: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 05 ประจำเดือน 06 2537
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี รายงานผลการวิจัยปัญหาน้ำเสียและขยะบริเวณอ่าวปัตตานี เร่งผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันแก้ไข
รายละเอียด :
                   นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  สำรวจปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่รอบอ่าว

ปัตตานี  ชี้สาเหตุมาจากการขยายตัวของชุมชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ส่งผลสู่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอ่าวปัตตานี  

เร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไข  เพื่อรองรับการขยายตัวและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของอ่าวให้ยั่งยืน

         อ่าวปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปัตตานี  มีพื้นที่  74  ตารางกิโลเมตร  แนวโน้มการขยายตัวของกิจกรรม

ทางเศรษฐกิจในพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีค่อนข้างสูง  เป็นผลให้อ่าวปัตตานีกลายเป็นแหล่งสะสมของเสียและสิ่งปฏิกูลจากโรง

งานอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นบริเวณปากแม่น้ำปัตตานี  น้ำเสียจากชุมชนถูกปล่อยลงสู่อ่าวปัตตานีโดยยังไม่มีการจัดระบบและ

ควบคุมน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ  การทิ้งขยะแบบเทกองบนพื้นดินในเขตอุตสาหกรรมโดยไม่มีกรรมวิธีจัดการอย่างถูกต้อง  

ทำให้น้ำฝนและน้ำทะเลชะล้างของเสียลงสู่อ่าวมาอย่างต่อเนื่อง  ขยะบางประเภทมีส่วนประกอบของโลหะหนักและสารเคมี  

สามารถสะสมในห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ  อันจะเป็นการทำลายแหล่งทรัพยากรโดยเฉพาะสัตว์น้ำในอ่าวและเป็นอันตราย

ต่อผู้บริโภคในที่สุด

         เมื่อปี  พ.ศ. 2530  นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์  ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมรอบอ่าวปัตตานี  ถึง

ปริมาณโลหะหนักในสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และประเทศมาเลเซีย  พบว่าบริเวณอ่าวปัตตานี

ในโลหะหนักประเภทสังกะสี  ทองแดง  แคดเมียม  และตะกั่ว  ในปริมาณสูงกว่าอ่าวอื่น  ๆ  ในย่านเดียวกัน  จึงไม่ควรเพิ่มสาร

โลหะหนักและของเสียต่าง  ๆ  ลงสู่อ่าวปัตตานีอีกต่อไป

         ผศ. ดร. ครองชัย  หัตถา  อาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  และผู้วิจัยเรื่องการสำรวจปัญหามลพิษรอบอ่าวปัตตานี  เปิดเผยว่าการวิจัยเรื่อง  การสำรวจปัญหา

มลพิษสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี  เน้นศึกษา  3  บริเวณได้แก่  1)  เขตโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ

บริเวณปากแม่น้ำปัตตานี  2)  ย่านชุมชนรอบอ่าว  และ  3)  พื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าว

         ข้อสรุปจากการวิจัย  3  บริเวณเป้าหมายพบว่า  บริเวณเขตอุตสาหกรรมและผ่านสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็น

โรงงานประเภทแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลเช่น  โรงงานปลาป่น  โรงงานอาหารทะเลกระป๋อง  โรงงานทำลูกชิ้นปลา  โรงงาน

ชำแหละปลาหมึกและกุ้งทะเลแช่แข็ง  เป็นต้น  นอกจากนั้นเป็นโรงงานที่เกี่ยวข้องเช่น  โรงงานทำน้ำแข็ง  อู่ต่อและซ่อมเรือ  และ

อื่น  ๆ  รวมประมาณ  40  โรงงาน

         ด้วยเหตุที่โรงงานส่วนใหญ่เป็นเขตอุตสาหกรรมเป็นโรงงานประเภทแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเล  ทำให้น้ำทิ้งมีค่า

ความเข้มข้นของสารอินทรีย์สูง  และมีน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตและการล้างวัตถุดิบและชำระล้างโรงงานเป็นปริมาณมากและ

ต่อเนื่อง  ผลการศึกษาโรงงานจำนวน  18  โรง  พบว่ามีปริมาณน้ำทิ้งรวม  2,525  ลูกบาศก์เมตรต่อวัน  มีปริมาณของเสียก่อน

การบำบัดคิดเป็นค่า  BOD  ประมาณ  1,800  กิโลกรัมต่อวัน  และมีค่าตะกอนแขวนลอยในน้ำทิ้งประมาณ  1,300  กิโลกรัม

ต่อวัน  หากนับรวมโรงงานนอกเขตอุตสาหกรรม  สถานประกอบการ  แพปลาและชุมชนบริเวณใกล้เคียงกันด้วยแล้วประมาณว่า  

