: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 0 ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2540
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี จัดเสวนาระดมความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการร่างรัฐธรรมนูญ
รายละเอียด :
                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ร่วมกับสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส  

เชิญประชาชนทุกสาขาอาชีพและกลุ่มองค์กรต่าง  ๆ  ร่วมเสวนาระดมความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ  วันที่  2  

มกราคม  2540  ณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และวันที่  5  กุมภาพันธ์  2540  ที่โรงแรมตันหยง  อำเภอ

เมือง  จังหวัดนราธิวาส

                    ปัตตานี

         วันที่  2  มกราคม  2540  ที่หอประชุมสถาบันศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ร่วมกับสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี  และองค์กรต่าง  ๆ  เช่น  คณะกรรมการรณรงค์ประชา

ธิปไตยภาคใต้  สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี  ชมรมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  หอการค้า  สภา

อุตสาหกรรม  และสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี  ได้ร่วมกันจัดเสวนาระดมความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น  

โดยมีประชาชนและองค์กรภาคเอกชนรวม  70  คน  เข้าร่วมเสวนา  โดยมี  ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี  

เป็นประธานในการเสวนา  วิทยากรประกอบด้วยนายเหม  สุไลมาน  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี  ผศ. พีรยศ  ราฮิมมูลา  

อาจารย์แผนกวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  นายปัญญ์  ยวนแหล  ประธานสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี  

ซึ่งมี  นายปราโมทย์  กระมุท  ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นผู้ดำเนินการเสวนา  ทั้งนี้เพื่อประมวล

ความคิดเห็นจากประชาชนในจังหวัดปัตตานี  เสนอผ่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี  เพื่อเป็นแนวทางการร่างรัฐ

ธรรมนูญต่อไป

         ผศ. ผดุงยศ  ดวงมาลา  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ประธานในการเสวนาครั้งนี้  

ชี้แจงถึงความเป็นมาของการเสวนาระดมความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่า  ฯพณฯ  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  

นายกรัฐมนตรี  ได้ขอให้องค์กรของมหาวิทยาลัยและองค์กรของกระทรวงศึกษาธิการ  ร่วมกันทำหน้าที่สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน

ในพื้นที่ในเรื่องของความรู้เรื่องการปฏิรูปการเมือง  เรื่องเนื้อหาสาระสำคัญที่จำเป็นของกฎหมายรัฐธรรมนูญและรับฟังความคิดเห็น

ของประชาชน  เพื่อวางแผนและกำหนดนโยบายที่แน่นอนในการปฏิรูปทางการเมือง  โดยกำหนดให้พื้นที่จังหวัดใดมีสถาบันราชภัฏ

ตั้งอยู่  ก็ให้สถาบันราชภัฏนั้น  ๆ  รับผิดชอบสร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน  พื้นที่ใดมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่  ก็

ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ  โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  นั้นรับผิดชอบจังหวัดปัตตานีและ

นราธิวาส

         สาระสำคัญของการนำเสนอโดยคณะวิทยากรสรุปได้ว่า  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ประชาชนได้มี

ส่วนร่วมโดยตรงในการร่างรัฐธรรมนูญ  และปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันคือ

         -  ด้านการเมือง  ปัญหาการซื้อเสียง  เกิดเผด็จการโดยรัฐสภา  การบริหารราชการแผ่นดินไม่มีประสิทธิภาพ  ปัญหา

การกระจายอำนาจ

         -  ด้านสังคม  ที่ประชาชนยังไม่มีสิทธิในการรับรู้ข่าวสารจากทางราชการในเรื่องสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อชีวิต  ความ

เป็นอยู่ของประชาชน  ไม่มีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง  สิทธิเด็ก  สิทธิสตรี  สิทธิในการปฏิบัติตามประเพณี  

วัฒนธรรม  ความเชื่อทางศาสนา  ปัญหาสิ่งแวดล้อม

         -  ด้านเศรษฐกิจ  ปัญหาการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจ  ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท  ปัญหาคนจน  ปัญหาความแตกต่าง

และช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในชาติ

         ในส่วนของผู้ร่วมเสวนาได้เสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนสรุปได้ดังนี้

         -  ประชาชนต้องการปัจจัย  4  และต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

         -  ต้องการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันและยุติธรรม  เพราะปัจจุบันกฎหมายบ้านเมืองเหมือนใยแมงมุม  

