: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 8 ฉบับที่ 08 ประจำเดือน 10 2538
หัวข้อข่าว : ศรีตรังช่องาม
รายละเอียด :
                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  มีความภาคภูมิใจที่จะนำ  "ศรีตรังช่องาม"  หรือศิษย์เก่าบางท่านที่

ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต  มาแนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จัก  ตลอดจนเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นกับ

นักศึกษาปัจจุบันของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ให้มากยิ่งขึ้นด้วย

         -  ผศ. ประพันธ์  วิเศษรัฐกรรม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  อายุ  48  ปี  ภูมิลำเนาเดิม  จังหวัดสงขลา

         ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ปีการศึกษา  2511 - 2514  ในคณะศึกษาศาสตร์  วิชาเอก

ภาษาไทย

         การศึกษาภายหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ศศ.ม. (การสอนภาษาไทย)  มหาวิทยาลัยเกษตร-

ศาสตร์  (พ.ศ. 2521)

         สถานที่ทำงานปัจจุบัน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านพักอาจารย์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         ความประทับใจหรือความภูมิใจที่ได้รับราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         ภูมิใจที่ได้รับเป็นลูกสมเด็จพระราชบิดา  ดีใจที่ได้มารับราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งเป็นสถานศึกษา

ที่สำเร็จการศึกษาและเต็มใจที่ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนที่  3  ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

         ข้อคิด / คำแนะนำต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ  ในอนาคต

         1.  เป้าหมายแรก  มหาวิทยาลัยต้องมีระบบการประเมินคุณภาพในการดำเนินงานและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

อย่างเป็นระบบ

         2.  ต้องวางแผนในการพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้และประสบ-

การณ์ในการทำงานให้เต็มความสามารถอย่างแท้จริง  อยากจะเห็นการบริหารงานของมหาวิทยาลัยที่มีทั้งหลักการ  วิธีการ  และ

คุณธรรมควบคู่กันไป



         -  นางสาวขวัญใจ  ธรรมพิงค์  เลขานุการ  ห้างหุ้นส่วนจำกัดชุณห์เอ็นจิเนียริ่ง  กรุงเทพฯ  อายุ  30  ปี  ภูมิลำเนา

เดิม  จังหวัดเชียงใหม่

         ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ปีการศึกษา  2526 - 2529  ในคณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์  วิชาเอกภาษาและวรรณคดีไทย

         การศึกษา / ฝึกอบรมภายหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  หลักสูตรภาษาอังกฤษ  สถาบันสอน

ภาษา  เอ.ยู.เอ.,  หลักสูตรเลขานุการ  โรงเรียนเลขานุการ  วาย.ดับบลิว.ซี.เอ.

         สถานที่ทำงานปัจจุบัน

         1.  ห้างหุ้นส่วนจำกัดชุณห์เอ็นจิเนียริ่ง  199/66  ถ.วิภาวดี - รังสิต  สามเสนใน  พญาไท  กรุงเทพฯ  10400

         2.  สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  เอฟ. เอ็ม.  93.5  เมกกะเฮิร์ส  สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย  ช่อง  

11  กรมประชาสัมพันธ์

         ที่อยู่ปัจจุบัน  พงศ์ทาวเวอร์อพาร์ทเมนท์  เลขที่  49  ซอยอินทามระ  29  ถ.สุทธิสาน  กรุงเทพฯ  10400

         ความประทับใจและความภูมิใจต่อการได้มาศึกษา  ณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         1.  สถานที่  บรรยากาศ  และชีวิตที่เรียบง่ายของมหาวิทยาลัยภูธร

         2.  การส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาแสดงออกและเข้าร่วมในกิจกรรม

         3.  ความเป็นกันเองของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่มีต่อนักศึกษา

         ข้อคิด  อยากให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทที่เด่นชัดและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาภาคใต้

ตอนล่างในทุก  ๆ  ด้าน  โดยเฉพาะการศึกษา  อาชีพ  ศิลปวัฒนธรรม  กีฬา  เทคโนโลยี  และความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น



         -  นายสาทิตย์  วงศ์หนองเตย  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง  พรรคประชาธิปัตย์

         ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ปีการศึกษา  2522 - 2525  ในคณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์  วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

         การศึกษา / ฝึกอบรมภายหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิตในสาขา

รัฐประศาสนศาสตร์  เกียรตินิยมดีมาก  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  (นิด้า)  จบการศึกษาปีการศึกษา  2537

         สถานที่ทำงานปัจจุบัน

         1.  สภาผู้แทนราษฎร  กรุงเทพฯ

         2.  (ผู้ได้รับอนุญาต)  โรงเรียนวิวัฒน์วิทยา  อ.ห้วยยอด  จ.ตรัง

         สถานที่ติดต่อ

         1.  โรงเรียนวิวัฒน์วิทยา  49  ถ.เทศบาล  5  อ.ห้วยยอด  จ.ตรัง

         2.  พรรคประชาธิปัตย์  67  ถ.เศรษฐศิริ  สามเสน  พญาไท  กรุงเทพฯ  10400

         ความประทับใจใน  ม.อ. ปัตตานี

         "ผมภูมิใจที่ได้บอกใครต่อใครว่าผมจบจาก  ม.อ. ปัตตานี  ตั้งแต่สมัยที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่  ๆ  แล้ว  เพราะ  

ม.อ. ปัตตานี  เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างผมจากเด็กมัธยมที่อยู่ภายใต้การดูแลของครอบครัวอย่างเข้มงวด  มาสู่การต้องดูแล

ตัวเองในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย

         ม.อ.ปัตตานี  ทำให้ผมเปลี่ยนจากการเป็นวัยรุ่นสู่ภาวะแห่งความเป็นผู้ใหญ่  เพื่อน  ๆ  หลายคนที่เรียนร่วมรุ่น

เราคิดกันอย่างนี้  ในช่วงปี  2522  นั้น  จริง  ๆ  แล้วข่าวคราวของปัตตานีค่อนข้างน่ากลัวในสายตาและการรับรู้ของคนโดย

ทั่วไป  แต่ผมและเพื่อนที่สอบเรียนได้  เราอยากไป  (ทั้งที่ใจก็กังวล)  แต่  ณ  ย่างก้าวแรกที่  ม.อ. ปัตตานี  เรารู้สึกชอบทันที  

ทั้งบรรยากาศสวยงามร่มรื่น  ริมทะเล  และที่สำคัญการต้อนรับจากรุ่นพี่และอาจารย์

         เมื่อเริ่มใช้ชีวิตที่  ม.อ. ปัตตานี  สิ่งแรกที่พวกเราเผชิญในตอนนั้นคือ  "การปรับตัว"  แต่โชคดีที่  ม.อ. ปัตตานี

เป็นมหาวิทยาลัยขนาดไม่ใหญ่มาก  มีนักศึกษาในช่วงนั้นประมาณ  2,000  คน  ดูเหมือนเราทุกคนรู้จักกันหมด  เป็นพี่เป็นน้อง  

อาจารย์ทุกคนสนิทสนมกับนักศึกษา  กิจกรรมต่าง  ๆ  ที่นี่เหมือนกิจกรรมในครอบครัวที่มีผู้ใหญ่มีพี่มีน้องมาร่วมกิจกรรม  

ตรงนี้เองที่ผมภูมิใจ  เรามาเป็นผู้ใหญ่ที่  ม.อ. ตานี  เพราะกิจกรรมต่าง  ๆ  นั้น  แท้จริงแล้วเป็นการสอนเราโดยตรงถึงการใช้

ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม  และผมมาเห็นจริงก็เมื่อออกมาใช้ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้วว่า  ม.อ. ปัตตานี  ให้ผมมากเพียงใด

         ปัจจุบันเมื่อมีโอกาสผมจะกลับไป  ม.อ. ปัตตานี  เสมอไปกราบพระบิดาของเรา  ไปอยู่ใต้เงาสนที่ร่มรื่น  ไปพบ

เพื่อน  (บางคน)  พบอาจารย์  และบรรยากาศที่เราคุ้นเคยจนเสมือนบ้านที่ผมที่อยู่มาถึง  4  ปี  ข่าวคราวทาง  ม.อ. ปัตตานี  

