่ยนสถานภาพหรือการถ่ายโอนเข้าสู่ระบบบริหารงานบุคคลใหม่นั้น  จะต้องมีระบบการประเมินที่เป็นธรรมและ

เหมาะสม  ก่อนการบรรจุเข้าเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย  โดยเป้าหมายคือการได้รับค่าตอบแทนและตำแหน่ง  รวมทั้งภาระงานที่เป็นธรรม

กันทุกฝ่าย

         5.  การจ่ายค่าตอบแทนจะเป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่จัดทำขึ้นใหม่  โดยเน้นการจ่ายตามคุณภาพและปริมาณงานของบุคคล

เป็นหลัก  ดังนั้นผลงาน  ประสบการณ์  คุณวุฒิ  และตำแหน่งทางวิชาการต่าง  ๆ  จะเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาอยู่ด้วย

         ตัวอย่างผลกระทบต่าง  ๆ  ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้  อาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละมหาวิทยาลัย  แต่หลักการที่สำคัญก็คือการมุ่ง

รักษาคนดี  ส่งเสริมคนเก่ง  และพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรของมหาวิทยาลัย

         ผลกระทบต่อระบบการบริหารอื่น  ๆ

         ระบบการบริหารอื่น  ๆ  เช่น  การเงินการพัสดุ  ทรัพย์สินและการบริหารงบประมาณ  รวมทั้งการบริหารงานวิชาการจะมีการ

เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมได้โดยอิสระ  ภายใต้กรอบแห่งอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย  อันจะเป็นผลให้เกิดความคล่องตัว  รวดเร็ว  และ

ประหยัด  และได้ผลการดำเนินการที่คุ้มค่ายิ่งขึ้น

         กล่าวโดยสรุปแล้ว  การปรับเปลี่ยนสถานภาพของมหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลนั้น  มีเป้าหมาย

เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถกำกับดูแลตนเองได้โดยอิสระมากยิ่งขึ้น  อันเป็นการสอดคล้องกับลักษณะของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการความ

คล่องตัวและไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ

(จากเอกสารหลักการและแนวปฏิบัติ  มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของสำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย  กันยายน  2541)



                                                                                         *****************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-06-06 16:27:05 ]