: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 9 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2539
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ส่งนักศึกษาอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจประชามติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รายละเอียด :
                    นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ลงพื้นที่เพื่อรณรงค์การเลือกตั้งและสำรวจประชามติการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ผลปรากฏว่าประชาชนมีความกระตือรือร้นในการไปเลือกตั้ง  แต่มีความรู้ทางการเมืองน้อย  ปัญหาการซื้อเสียง

เป็นปัญหาที่ยุ่งยากและทวีความรุนแรง  ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เต็มใจขายเสียง  แต่การที่ยอมรับเงินเลือกพรรค  เลือกบุคคล  เพราะเกรง

กลัวอิทธิพลและหวังพึ่งในอนาคต

         นายปิยะ  กิจถาวร  อาจารย์ประจำแผนกวิชารัฐศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดเผยว่า

เมื่อวันที่  2 - 3  และ  9  พฤศจิกายน  2539  แผนกวิชารัฐศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้นำนักศึกษาจำนวน  80  คน  

ออกสำรวจประชามติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งให้มากที่สุด  

และเพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นและพฤติกรรมการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน  โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานรวม  2  เทศบาล  6  

สุขาภิบาล  2  อบต.  และ  9  ตำบล  รวม  19  แห่ง  ใน  10  อำเภอของจังหวัดปัตตานี  ได้แก่  อำเภอเมือง  หนองจิก  โคกโพธิ์  ยะรัง  

มายอ  ยะหริ่ง  ปะนาเระ  สายบุรี  ทุ่งยางแดง  และไม้แก่น  ประชากรที่ทำการสัมภาษณ์  2,408  คน  สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

         ชาวปัตตานีคิดอย่างไรกับการเลือกตั้ง ?

         คนในชนบทตื่นตัวไปเลือกตั้งเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยมากกว่าคนในเขตเทศบาล  แต่เลือกเป็นพรรคเหมือนกัน  โดยมีเหตุผล

ว่าจะได้ทำงานเป็นทีมและไม่ทะเลาะกัน  ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ในเขตชนบทบอกว่าจะไปเลือกตั้งถึงร้อยละ  94.14  และจะเลือกเป็นพรรคร้อยละ  

80.17  ส่วนในเขตเทศบาลจะไปเลือกตั้งร้อยละ  88.67  และเลือกเป็นพรรคร้อยละ  80.13

         จะแก้ปัญหาการซื้อเสียงอย่างไร ?

         คนในเมืองเชื่อว่ามีการซื้อเสียงถึงร้อยละ  64.43  คนในชนบทเชื่อว่ามีการซื้อเสียงเพียงร้อยละ  51.24  แต่ส่วนใหญ่มีข้อเสนอ

ในการแก้ไขปัญหาการซื้อเสียงเหมือนกันคือ  แก้โดยการให้ความรู้ทางการเมืองกับประชาชนให้มากขึ้น

         ปัญหาเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลใหม่คืออะไร ?

         ปัญหาของแพง  ซึ่งคนปัตตานีทั้งในเมืองและในชนบทเห็นว่า  เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนถึงร้อยละ  49.79  และร้อยละ  48.09

         คนปัตตานีคิดอย่างไรกับ  ส.ส. ?

         ในชนบทบอกว่า  ส.ส. เคยมีผลงานแก้ปัญหาให้ร้อยละ  38.87  เช่น  ถนน  สะพาน  ราคาพืชเกษตร  มาถามทุกข์สุข  บอกว่าไม่

เคยมีผลงาน  ร้อยละ  59.73

         ในเขตเทศบาลบอกว่า  ส.ส. มีผลงานร้อยละ  34.92 เช่น  ถนน  การศึกษา  ราคายาง  ศูนย์บำบัดยาเสพติด  เห็นว่าไม่เคยมีผลงาน

ร้อยละ  61.79

         ด้านการศึกษากับการไปเลือกตั้งเป็นอย่างไร ?

         จากการสำรวจพบว่าคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือในเขตเทศบาลตื่นตัว  จะไปเลือกตั้งถึงร้อยละ  91.78  แต่คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือใน

เขตเมือง  จะไปเลือกตั้งร้อยละ  72.50

         คนที่นับถือศาสนาต่างกันคิดอย่างไรกับการเลือกตั้ง ?

         พบว่าทั้งในเขตชนบทและในเขตเทศบาล  คนไทยมุสลิมตื่นตัวที่จะไปเลือกตั้งถึงร้อยละ  95.16  และ  90.25  แต่คนไทยพุทธ

ในเขตชนบทและในเขตเทศบาลจะไปเลือกตั้งร้อยละ  92.01  และ  87.42

         ทัศนะของนักศึกษาต่อการเลือกตั้ง  ส.ส. จังหวัดปัตตานี  เป็นอย่างไร ?

         จากการสำรวจประชามติ  นักศึกษามีความเห็นว่าประชาชนมีความกระตือรือร้นในการไปเลือกตั้ง  แต่มีความรู้ทางการเมืองน้อย

ในขณะที่มีความตื่นตัว  ให้ความสำคัญต่อการรับฟังข่าวสาร  เหตุการณ์บ้านเมือง  หากได้มีการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนอย่าง

จริงจัง  การพัฒนาประชาธิปไตยก็จะง่ายขึ้น

         การซื้อเสียง  เป็นปัญหาที่ยุ่งยากต่อการแก้ไขและทวีความรุนแรงมากขึ้น  เชื่อได้ว่ามีการซื้อเสียงปรากฏในทุกพื้นที่  ประชาชน

ส่วนใหญ่ไม่มีใครเต็มใจขายเสียง  แต่การที่ประชาชนยินยอมรับเงิน  เลือกพรรค  เลือกบุคคลที่ให้เงินให้สิ่งของ  เพราะเกรงกลัวอิทธิพลและ

หวังพึ่งในอนาคต



                                                                                     ****************





























โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-16 11:54:39 ]