: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 0 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2540
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ร่วมกับกรรมาธิการวิสามัญร่างรัฐธรรมนูญ จ. นราธิวาส จัดเสวนา "ประชาชนได้อะไรจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่"
รายละเอียด :
                    ประชาชนในจังหวัดนราธิวาสตื่นตัวทางการเมืองเข้าฟังการเสวนา  "ประชาชนได้อะไรจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่"  ซึ่ง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างรัฐธรรมนูญ  จัดขึ้นเมื่อวันที่  28  กุมภาพันธ์  

2540

         เมื่อวันศุกร์ที่  28  กุมภาพันธ์  2540  คณะกรรมาธิการวิสามัญร่างรัฐธรรมนูญ  จังหวัดนราธิวาส  ร่วมกับมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้จัดเสวนาเรื่อง  "ประชาชนได้อะไรจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่"  ณ  ห้องนราธิวาสฮอลล์  โรงแรม

โรแยลปริ้นเซส  นราธิวาส  เพื่อระดมความคิดเห็นของประชาชนซึ่งประกอบด้วย  กลุ่มผู้สมัคร  สสร.  จังหวัดนราธิวาส  กลุ่มนักการ

เมืองท้องถิ่น  กลุ่มนักธุรกิจ  และกลุ่มองค์กรเอกชนในจังหวัดนราธิวาส  เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการเมือง  เพื่อประมวล

เสนอร่างรัฐธรรมนูญใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป

         ในการเสวนาครั้งนี้มีประชาชนจากกลุ่มต่าง  ๆ  ดังกล่าวเข้าร่วมประมาณ  300  คน  วิทยากรประกอบด้วย  ศาสตราจารย์

อมร  รักษาสัตย์  ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  นายคณิน  บุญสุวรรณ  โฆษกกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ  

นายปัญญ์  ยวนแหล  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  นายนัจมุดดีน  อูมา  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัด

นราธิวาส  เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย  นางกรรณิกา  ดำรงวงศ์  ประธานสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดนราธิวาส  เป็นพิธีกร

         ในการเสวนาผู้เข้าร่วมเสวนาได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่น่าสนใจใน  3  ประเด็นดังนี้

         1.  สิทธิหน้าที่และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

         2.  การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

         3.  สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

         ซึ่งแยกออกตามประเด็นดังนี้

         ด้านสิทธิหน้าที่และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

         1.  ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นเช่น  ควรจะเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด  ผู้บริหาร

ระดับตำบล  เป็นการกระจายอำนาจและผู้นำท้องถิ่นควรสังกัดพรรคการเมือง

         2.  ประชาชนต้องการมีสิทธิเสรีภาพในการแต่งกายตามศาสนา  ปัจจุบันสิทธิเสรีภาพด้านนี้ยังไม่มีเช่น  การแต่งเครื่อง

แบบของสถานศึกษาตามที่รัฐกำหนด

         3.  การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ควรกำหนดขึ้นใหม่ให้เป็นหน้าที่ของประชาชน  โดยรัฐอำนวยความสะดวกเช่น  บริการด้าน

ยานพาหนะ

         4.  ให้ประชาชนมีสิทธิตั้งทนายความเมื่อถูกกล่าวหา  โดยรัฐจัดหาทนายให้และให้ได้รับการประกันตัวโดยเร็ว

         5.  ไม่ควรมีเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกรัฐสภาในคดีอาญา

         6.  ต้องการให้รัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นใหม่นี้  ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนเอาไว้ให้ชัดเจน

         7.  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตย  ซึ่งเป็นอำนาจที่มาจากประชาชน  แต่ที่ผ่านมาเมื่อเลือกตั้งผู้แทน

ราษฎรแล้ว  ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมอีกไม่ได้

         ด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

         1.  ต้องการให้แยกอำนาจบริหาร  ตุลากร  นิติบัญญัติ  ออกจากกันเด็ดขาด

         2.  ในการร่างรัฐธรรมนูญ  ควรกำหนดไว้ว่า  "ห้ามล้มล้างรัฐธรรมนูญ"

         3.  ในการร่างรัฐธรรมนูญ  ควรกำหนดให้มีศาลศาสนาไว้ด้วย

         4.  ในตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาคณะหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยองคมนตรีและผู้ทรงคุณวุฒิคุณธรรม  เพื่อทำหน้าที่

ระงับการเผชิญหน้าของกลุ่มบุคคลในชาติ  ป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อย  (พฤษภาทมิฬ)

         ด้านสถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

         1.  นายกรัฐมนตรี  ควรมาจากการเลือกตั้ง

         2.  รัฐมนตรี  เมื่อ  ส.ส.  ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี  ให้พ้นจากการเป็น  ส.ส. ทันที  และเลือกตั้งซ่อม  (จะเป็นรัฐมนตรี

และ  ส.ส.  ในเวลาเดียวกันไม่ได้)

         3.  วุฒิสมาชิกควรเลือกตั้งโดยตรงและควรกำหนดคุณวุฒิการศึกษา  และกำหนดจำนวน  100  คน

         4.  ผู้มีสิทธิใช้สิทธิเลือกตั้ง  จะต้องสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ

         5.  ส.ส.  ถ้าขาดประชุม  3  ครั้ง  กำหนดโทษโดยให้พ้นสภาพ  ส.ส.

         6.  ลดขนาด  ครม.  ลงให้เหลือ  30  คน

         7.  นโยบายต่าง  ๆ  ของรัฐบาลจะต้องกำหนดระยะเวลาปฏิบัติให้ชัดเจน

         8.  กฎหมายที่เกี่ยวกับอาวุธสงคราม  ควรให้มีโทษประหารเท่านั้น

         9.  การลงโทษผู้ติดยาเสพติด  ผู้เสพย์  ควรนำไปบำบัดไม่ใช่จำขัง

         10.  ควรกำหนดคุณวุฒิผู้นำท้องถิ่นอย่างน้อยปริญญาตรี

         11.  ไม่ให้มีงบ  ส.ส. อีกต่อไป  (20  ล้านบาท)



                                                                                       ******************





โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-19 11:49:01 ]