มีน้ำทิ้งลงสู่อ่าวปัตตานีไม่ต่ำกว่าวันละ  10,000  ลูกบาศก์เมตร

         แม้ว่าโรงงานบางส่วนได้ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียแล้ว  แต่การดำเนินการยังมีปัญหาด้านเทคนิคและระบบการ

ควบคุมดูแล  โรงงานบางประเภทมีของเสียที่กำจัดยากเช่น  โรงงานชำแหละปลาหมึก  น้ำทิ้งมีสีดำและมีปริมาณตะกอนแขวน

ลอยมาก  ต้องใช้เทคนิคและเงินลงทุนสูงในการดำเนินการ  นอกจากนั้นแล้วในเขตอุตสาหกรรมยังไม่มีระบบคูระบายน้ำ  ทำให้

โรงงานต้องปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ทะเลและแม่น้ำปัตตานีโดยตรง  บางโรงงานปล่อยน้ำทิ้งออกนอกโรงงานให้ไหลไปเองตามธรรม-

ชาติ  จึงพบเห็นน้ำเสียแช่ขังอยู่ในเขตอุตสาหกรรมโดยทั่วไป  เขตอุตสาหกรรมมีแผนจะจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียรวม  ขณะนี้

อยู่ระหว่างออกแบบดำเนินการ  คาดว่าหลังจากใช้ระบบบำบัดน้ำเสียรวมแล้ว  ปัญหาต่าง  ๆ  จะผ่อนคลายลงมาก

         สำหรับบริเวณเขตเทศบาลและย่านชุมชนรอบอ่าวนั้น  มีเพียง  2 ชุมชนที่มีการจัดเก็บขยะและจัดการอย่างเป็น

ระบบได้แก่  เทศบาลเมืองปัตตานีและสุขาภิบาลยะหริ่ง  นอกจากนั้นชุมชนทั่วไปไม่มีระบบการกำจัดขยะที่ดีพอ  ชาวบ้านส่วน

ใหญ่ทิ้งยยะในที่ว่างของชุมชน  จึงพบเห็นกองขยะและเศษขยะกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณชุมชนรอบอ่าวปัตตานี   สำหรับการ

สำรวจบริเวณชายฝั่งทะเลรอบอ่าวปัตตานีได้แก่  บริเวณปากแม่น้ำปัตตานี  หมู่บ้านแหลมนก  บ้านบางปู  บ้านดาโต๊ะ  บ้านตะโละ

สะมิแล  และบริเวณปลายแหลมโพธิ์  ส่วนใหญ่เป็นขยะจำพวกถุงพลาสติก  เศษไม้  โฟม  ขวดเครื่องดื่มและของใช้ต่าง  ๆ  ใน

ครัวเรือนที่ถูกทิ้งจากบ้านเรือนและเรือประมง

         ผศ. ดร. ครองชัย  หัตถา  อธิบายถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าวว่า  ประชาชนและผู้ประกอบการที่อาศัยรอบอ่าว

บางส่วนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะและน้ำทิ้งเท่าที่ควร  ประกอบกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง  

ไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำหนดสถานที่และวิธีการกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพ  ตลอด

จนการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียรวมและการจัดการขยะกำลังจะดำเนินการทั้ง  ๆ  ที่ได้ประกาศเป็นเขตอุตสาหกรรมมาร่วม  

10  ปี

         ผู้วิจัยเสนอแนะว่า  รัฐบาลควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว  โดยถือเป็นนโยบายสำคัญควบคู่ไปกับการส่งเสริม

การลงทุนในภูมิภาค  องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ  สถาบันการศึกษา  องค์กรเอกชน  ชาวบ้านและผู้ประกอบการ  ควรตระหนัก

ถึงการควบคุมป้องกันปัญหาและร่วมมือกันทำงานให้มากขึ้น  ไม่ควรปล่อยให้เกิดปัญหาขึ้นก่อนแล้วค่อยแก้ไขภายหลัง  นอกจาก

นั้นยังควรวางแผนระยะยาวเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต  ซึ่งคาดว่าจะมีการลงทุนด้านต่าง  ๆ  เพิ่มขึ้นอีกมากมาย  จึงควรมี

การศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบไว้ล่วงหน้า  เช่น  การขยายตัวของอุตสาหกรรม  การจัดหาแหล่งทิ้งขยะ  และ

การเลือกระบบบำบัดของเสียประเภทต่าง  ๆ  ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจกับประชาชน  ผู้ประกอบการ  และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  

ให้เกิดความตระหนักและรับผิดชอบในหน้าที่  เพื่อให้เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย  โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมบริเวณอ่าวปัตตานี  ซึ่งเป็น

สมบัติของส่วนรวมที่จำเป็นต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากอ่าวให้ยั่งยืนยาวนานต่อไป



                                                                                    ******************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-04 14:10:52 ]