: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 8 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 05 2538
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ร่วมกับ ศอ. บต. แก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
รายละเอียด :
                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศอ.บต.)

ร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยยึดหลักการการให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเอง  ช่วยเหลือซึ่ง

กันและกัน

         รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  แจ้งว่าปัญหาความยากจนในจังหวัดชายแดน

ภาคใต้เกิดจากเกษตรกรขาดความรู้ประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้านทุน  ทำให้เกษตรกรขาดโอกาสในการพัฒนาอาชีพของ

ตนให้ดีมีประสิทธิภาพ  และการสร้างโอกาสในชีวิตที่ดี  จึงเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลเป็นอย่างมาก  ดังนั้นคณะ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จึงร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด

ชายแดนภาคใต้  (ศอ. บต.)  ผนึกกำลังแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตความเป็น

อยู่  หลักการทางศาสนา  และสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้  โดยยึดหลักการการให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองและ

ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

         จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง  กองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  เมื่อวันที่  6  กรกฎาคม

2538  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดและข้อเสนอทั้งจากหน่วยงานราชการ  องค์กรประชาชน  และจากนักวิชาการ

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  รวม  60  คน  หาข้อยุติเพื่อเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ให้แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง

         นายปิยะ  กิจถาวร  อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  เปิดเผยว่าการประชุมสัมมนาดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องมาจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  เพื่อจัดทำโครงการแก้ไข

ปัญหาความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศอ.บต.)  ได้ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  29  ตุลาคม  2537  ที่ผ่านมา  ซึ่งในครั้งนั้นได้มีข้อเสนอโครง

การที่สำคัญ  3  ประการคือ  การแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวประมงพื้นบ้าน  ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาความยากจน

รุนแรงมากที่สุด  โดยขอให้มีการยกเลิกการทำประมงอวนรุน  อวนลาก  โดยการแก้กฎหมายประมง  การจัดตั้งกองทุน

เปลี่ยนเครื่องมือประมงของผู้ประกอบการอวนรุน  อวนลาก  ประการที่สอง  การแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยง

โค  โดยการขอลดดอกเบี้ย  ยึดระยะเวลาปลอดหนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)  และกรมปศุสัตว์  

และประการสุดท้ายให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน  โดยขอให้รัฐบาลจัดสรรเงินกองทุนสนับสนุน

ในรูปของการให้ยืม  ตามหลักเกณฑ์และกติกาที่กำหนดให้กับกลุ่มออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาของตนเอง  

เพื่อพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เหล่านี้ให้มีความเข้มแข็ง  เป็นพื้นฐานการสร้างเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์แก้ปัญหาความยากจน

         ซึ่งในส่วนของประการสุดท้ายนั้น  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  และ  ศอ.บต.  ได้เห็นพ้องต้องกันว่า

เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน  ทำให้ชุมชนและประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้และ

รองรับงานโครงการพัฒนาต่าง  ๆ  ที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่น  โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย  

อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  และไทย  (IMT - GT)  จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  กองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาความ

ยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น  เพื่อหาข้อยุติเสนอต่อรัฐบาลใหม่ต่อไป



                                                                              *****************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-07 15:18:20 ]