ที่จับกุมลงโทษได้เฉพาะผู้กระทำผิดรายเล็กรายน้อยที่ไม่มีอิทธิพล

         -  ต้องการการเมืองที่บริสุทธิ์  ยุติธรรม

         -  ต้องการให้มีการแก้ปัญหาการซื้อเสียง  ให้ประชาชนใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้อย่างบริสุทธิ์  ยุติธรรมจริง  ๆ

         -  เสนอให้มีการกระจายอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการบริหารสู่ท้องถิ่น  เพราะปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำกัน

มากเหลือเกิน

         -  ต้องการให้มีการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารที่มีมากและใกล้ชิดกันเกินไป

         -  ต้องการให้ยกเลิกเอกสิทธิคุ้มครองวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในคดีอาญา

         -  เสนอให้บัญญัติถึงการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนในรัฐธรรมนูญโดยการเลือกตั้งการออกเสียงเป็นประชามติ  

การให้มีอำนาจในการถอดถอน  ส.ส.  และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  อำนาจในการเสนอร่างกฎหมาย

         -  เสนอให้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน  โดยผู้สมัครจะสังกัดหรือไม่สังกัดพรรคการเมืองก็ได้  เพื่อ

ให้มีภาวะผู้นำในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของชาติ  ซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤตและการที่พรรค

การเมืองถูกครอบงำโดยนักธุรกิจการเมือง

         -  เสนอให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  โดยให้ทุกกระทรวง  ทบวง  กรม  กระจายมอบอำนาจในงานด้านการบริการ

และการพัฒนาให้กับหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น  และให้ผู้บริหารหน่วยการปกครองท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้ง

         นายเหม  สุไลมาน  ในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของจังหวัดปัตตานี  ได้แจ้งผู้ร่วมเสวนาทราบว่าจะมีการตั้ง

คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของประชาชนของจังหวัดปัตตานี  จำนวน  15  คน  เพื่อเป็นแกนนำ  ประสานงานการ

รับฟังความคิดเห็นของประชาชน  ซึ่งเป็นเรื่องที่สภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญเป็นพิเศษ  โดยขอให้  ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี  

และทางจังหวัดเป็นแกนนำให้

         ในตอนท้าย  ผู้เข้าร่วมเสวนามีความเห็นร่วมกันว่า  การเสวนาครั้งต่อไปซึ่งกำหนดให้มีขึ้นเดือนละครั้ง  จะต้องหาวิธี

การระดมให้ประชาชน  กลุ่ม  องค์กรต่าง  ๆ  ของจังหวัดปัตตานี  เข้ามามีส่วนร่วมและเสนอความคิดเห็นให้มากกว่านี้  จึงจะสามารถ

ประมวลเป็นความคิดเห็นของประชาชนชาวจังหวัดปัตตานี  เสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้

         นราธิวาส

         วันที่  5  กุมภาพันธ์  2540  ที่โรงแรมตันหยง  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  ร่วมกับสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดนราธิวาส  ได้ระดมความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มอาชีพต่าง  ๆ  ของจังหวัดนราธิวาส  

ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  มีประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ  100  คน  วิทยากรประกอบด้วย  นายนัจมุดดีน  อูมา  สมาชิก

สภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี  นายปัญญ์  ยวนแหล  ประธานสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดปัตตานี  นางกรรณิกา  ดำรงวงศ์  

ประธานสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดนราธิวาส  ผศ. พีรยศ  ราฮิมมูลา  อาจารย์แผนกวิชารัฐศาสตร์  โดยมี  นายปราโมทย์  กระมุท  

ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

         ในการเสวนา  ประชาชนผู้เข้าร่วมเสวนาได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่น่าสนใจดังนี้

         -  ด้านสิทธิ  หน้าที่  และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

         1.  ระบุที่มาและอำนาจของประชาชนในกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน

         2.  ปัญหาสำคัญปัจจุบันคือ  สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการคุ้มครอง  ทำให้สิทธิเสรีภาพของ

ประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีความหมาย  องค์กรไหนจะรับผิดชอบ  เมื่อประชาชนถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ

         3.  การซื้อเสียงเกิดขึ้นเพราะประชาชนยากจน  คนที่เข้าไปบริหารประเทศได้เพราะมีเงิน  มีที่ดินมาก  จึงควรจำกัด

จำนวนการถือครองที่ดินของบุคคลเอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

         4.  ให้ประชาชนมีสิทธิในการบริหาร  การจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นตามสภาพพื้นที่และวัฒนธรรมของชุมชน

