: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 7 ฉบับที่ 03 ประจำเดือน 03 2537
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี วิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านงานวิจัย
รายละเอียด :
                    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ร่วมกับสถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์ทางทะเล  ประเทศเนเธอร์แลนด์  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  ปลาตีนของอ่าวปัตตานี  เมื่อวันที่  21  

มีนาคม - 2  เมษายน  2537  โดยเน้นผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้แก่นักวิชาการมหาวิทยาลัย

         ดร. ปรียา  วิริยานนท์  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยา

เขตปัตตานี  เปิดเผยว่าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีนโยบายหลักในการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้และนักวิชาการ

ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ให้เกิดความก้าวหน้าและพึ่งพาตนเองได้โดยเน้นการศึกษาวิจัยและบริการวิชา

การให้กับท้องถิ่น  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับบุคลากรของคณะฯ  ในด้านความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งทางวิชาการ  และเพื่อ

เป็นการรองรับนโยบายดังกล่าว  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จึงกำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  ปลา

ตีนของอ่าวปัตตานี  เมื่อวันที่  21  มีนาคม - 2  เมษายน  2537  โดยเน้นเรื่องการทำวิจัยจากนักวิชาการหลายสาขาวิชา  

จำนวน  20  คน  ซึ่งใช้พื้นที่แหล่งอาศัยของปลาตีนบริเวณพื้นที่อ่าวปัตตานีเป็นพื้นที่เป้าหมาย

         "การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี  ให้เกิดความเชื่อมั่นและมีความเข้มแข็งทางวิชาการด้านงานวิจัย  ซึ่งนำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในสิ่ง

พิมพ์ต่าง  ๆ  และเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  

กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล  ประเทศเนเธอร์แลนด์  โดยจัดส่งนักวิจัยเป็นผู้ร่วมวิจัย  ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี  กำหนดเรื่องวิจัยครั้งนี้ว่า  "ปลาตีนของอ่าวปัตตานี"  เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผู้ร่วมวิจัยจากสาขาวิชา

ต่าง  ๆ  ไม่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปลาตีน  โดยที่นักวิชาการจะศึกษา  "ปลาตีน"  ตามสาขาวิชาของตัวเอง  ประกอบ

กับสันนิษฐานในขั้นต้นว่า  ปลาตีนน่าจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอ่าวปัตตานี  ลักษณะของกระบวนการวิจัย  เริ่ม

จากการสำรวจพื้นที่แหล่งอาศัย  การแพร่กระจาย  และชนิดของปลาตีน  นำไปสู่การทดลองและสรุปผลการวิจัยดังกล่าว"

อาจารย์นุกูล  รัตนดากุล  อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  หนึ่งในผู้ร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการรายงาน



                                                                                  *****************



         

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-05-01 14:36:24 ]