เป็นข่าวที่ผมติดตามเสมอจนกระทั่งปัจจุบัน"

         ข้อคิด / คำแนะนำต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

         เข้าใจว่าทางมหาวิทยาลัยและทางทบวงฯ  เองคงมีแผนพัฒนาอยู่แล้ว  แต่อย่างไรก็ตามขออนุญาตเสนอแนวคิด

ใน  2  ประเด็นหลัก  ๆ  เป็นแนวทางกว้าง  ๆ  เพื่อพิจารณาคือ

         1.  ด้านคุณสมบัติที่คาดหวังของผู้เรียน  ประเด็นนี้มุ่งพิจารณาไปที่การเตรียมผู้เรียนไปใช้ชีวิตการทำงานภาย

นอกมหาวิทยาลัย  ซึ่งควรมีการกำหนดคุณสมบัติที่คาดหวังไว้  โดยการศึกษาถึงสภาพที่ผู้เรียนต้องเผชิญเมื่อต้องเข้าสู่อาชีพ

หลังจบการศึกษาว่า  ต้องพบสภาวะการณ์อย่างไร  ต้องปรับตัว  ตลอดจนพบปัญหาอุปสรรคใด  เพื่อนำผลการศึกษามาสรุปสู่

การกำหนดคุณสมบัติที่คาดหวัง  และนำไปสู่การกำหนดเป็นกิจกรรมเสริมหรือเนื้อหาหลักสูตรต่อไป

         คาดหวังว่าในประเด็นนี้มหาวิทยาลัยน่าจะเป็นหน่วยจัดทำด้วยตนเอง  โดยการขอข้อมูลจากบัณฑิตที่จบการ

ศึกษาไปแล้วและมีการปรับปรุงเนื้อหากิจกรรมเพื่อการนี้ให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาวะการณ์  ซึ่งอาจนำไปสู่การกำหนด

เป็นวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต

         2.  ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน  ประเด็นนี้มุ่งพิจารณาไปที่บทบาทการพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่อชุมชนใน

เขตใกล้เคียงมหาวิทยาลัย  ซึ่งมีความคิดเห็นว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กันในบทบาทของการพัฒนาชุมชน  โดยใช้กลไกของ

มหาวิทยาลัยเช่น  อาจารย์หรือนักศึกษา  โดยเป็นการศึกษาวิจัยในสาขาต่าง  ๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน  แต่ต้องเป็นการนำ

ผลงานวิจัยนั้นเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบ  ตลอดจนการเน้นบทบาทการพัฒนาของ

มหาวิทยาลัยต่อชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย  ซึ่งในอดีตนั้นนักศึกษาและอาจารย์ค่อนข้างมีความห่างเหินกับชุมชน  โดยอาจ

มีกิจกรรมสัมพันธ์เป็นระยะ  ๆ  ผ่านกิจกรรมนักศึกษา  เป็นต้น

         ผมเชื่อว่าหากมีการพิจารณาในประเด็น  2  ประเด็นนี้  และมีความจริงจังในการนำไปสู่การกำหนดแนวปฏิบัติ

แล้ว  จะมีข้อดีอย่างน้อย  2  ประการคือ

         1.  มหาวิทยาลัยจะผลิตบัณฑิตที่นอกเหนือจากมีความรู้ตามสาขาที่ศึกษาแล้ว  จะมีความสามารถในการใช้ชีวิต

การทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  มีสำนึกในการพัฒนาตนเองและสังคม  รู้จักแก้ปัญหาอย่างมีความคิดสร้าง

สรรค์และมีวิสัยทัศน์

         2.  มหาวิทยาลัยจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชนและต่างเกื้อหนุนต่อกันในเชิงการพัฒนา  โดยชุมชนจะได้รับ

ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่เน้นการพัฒนาชุมชน  ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นที่รับทราบโดยสาธารณะ  ในทางกลับกัน

มหาวิทยาลัยจะได้รับความร่วมมือจากชุมชนอย่างใกล้ชิด  ซึ่งจะเป็นแนวโน้มที่ดีในการมุ่งไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของ

