: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 0 ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 10 2540
หัวข้อข่าว : คณะกรรมาธิการการศึกษาฯ แนะนำการดำเนินงานของวิทยาเขตปัตตานี
รายละเอียด :
                    คณะกรรมาธิการการศึกษา  สภาผู้แทนราษฎร  เยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อรับทราบข้อมูลและปัญหาใน

การจัดการศึกษา  เพื่อหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ

         นายเผดิมชัย  สะสมทรัพย์  ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา  สภาผู้แทนราษฎร  น.ส. กัญจนา  ศิลปอาชา  ผู้ช่วย

เลขานุการ  พร้อมด้วยคณะได้เดินทางมาศึกษาดูงานด้านการศึกษาและเยี่ยมสถานศึกษาในพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่ง

ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา  ปัตตานี  และยะลา  ระหว่างวันที่  24 - 25  สิงหาคม  ที่ผ่านมา  หลังเสร็จสิ้นการศึกษาดูงานแล้ว  

คณะกรรมาธิการฯ  ได้สรุปผลการดูงาน  ข้อสังเกต  และข้อเสนอแนะ  จัดส่งให้แก่สถาบันที่ได้มาศึกษาดูงาน  สำหรับมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  คณะกรรมาธิการการศึกษา  สภาผู้แทนราษฎร  ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้

         จากการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและการศึกษาวิเคราะห์โครงการ / กิจกรรมต่าง  ๆ  ของมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  คณะกรรมาธิการการศึกษาฯ  เห็นว่ามหาวิทยาลัยได้มีความตั้งใจและพยายามอย่างเต็มที่ในการ

จัดการศึกษาและบริการชุมชน  ให้สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยและสภาพความต้องการทางสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น  

แม้ว่าจะมีข้อจำกัดต่าง  ๆ  อยู่พอสมควร  ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการบริหารในลักษณะวิทยาเขต  ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯ  มีข้อเสนอ

แนะโดยรวมดังนี้

         ระบบและรูปแบบการบริหารงานในลักษณะวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  แต่ละวิทยาเขตมีฐานะเท่า

เทียมกัน  ดังนั้นการวิเคราะห์แผนงานและงบประมาณ  ควรพิจารณาแยกเฉพาะเป็นแต่ละวิทยาเขต  (ในลักษณะ  Mini - University)  

น่าจะเป็นลักษณะเหมาะสมมากกว่า

         ในเรื่องการจัดหาที่พักอาศัยให้อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัย  ควรจัดในรูปของกองทุนหมุนเวียนให้กู้ยืมดอกเบี้ย

ต่ำ  เพื่อไปซื้อหรือสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวและเหมาะสมกว่าการขอจัดสรรงบประมาณมาสร้างหอพัก

ของทางราชการ

         มหาวิทยาลัยควรได้พิจารณาดำเนินกิจกรรมที่เป็นลู่ทางในการหารายได้  เพื่อการพึ่งตนเองของมหาวิทยาลัยให้มาก

ขึ้นเช่น  การทำโครงการวิจัยการบริการชุมชนและรายได้ในเชิงธุรกิจด้วย

         วิทยาลัยอิสลามศึกษา  ควรได้กำหนดแผนงานที่ชัดเจนที่จะเพิ่มศักยภาพในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรอิสลามศึกษา  

ครุศาสตร์อิสลาม  และหลักสูตรอื่น  ๆ  ที่เกี่ยวข้องให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น  เพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียนและหน่วยงาน / สถาบัน

การศึกษาที่ต้องการบุคลากรด้านนี้ซึ่งยังขาดแคลนอยู่  อีกทั้งควรประสานงานและขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้องใน

การจัดหาทุนการศึกษาสำหรับบุตรหลานชาวไทยมุสลิมที่ต้องการเรียนวิชาศาสนา  ให้มีโอกาสได้เข้าศึกษาให้มากขึ้นด้วย

         การให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและองค์กรต่าง  ๆ  ในท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอิสลามศึกษาในลักษณะ

ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ดียิ่ง  สมควรได้ดำเนินการอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  ตลอดจนเข้าถึงปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริงด้วย



                                                                                 *****************



โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-20 12:50:10 ]