: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 8 ฉบับที่ 09 ประจำเดือน 11 2538
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ผลิตและส่งเสริมการใช้ไส้เดือนฝอยในการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี
รายละเอียด :
              นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  บริการวิชาการแก่สังคมโดยการผลิตและส่งเสริมการใช้ไส้เดือนฝอย

ในการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี  ทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

              รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  แจ้งว่าลองกองเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคใต้

และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นพืชส่งออกได้  เป็นผลไม้ที่มีราคาสูงกว่าไม้ผลชนิดอื่น  สมควรได้รับการแนะนำส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกมาก

ขึ้น  แต่เกษตรกรยังขาดความรู้ทางด้านการจัดการและการดูแลรักษาให้ปราศจากโรค  และศัตรูที่สำคัญที่สุดคือ  หนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง  

ซึ่งจะทำความเสียหายให้กับลองกองที่มีอายุ  3  ปีขึ้นไป  ซึ่งจะกัดกินบริเวณใต้ผิวเปลือกของลำต้นและกิ่ง  ทำให้เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ

และอาหารถูกทำลาย  ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช  ซึ่งวิธีการดังกล่าวถ้าใช้โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจที่

ถูกต้อง  จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสมดุลย์ธรรมชาติในระบบนิเวศน์วิทยาทางการเกษตรและมีโทษต่อผู้ใช้และผู้บริโภค

              นางสาวสายพิณ  จันทรเทพ  อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และหัวหน้า

โครงการการผลิตและการส่งเสริมการใช้ไส้เดือนฝอยในการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี  เปิดเผยว่าโครงการ

ดังกล่าวเป็นโครงการเผยแพร่บริการวิชาการและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี  2536  จนถึงปัจจุบัน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทำการป้องกันกำจัดหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองได้  ตลอดจนได้รู้จักวิธีการควบคุมแมลงศัตรูพืช

ที่ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้  ผู้บริโภค  ศัตรูธรรมชาติ  และสภาพแวดล้อม  โครงการนี้ครอบคลุมถึงการผลิตไส้เดือนฝอย  (Steinernema  

carpocapsae)  การจัดทำแปลงสาธิตการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง  โดยมีพื้นที่เป้าหมายในเขตอำเภอยะรัง  โคกโพธิ์  

และอำเภอแม่ลาน  จังหวัดปัตตานี

              สำหรับการพัฒนาเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอย  สามารถเพิ่มขยายจำนวนไส้เดือนฝอยในห้องปฏิบัติการ  โดยใช้แมลงที่เป็นแมลงอาศัยของ

ไส้เดือนฝอย  อาหารสุนัข  ตับไก่  หรือเนื้อไก่  อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอาหารแล้วซับไส้เดือนฝอยที่ผลิตได้ด้วยฟองน้ำสังเคราะห์  แล้วรวบรวมบรรจุ

ในถุงพลาสติก  ปิดฝาถุงให้มิดชิด  นำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ  15  องศาเซลเซียส  สามารถเก็บได้นาน  1 - 2  เดือน  และสามารถนำไปฉีดพ่นเพื่อ

กำจัดหนอนและศัตรูพืช

              หัวหน้าโครงการการผลิตและการส่งเสริมการใช้ไส้เดือนฝอยในการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกองในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี  

กล่าวเพิ่มเติมว่าวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงคือ  ทำให้หนอนตายถึง  80 %  ภายในระยะเวลา  24 - 48  ชั่วโมง  สามารถใช้

ทดแทนสารเคมีกำจัดแมลง  ช่วยลดอันตรายจากการฉีดพ่นบนต้นลองกองสูง  ๆ  ได้ดี  การใช้ไส้เดือนฝอยดังกล่าวจะมีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต

ทุกชนิด  ประกอบกับการใช้สารเคมี  เกษตรกรมักจะประสบปัญหาหนอนดื้อยามากกว่าการฉีดพ่นไส้เดือนฝอย  ซึ่งจะให้ผลดีในฤดูฝนและยัง

สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ  ทำให้ช่วยลดการสั่งซื้อสารกำจัดแมลงจากต่างประเทศ  และทำให้ช่วยลดดุลการค้าได้อีกทางหนึ่ง



                                                                                          *****************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-09 18:34:25 ]