ประชาชนที่ต่างศึกษาตอบโต้ซึ่งกันและกัน  โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในอนาคตต่อไป



         -  รองศาสตราจารย์เสาวภา  อังสุภานิช  คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อายุ  41  ปี  

ภูมิลำเนาเดิม  จังหวัดสตูล

         ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ปีการศึกษา  2516 - 2519  ในคณะศึกษาศาสตร์  

วิชาเอกชีววิทยา

         การศึกษา / ฝึกอบรมภายหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         ปีการศึกษา  2521 - 2524  ศึกษาระดับปริญญาโท  สาขาชีววิทยาทางทะเลในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         ปีการศึกษา  2529 - 2532  ศึกษาระดับปริญญาเอก  สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ  ใน  Kochi  

University  ประเทศญี่ปุ่น

         สถานที่ทำงานปัจจุบัน  ภาควิชาวาริชศาสตร์  คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตหาดใหญ่

         ที่อยู่ปัจจุบัน  แฟลตในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่

         ความประทับใจหรือความภูมิใจที่ได้มาศึกษา  ณ  ม.อ. ปัตตานี

         ภูมิใจที่ได้เข้ามาอยู่ในรั้วศรีตรัง  สังคมที่นั่นในสมัยนั้นมีความอบอุ่น  อยู่ด้วยกันเหมือนพี่เหมือนน้อง  ท่าน

อาจารย์ก็น่ารักและทุ่มเทเพื่อส่วนรวม  ข้าพเจ้าเชื่อว่าบรรยากาศเช่นนี้มีความสำคัญต่อนักศึกษาระดับปริญญาตรีมาก  เพราะ

อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากเด็กไปสู่ผู้ใหญ่  เมื่อพื้นฐานจิตใจดี  มีความรับผิดชอบ  การพัฒนาต่อไปก็ไม่ยาก  ความสำเร็จ

ของข้าพเจ้า  แน่นอนส่วนหนึ่งได้จากการซึมซับแบบอย่างจากรั้วศรีตรัง

         ข้อคิด / คำแนะนำต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

         ควรร่วมแรงกันพัฒนาสิ่งที่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้ว  ให้มีประสิทธิภาพและมีชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับ  การลงมือทำ

สิ่งใหม่ที่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์  ต้องระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนงานเดิมที่ต้องดำรงไว้อย่างมีมาตรฐาน



         -  นายอดิศัย  รุ่งวิชานิวัฒน์  หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อายุ  28  ปี  ภูมิลำเนาเดิม  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

         ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ปีการศึกษา  2528 - 2532  ในคณะวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี  วิชาเอกเทคโนโลยียาง

         การศึกษา / ฝึกอบรมภายหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         ปี  2538  สำเร็จการศึกษาระดับ  Ph.D.  (Polymer  of  Technology)  จาก  Loughborough  

University  of  Technology,  Leicestershire,  England

         สถานที่ทำงานปัจจุบัน  ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         ที่อยู่ปัจจุบัน  181/277  แฟลต  7  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

         ความประทับใจหรือความภูมิใจที่ได้มาศึกษา  ณ  ม.อ. ปัตตานี

         ม.อ. ปัตตานี  เป็นแหล่งที่ให้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว  โดยเฉพาะกับสังคมและเศรษฐกิจของภาคใต้  

(ยางพารา  การประมง  การพัฒนาชุมชน  อิสลามศึกษา  เป็นต้น)  ซึ่งเป็นผลกระทบต่อคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง

         ข้อคิด / คำแนะนำต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

         เนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่ไกลจากส่วนกลางมาก  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุน  พัฒนา  ปรับปรุง  

ให้บุคลากรมีความก้าวหน้าด้านอาชีพการงานและให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง  ๆ  ต่อการเรียนการสอน  การค้นคว้าและ

ชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้น  เพื่อดึงดูดให้อาจารย์  นักวิชาการ  มาชุมนุมร่วมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นแหล่งวิชาการขึ้น  จึงจะนำ

มหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นหนึ่งและเป็นสากล



                                                                                   *****************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-07 15:47:46 ]