         5.  ให้ประชาชนมีสิทธิในการรับรู้ข่าวสาร  การปฏิบัติงานของทางราชการ

         6.  ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการใช้สื่อสารสนเทศต่าง  ๆ  เพื่อป้องกันปัญหาการผูกขาด

         7.  ให้ประชาชนที่ไปทำงานต่างประเทศ  ซึ่งทำรายได้ให้ประเทศในแต่ละปีจำนวนมหาศาล  มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

         8.  ให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนราธิวาส  ยะลา  ปัตตานี  สตูล  และให้มีสภาท้องถิ่นปกครองตนเอง  

ปัญหาต่าง  ๆ  ในพื้นที่ก็จะหมดไป

         9.  ปัจจุบันสิทธิในการจัดตั้งมูลนิธิ  สมาคมต่าง  ๆ  ของประชาชน  ถูกจำกัดไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมือง  ควรแก้ไข

ใหม่เป็น  "ประชาชนมีสิทธิในการจัดตั้งมูลนิธิ  สมาคมต่าง  ๆ  และต้องส่งเสริมประชาธิปไตย"

         10.  ยกเลิกการห้ามนักพรต  นักบวช  สมัครรับเลือกตั้ง  ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

         11.  ตำแหน่งดาโต๊ะยุติธรรมไม่ได้ทำอะไรเลย  ไม่มีผลงาน  ขอให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้มีศาลซารีอะห์  (ศาล

อิสลาม)  เพื่อพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและมรดกของชาวไทยมุสลิม

         ด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจและสถาบันทางการเมือง

         1.  ไม่มีการตรวจสอบคนที่ได้อำนาจไปกำหนดนโยบาย  ไปบริหารงานประเทศ  จึงควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิ

ในการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร  ให้ประชาชนมีสิทธิทำประชาพิจารณ์นโยบายของรัฐบาล  ให้ประชาชนมีสิทธิตรวจ

สอบการนำนโยบายไปปฏิบัติของทางราชการ

         2.  ปัจจุบันนักการเมืองใช้อำนาจในทางมิชอบและไม่สามารถเอาตัวมาลงโทษได้  ให้บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ  

ให้มีองค์กรที่เป็นอิสระทำการฟ้องร้องและนำคดีขึ้นสู่ศาล  เพื่อลงโทษนักการเมืองที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ  ไม่เช่นนั้นการต่อสู้  แย่ง

ชิงอำนาจ  การซื้อเสียงก็จะรุนแรงมากขึ้น

         3.  มีการพูดกันมากถึงการทุจริตของนักการเมืองระดับสูง  ซึ่งตรวจสอบยากและซับซ้อน  ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบก็มี

ตำแหน่งต่ำกว่า  ขอให้ประชาชนมีโอกาสในการตรวจสอบและลงโทษทางสังคม  โดยให้ประชาชนได้มีการศึกษามากขึ้น  ได้รับรู้

ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

         4.  เมื่อมีการทุจริตการเลือกตั้ง  ประชาชนไม่สามารถอุทธรณ์  เรียกร้องให้นำตัวผู้ทุจริตการเลือกตั้งมาลงโทษได้  ขอ

เสนอให้มีศาลคดีการเมือง  เพื่อพิจารณาเฉพาะคำร้องเกี่ยวกับการทุจริตต่าง  ๆ  ของนักการเมือง

         5.  พรรคการเมืองไม่มั่นคง  ให้รัฐจัดสรรงบประมาณสนับสนุนพรรคการเมือง

         6.  รัฐบาลรักษาการมีอำนาจมากเกินไปโดยเฉพาะในการจัดการเลือกตั้ง  ควรให้มีองค์กรอิสระดำเนินการเลือกตั้ง

         7.  ยกเลิกเอกสิทธิของวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในคดีอาญา

         8.  ให้ยกเลิกงบประมาณที่จัดให้ผู้แทนราษฎรคนละ  20  ล้านบาท  (ไม่ต้องมีงบประมาณส่วนนี้)

         9.  กำหนดคุณวุฒิของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้สูงขึ้นเช่น  ควรจบการศึกษาระดับปริญญาตรี

         10.  เลือกตั้งวุฒิสมาชิกจังหวัดละ  2  คน

         11.  ให้มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการสังกัดพรรคการเมืองของนักการเมือง  เพื่อป้องกันปัญหานักการเมืองย้าย

พรรค



                                                                                      ******************

















โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-18 16:27:07 ]